Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1087
Title: พลาสมาความดันต่ำเพื่อปรับปรุงคุณภาพของแป้งข้าว
Other Titles: A low pressure plasma treatment for quality improvement of rice flour
Authors: คัณฑมาศ หล้ามาทราย
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: ปัจจุบันมีการศึกษาผลิตภัณฑ์จากข้าวเพื่อนำมาเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เช่น ทางด้านเวชภัณฑ์ และด้านเครื่องสำอาง งานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาการนำเอาผลิตภัณฑ์จากแป้งมาทำการศึกษาเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของแป้งข้าวเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์สำหรับแป้งทาหน้าโดยใช้เทคนิคพลาสมา 2 ชนิดคือ พลาสมาความดันต่ำและพลาสมาไดอิเล็กทริกแบริเออร์ดิสชาร์จ ซึ่งในการศึกษานี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าที่แตกต่างกันโดยพลาสมาความดันต่ำจะใช้กำลังไฟฟ้าที่ 50 75 100 125 และ 150 วัตต์ ส่วนพลาสมาแบบไดอิเล็กทริกแบริเออร์ดิจชาร์จจะใช้กำลังไฟฟ้าที่ 90 วัตต์ ซึ่งจากผลการทดลองหลังจากนำตัวอย่างแป้งข้าวอาบด้วยพลาสมาทดสอบผลทางด้านกายภาพและทางด้านเคมี โดยการวัดค่าของความหนาแน่นอนุมูลอิสระของพลาสมา พบว่าพลาสมาความดันต่ำตรวจพบค่าความหนาแน่นของอนุมูลอิสระที่สำคัญคือ OH N2 Hβ และ Hα และพลาสมาแบบไดอิเล็กทริกแบริเออร์ดิจชาร์จพบอนุมูลอิสระที่สำคัญคือ N2 O และ O2 หลังจากนั้นนำไปศึกษาผลของพลาสมาต่อคุณสมบัติทางกายภาพ พบว่าแป้งข้าวที่ผ่านการอาบด้วยพลาสมาความดันต่ำมีพื้นผิวที่ขรุขระมากขึ้น เมื่อให้กำลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นและแป้งข้าวหลังจากอาบด้วยพลาสมาแบบไดอิเล็กทริกแบริเออร์ดิจชาร์จพบว่าตัวอย่างมีพื้นผิวที่เรียบ แต่เมื่อทำการวิเคราะห์ผลการวัดค่าความดูดซับน้ำและน้ำมันพบว่าตัวอย่างแป้งข้าวหลังอาบด้วยพลาสมาทั้งสองชนิดมีผลที่คล้ายคลึงกันคือ มีความสามารถในการดูดซับน้ำได้ลดลง แต่มีความสามารถในการดูดซับน้ำมันได้ดีขึ้น ผลทางเคมีโดยเทคนิค ATR – FTIR พบองค์ประกอบทางเคมีของคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่มีอยู่ในแป้งข้าว และจากผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค XPS พบหมู่ฟังก์ชั่นของหมู่มีขั้วเพิ่มขึ้นและหมู่ไม่มีขั้วลดลงซึ่งสอดคล้องกับผลของการดูดซับ ผลการดูดกลืนแสงและการสะท้อนแสงของตัวอย่างจากการเทคนิค UV – Visible Spectroscopy ของพลาสมาทั้งสองชนิดไม่พบว่าแตกต่างกันทั้งก่อนและหลังที่ผ่านการด้วยพลาสมา และสุดท้ายผลการตรวจสอบการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์พบว่าตัวอย่างของแป้งข้าวไม่พบเชื้อจุลินทรีย์หลังจากนำมาอาบด้วยพลาสมา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าพลาสมาเป็นเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มในการปรับปรุงคุณสมบัติของแป้งและเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้ดี
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1087
Appears in Collections:Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kantamard_Lamasai.pdf7.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.