Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1261
Title: THE SUPPLEMENTARY FEED PRODUCTION FROM  SAND WORM (Perinereis quatrefagesi) DEBRIS  ON THE REPRODUCTIVE DEVELOPMENT OF  THE BUTTER CATFISH (Ompok bimaculatus)  BROODSTOCKS
การเสริมอาหารจากซากพ่อแม่เพรียงทราย (Perinereis quatrefagesi) ต่อการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของแม่พันธุ์ปลาชะโอน (Ompok bimaculatus)
Authors: Panapat Rodkong
ภาณพัช รอดคง
Jomsuda Duangwongsa
จอมสุดา ดวงวงษา
Maejo University. Fisheries Technology and Aquatic Resources
Keywords: เพรียงทราย
การพัฒนาระบบสืบพันธุ์
แม่พันธุ์ปลาชะโอน
sand worm Debris
reproductive development
Ompok bimaculatus
Issue Date: 2022
Publisher: Maejo University
Abstract: The supplementary feed production from sand worm (Prrinereis quatrefagesi) debris on the reproductive development of the butter catfish (Ompok bimaculatus) broodstocks was examined. The completely Randomized Design (CRD) was applied, consisting of 3 treatments with 3 replications each. The treatment T1 (control) used small pellets, more than 30 percent protein. Treatment T2, more than 30 percent protein feed mixed with freeze-dried barnacle carcass, ratio 20 g/kg. and the treatment T3, more than 30 percent protein feed mixed the crude extract from the carcass of sand barnacles with Diethyl Ether, and then spraying with feed at a ratio of 3 ml/kg. The treatment was conducted in female Butter catfish, aged 3 months, mean initial weight was 16.86±0.55 g. stocking density was 60 fish/tank. The experiment was conducted in a plastic pond with a size of 1,000 liters, containing 800 liters of water, and catfish were raised in a circulating water system. This study had run for 30 days, catfish were fed to apparent satiation; the amount of feed eaten by the fish was recorded. The 17 beta-estradiol in serum, the reproductive biology, the histology of the genital organs, the growth efficiency, Cost analysis of feed supplement production from sand barnacle carcasses were studied and the development of supplementary feed products from the carcasses of the sand barnacles was set up. The results showed that the 17 beta-estradiol hormone in the treatment T2 broodfish was highest. followed by the treatment T3 and T1, respectively, with mean values of 1.63±0.16, 1.22±0.16 and 0.45±0.08 ng/ml. respectively, which were statistically significant differences (P<0.01). Referring to the reproductive Biology, gonadosomatic index, fecundity, and egg size of broodfish in the treatments T3 and T2 were significantly different from the treatment T1 (P<0.05), with gonadosomatic index of 7.65±2.63, 5.17±2.59 and 0.01±0.00 percent, respectively; the mean fecundity was 5778.00±710.51, 4385.66±1872.84 and 0.00±0.00 eggs, respectively, and the egg sizes were 0.71±0.19, 0.45±0.20 and 0.00±0.00 mm, respectively. According to the histology of the genital organs egg development stage, It was found that most oocyte in the treatment T2 and T3 were in the Late Vitellogenic Stage, that is, yolk granules were deposited in the cytoplasm throughout the cytoplasm. Cortical alveoli were slightly diffuse at the margin of the oocyte, the Vitelline Envelope was thick and distinct, and the germinal vesicle was also present. Some oocytes were in the maturation stage, where the yolk granules were distributed throughout the cytoplasm, and no germinal vesicles were present, whereas in the treatment T1 (control) no ovum was formed and developed. Referring to the results of this treatment, the application of sand barnacles both freeze-dry process and crude extracts from the carcass of sand barnacles with Diethyl Ether in food influenced hormone levels 17 beta-estradiol and the development of reproductive organs in female Butter catfish. The growth efficiency study revealed that survival rates for all three trials were significantly different (p<0.05), the highest was observed in T2, followed by T3 and T1, respectively, with mean values of 100.00±0.000, 96.993±0.333 and 95.333±0.333 percent, respectively. The feed conversion ratio (FCR) of butter catfish in the treatment T2 and T3 were significantly different from the treatment T1 (p<0.05), but the treatment T2 and T3 were not statistically different (p>0.05) with mean values were 0.261±0.000 , 0.257±0.003 and 0.650±0.033 respectively. The final weights were statistically different (p<0.05); the treatment T2 was highest followed by the treatment T3 and T1 with mean values were 48.833±0.0333, 45.643±0.333 and 42.633±0.333 g, respectively. The final lengths were significantly different (p<0. 05), the highest one was found in T2, followed by T3 and T1 with mean values of 17.146±0.666, 16.623±0.333 and 13.830±1.000 cm, respectively. The cost of supplementary feeds of freeze dried and crude extract from the carcass of the sand barnacles with Diethyl Ether was 3,300 and 1,300 baht / 1 kg. of the carcass of the sand barnacles. and the cost/feed of 1 kg. is equal to 660 and 130 baht, respectively. The product development between Freeze-dry sand barnacles carcass was compared and it was found that the freeze-dried sand barnacle carcasses showed the best results in terms of the cost-effectiveness and shelf life. The freeze-dried sand barnacle carcasses can be stored for up to 1-2 years which was better than the carcass of sand barn extraction. Thus, freeze-dried sand barnacle carcasses were put in 500 mg. capsule for easy storage and ready-to-use.
