Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1256
Title: | EFFECT OF GASEOUS OZONE ON QUALITY AND SHELF-LIFE EXTENSION
OF BANANA IN PACKAGING ผลของแก๊สโอโซนที่มีต่อคุณภาพ และการยืดอายุการเก็บรักษา กล้วยหอมทองในบรรจุภัณฑ์ |
Authors: | Sitvilay Soutthixaiyalath Sitvilay Soutthixaiyalath Somkiat Jaturonglumlert สมเกียรติ จตุรงค์ล้ำเลิศ Maejo University. Engineering and Agro - Industry |
Keywords: | กล้วยหอมทอง การยืดอายุการเก็บรักษา แก๊สโอโซน แก๊สเอทิลีน Hom thong banana Shelf-life Gaseous Ozone Ethylene |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | The objective of the research was to study the shelf-life of Hom thong banana with gaseous ozone on different concentrations to ethylene biosynthesis inhibition. The study was divided into 4 parts, namely, the study of ethylene production and respiration rate behavior of Hom thong banana, the study of gaseous ozone concentration on closed container, the study of reaction ratio between gaseous ozone to ethylene and the study of the appropriate gaseous ozone concentration for extending the shelf-life of Hom thong banana. The parameter was divided into 5 treatments as follows: control, ozone to ethylene ratio 2:1, 4:1, 6:1 and 12:1. The results showed that the Hom thong banana produce the highest ethylene production on the days 6 of the experiment is 5.58 μl/kg-hr. In addition, respiration rate using the carbon dioxide production of the Hom thong Banana was found on days 4 with 20.38 mg/kg-hr. The study of gaseous ozone concentration the deterioration time inside the closed container can be applied to control the fumigation process. The results showed that optimum gaseous ozone concentration for extending the shelf-life of Hom thong banana with the ratio of gaseous ozone to ethylene of 6:1 was the optimum ratio which can extend the Hom thong banana shelf-life for a longer time of 4 days. While maintaining the quality according to the specified standards. Compared to the quality of the Hom thong banana from the local market. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมทองสดด้วยแก๊สโอโซนซึ่งมีความเข้มข้นของโอโซนแตกต่างกันเพื่อยับยั้งการสังเคราะห์เอทีลีน โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ส่วน คือ การศึกษาพฤติกรรมการผลิตแก๊สเอทิลีนและอัตราการหายใจของกล้วยหอมทอง การศึกษาความเข้มข้นของแก๊สโอโซนในภาชนะปิด การศึกษาอัตราในการทำปฏิกิริยาระหว่างแก๊สโอโซนต่อแก๊สเอทิลีน และการศึกษาความเข้มข้นแก๊สโอโซนที่เหมาะสมในการยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมทอง โดยแบ่งตัวแปรที่ศึกษาออกเป็น 5 กรณี คือตัวอย่างควบคุม อัตราส่วนแก๊สโอโซนต่อแก๊สเอทิลีน 2:1, 4:1, 6:1 และ 12:1 ผลการศึกษาพบว่ากล้วยหอมทองมีการผลิตแก๊สเอทิลีนสูงสุดในวันที่ 6 ของการทดลองโดยมีค่าเท่ากับ 5.58 μl/kg-hr นอกจากนั้นยังมีอัตราการหายใจโดยมีค่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่กล้วยหอมทองปล่อยออกมาสูงสุดในวันที่ 4 ของการทดลองโดยมีค่าเท่ากับ 20.38 mg/kg-hr ผลการศึกษาความเข้มข้นของแก๊สโอโซนด้วยเครื่องโอโซน และเวลาที่เสื่อมสลายภายในภาชนะปิดสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อทำการควบคุมกระบวนรมแก๊สโอโซน จากผลการศึกษาความเข้มข้นแก๊สโอโซนที่เหมาะสมในการยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมทอง พบว่าอัตราส่วนของความเข้มข้นของแก๊สโอโซนต่อแก๊สเอทิลีน 6:1 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมและสามารถเก็บรักษากล้วยหอมทองได้ยาวนานขึ้น 4 วัน เมื่อเทียบกับคุณภาพของกล้วยหอมทองตัวอย่างตามห้างสรรพสินค้าและตลาด |
Description: | Master of Engineering (Master of Engineering (Food Engineering)) วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมอาหาร)) |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1256 |
Appears in Collections: | Engineering and Agro - Industry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6303307002.pdf | 6.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.