Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1204
Title: | ผลของระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C:N) ต่อกลิ่นโคลนของปลานิล ในบ่อไบโอฟลอค |
Other Titles: | Effect of carbon/nitrogen ratio (c:n) on geosmin in nile tilapia (oreochromis niloticus) under biofloc system |
Authors: | สายสุนีย์ จิตมโนวรรณ์ |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | ในปัจจุบันมีการเลี้ยงปลาแบบหนาแน่นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก คือการผลิตปลานิลด้วยระบบไบโอฟลอค ซึ่งเป็นการเลี้ยงที่ระดับความหนาแน่นสูง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดการเลี้ยงปลานิลที่เลี้ยงในระบบไบโอฟลอคที่มีกลิ่นโคลนต่ำ โดยมีการควบคุมคุณภาพน้ำ ระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 90 วัน แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ตรวจสอบกลิ่นโคลน และตรวจสอบคุณภาพน้ำ ในฟาร์ม 1 ณ บ้านแม่กุ้งหลวง ต.ทุ่งต้อม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ และฟาร์ม 2 ณ บ้านห้วยส้ม ต.สันกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ และการทดลองที่ 2 ดำเนินการศึกษาที่คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีการเลี้ยงปลานิลที่ระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) 14:1 (T1) และการเลี้ยงปลานิลที่ระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) 10:1 (T2) จากการศึกษา พบว่าการทดลองที่ 1 ฟาร์ม 1 ณ บ้านแม่กุ้งหลวง ต.ทุ่งต้อม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ พบว่า มีปริมาณฟลอคที่ตกตะกอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58±4.13 ml/l และยังพบกลิ่นโคลนในบ่อเลี้ยงปลานิล โดยมีค่าจีออสมิน เฉลี่ยเท่ากับ 0.10±0.18 µg/l และค่าเอ็มไอบี เฉลี่ยเท่ากับ 0.12±0.21 µg/l ส่วนค่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่สัตว์น้ำสามารถอาศัยอยู่ได้ ในส่วนของฟาร์ม 2 ณ บ้านห้วยส้ม ต.สันกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ พบว่า มีปริมาณฟลอคน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.20±0.62 ml/l และยังพบกลิ่นโคลนในบ่อเลี้ยงปลานิล โดยมีค่าจีออสมิน เฉลี่ยเท่ากับ 0.31±0.11 µg/l และค่าเอ็มไอบี เฉลี่ยเท่ากับ 0.18±0.19 µg/l ส่วนค่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่สัตว์น้ำสามารถอาศัยอยู่ได้ ส่วนผลการศึกษาของการทดลองที่ 2 การเลี้ยงปลานิลในระบบไบโอฟลอคที่ระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) 14:1 (T1) และการเลี้ยงปลานิลในระบบไบโอฟลอคที่ระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) 10:1 (T2) ทดลองในบ่อขนาด 2 ตัน ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 90 วัน พบว่า ค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ 14:1 และค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ 10:1 และปริมาณฟลอคที่ตกตะกอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 52.64±1.84 และ 34.73±13.9 ml/l ในบ่อที่มีคาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับ 14:1 และ 10:1 ตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมตามเกณฑ์ และพบกลิ่นโคลนในบ่อเลี้ยงปลานิล มีค่าสูงถึง 0.10 µg/l ส่วนค่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่สัตว์น้ำสามารถอาศัยอยู่ได้ ผลการเจริญเติบโต มีน้ำหนักเฉลี่ย ความยาวเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น และอัตราการแลกเนื้อเพิ่มขึ้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งมีผลต่ออัตรารอดของปลานิลของบ่อที่มีระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) 14:1 และ 10:1 แตกต่างกัน แต่เมื่อเทียบกับต้นทุนค่าอาหาร พบว่า ที่คาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับ 14:1 มีต้นทุนค่าอาหารต่ำกว่าคาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับ 10:1 |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1204 |
Appears in Collections: | Engineering and Agro - Industry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saisunee_Jitmanowan.pdf | 3.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.