การศึกษาผลของการเสริมอาหารจากซากพ่อแม่เพรียงทราย (Perinereis quatrefagesi) ต่อการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของแม่พันธุ์ปลาชะโอน (Ompok bimaculatus) วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design, CRD) ประกอบด้วยการทดลอง 3 ชุดการทดลอง แต่ละชุดการทดลอง มี 3 ซ้ำ โดย ชุดการทดลองที่ T1 (ชุดควบคุม) ใช้อาหารสำเร็จรูปเม็ดเล็ก โปรตีนมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ชุดการทดลองที่ T2 ใช้อาหารสำเร็จรูปเม็ดเล็ก โปรตีนมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ผสมซากพ่อแม่เพรียงทรายแบบฟรีซดราย อัตราส่วน 20 กรัม/กิโลกรัม และชุดการทดลองที่ T3 ใช้อาหารสำเร็จรูปเม็ดเล็ก โปรตีนมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ผสมสารสกัดหยาบจากซากพ่อแม่เพรียงทรายด้วย Diethyl Ether นำมาสเปรย์กับอาหารในอัตราส่วน 3 มิลลิลิตร/กิโลกรัม ทดลองในแม่พันธุ์ปลาชะโอน อายุ 3 เดือน น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 16.86±0.55 กรัม อัตราการปล่อย ความหนาแน่น 60 ตัว/บ่อ ทดลองในบ่อพลาสติก ขนาด 1,000 ลิตร บรรจุน้ำ 800 ลิตร เลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียน ให้อาหารทดลอง เป็นเวลา 30 วัน ด้วยวิธีการให้อาหารปลาจนอิ่ม และบันทึกปริมาณอาหารที่ปลากิน โดยทำการเก็บข้อมูล ระดับปริมาณฮอร์โมน 17 เบต้า-เอสตราไดออลในซีรั่ม การศึกษาชีววิทยาการสืบพันธุ์ การศึกษาจุลกายวิภาคของอวัยวะสืบพันธุ์การศึกษาประสิทธิภาพการเจริญเติบโต การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตอาหารเสริมจากซากพ่อแม่เพรียงทราย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากซากพ่อแม่เพรียงทราย ผลการทดลองพบว่าระดับฮอร์โมน 17 เบต้า-เอส ตราไดออล ในแม่พันธุ์ปลาชะโอนชุดการทดลองที่ T2 มีปริมาณสูงที่สุด รองลงมาเป็นชุดการทดลองที่ T3 และ T1 ตามลำดับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.63±0.16 , 1.22±0.16 และ 0.45±0.08 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ตามลําดับ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) ส่วนการศึกษาชีววิทยาการสืบพันธุ์ ค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ ความดกไข่ และขนาดเม็ดไข่ของแม่พันธุ์ปลาชะโอน ชุดการทดลองที่ T3 และ T2 แตกต่างกับชุดการทดลองที่ T1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยดัชนีความสมบูรณ์เพศ เท่ากับ 7.65±2.63, 5.17±2.59 และ 0.01±0.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยความดกไข่ เท่ากับ 5778.00±710.51, 4385.66±1872.84 และ 0.00±0.00 ฟอง ตามลำดับ และขนาดเม็ดไข่ มีค่าเฉลี่ย 0.71±0.19 , 0.45±0.20 และ 0.00±0.00 มิลลิเมตรตามลำดับ สำหรับการศึกษาจุลกายวิภาคของอวัยวะสืบพันธุ์ ระยะพัฒนาของไข่ พบว่าแม่พันธุ์ปลาชะโอนในชุดการทดลองที่ T2 และ T3  มีระยะพัฒนาของ Oocyte ส่วนใหญ่เจริญอยู่ในระยะ Late Vitellogenic Stage กล่าวคือ Oocyte มีการสะสมของไข่แดง กระจายเต็มพื้นที่ไซโทพลาสซึม พบ Cortical Alveoli กระจายเล็กน้อยบริเวณขอบของ Oocyte ชั้น Vitelline Envelope มีลักษณะหนาชัดเจน และยังปรากฏ Germinal Vesicle นอกจากนี้ Oocyte บางส่วนพัฒนาอยู่ในระยะ Maturation Stage ซึ่งมีการกระจายของไข่แดงเต็มพื้นที่ไซโทพลาสซึม และไม่ปรากฏ Germinal Vesicle ส่วนชุดการทดลองที่ T1 (ชุดควบคุม) ไม่มีการสร้างและพัฒนาของไข่ จากผลการทดลองครั้งนี้เห็นได้ว่า การเสริมซากพ่อแม่เพรียงทรายทั้งรูปแบบฟรีซดราย และสารสกัดหยาบจากซากพ่อแม่เพรียงทรายด้วย Diethyl Ether ในอาหารมีผลต่อระดับฮอร์โมน 17 เบต้า-เอสตราไดออล และการพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์ในแม่พันธุ์ปลาชะโอน การศึกษาประสิทธิภาพการเจริญเติบโต พบว่า อัตรารอดตาย ทั้ง 3 ชุดการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ชุดการทดลองที่ T2 มีค่าสูงสุด รองลงมาเป็นชุดการทดลองที่ T3 และ T1 ตามลำดับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 100.00±0.000 , 96.993±0.333 และ 95.333±0.333 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ อัตราการแลกเนื้อ (FCR) พบว่า ชุดการทดลองที่ T2 และ T3 แตกต่างกับชุดการทดลองที่ T1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ชุดการทดลองที่ T2 และ T3 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.261±0.000 , 0.257±0.003 และ 0.650±0.033 ตามลำดับ น้ำหนักสุดท้าย พบว่า ทั้ง 3 ชุดการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ชุดการทดลองที่ T2 มีค่าสูงที่สุด รองลงมาเป็นชุดการทดลองที่ T3 และ T1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 48.833±0.0333 , 45.643±0.333 และ 42.633±0.333 กรัม ตามลำดับ ความยาวสุดท้าย พบว่า ทั้ง 3 ชุดการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ชุดการทดลองที่ T2 มีค่าสูงที่สุด รองลงมาเป็นชุดการทดลองที่ T3 และ T1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.146±0.666 , 16.623±0.333 และ 13.830±1.000 เซนติเมตร ตามลำดับ ต้นทุนของการผลิตอาหารเสริมจากซากพ่อแม่เพรียงทรายรูปแบบฟรีซดราย และรูปแบบสารสกัดหยาบจากซากพ่อแม่เพรียงทรายด้วย Diethyl Ether เท่ากับ 3,300 และ 1,300 บาท/ซากพ่อแม่เพรียงทราย 1 กิโลกรัม และต้นทุน/อาหาร 1 กิโลกรัม เท่ากับ 660 และ 130 บาท ตามลำดับ ส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เมื่อทำการทดสอบเปรียบเทียบระหว่างซากพ่อแม่เพรียงทรายรูปแบบฟรีซดราย และรูปแบบสารสกัดหยาบจากซากพ่อแม่เพรียงทรายด้วย Diethyl Ether พบว่า พบว่าส่วนใหญ่ซากพ่อแม่เพรียงทรายแบบฟรีซดรายให้ผลดีที่สุด และคำนึงจาก ความคุ้มทุน อายุการเก็บรักษา ที่สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 1-2 ปี ซึ่งดีกว่าซากพ่อแม่เพรียงทรายแบบสารสกัดหยาบจากซากพ่อแม่เพรียงทรายด้วย Diethyl Ether จึงนำซากพ่อแม่เพรียงทรายแบบฟรีซดราย มาทำเป็นรูปแบบแคปซูล ขนาด 500 มิลลิกรัม เพื่อง่ายต่อการเก็บรักษาและใช้งาน
Description: Master of Science (Master of Science (Fisheries Technology and Aquatic Resources))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1261
Appears in Collections:Fisheries Technology and Aquatic Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310301002.pdf5.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.