Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1029
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอภิญญา สุพิชญ์-
dc.date.accessioned2022-07-04T03:40:17Z-
dc.date.available2022-07-04T03:40:17Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1029-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์องค์ประกอบของศักยภาพพื้นที่ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม วิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม วิเคราะห์องค์ประกอบการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม ของนักท่องเที่ยวผ่านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และเพื่อกำหนดปัจจัยการสร้างข้อได้เปรียบของการแข่งขันทางการตลาดท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ลักษณะ คือ 1) แบบสอบถาม ซึ่งแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จำนวน 300 คน และกลุ่มที่ 2 นักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน และ 2) แบบสัมภาษณ์ โดยเลือกการเก็บกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (snowball sampling) ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้นำชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จำนวน 12 คน ผลการศึกษาด้านศักยภาพพื้นที่ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ศักยภาพด้านสิ่งดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว และรองลงมา คือ ศักยภาพด้านกิจกรรม ตามลำดับ ซึ่งผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) พบองค์ประกอบใหม่ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เสน่ห์ของจุดหมายปลายทาง 2) การให้บริการบ้านพักแรม 3) รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว 4) การบริหารทรัพยากรกายภาพ 5) คุณสมบัติในการเข้าถึง และ 6) การบริการการเข้าถึง ผลการศึกษาด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดการด้านการมีผู้นำและทีมงานที่เข้มแข็ง และรองลงมา คือ การจัดการด้านการมีรูปแบบการท่องเที่ยว ตามลำดับ ซึ่งผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) พบองค์ประกอบใหม่ 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คุณลักษณะของผู้นำ 2) การบริหารงบประมาณ 3) การกำหนดเป้าหมาย 4) ความสัมพันธ์ของภาคีเครือข่าย 5) กระบวนการท่องเที่ยว 6) ขอบข่ายการดำเนินงาน 7) รูปแบบการติดต่อสื่อสาร 8) ความร่วมมือของชุมชน และ 9) กลยุทธ์ทางการตลาด ผลการศึกษาด้านการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐมของนักท่องเที่ยวผ่านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การรับรู้ด้านคุณสมบัติของสิ่งเร้าผ่านการใช้รูปแบบสื่อยูทูบ และรองลงมา คือ การรับรู้ด้านลักษณะทางด้านจิตวิทยาผ่านการใช้รูปแบบสื่อยูทูบ ตามลำดับ ซึ่งผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) พบองค์ประกอบใหม่ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การใช้รูปแบบผ่านสื่อไลน์ 2) การใช้รูปแบบผ่านสื่ออินสตาแกรม 3) การใช้รูปแบบผ่านสื่อยูทูบ และ 4) การใช้รูปแบบผ่านสื่อเฟซบุ๊ก ผลการวิเคราะห์ปัจจัยการสร้างข้อได้เปรียบของการแข่งขันทางการตลาดท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม พบว่า ศักยภาพพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม มีความพร้อมทางด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง โดยนักท่องเที่ยวได้ร่วมทำกิจกรรมการท่องเที่ยวกับคนในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง รวมทั้งความพร้อมทางด้านที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวกและการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง ประกอบกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม ที่มีการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว ทั้งด้านการจัดการองค์กร การจัดหาบุคลากรที่มีความเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน การประสานงานที่มีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวให้มีเอกลักษณ์ตามแบบฉบับของชุมชนกลุ่ม ชาติพันธุ์ลาวครั่ง พร้อมทั้งการจัดสรรเงินทุนในการบริหารจัดการท่องเที่ยวและการพัฒนากลยุทธ์ทางด้านการตลาดที่เหมาะสม ซึ่งมีการนำสื่อสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์และยูทูบ มาใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐม แต่ทั้งนี้ กลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งควรมีการกระจายอำนาจในการติดต่อประสานงานและการดำเนินงานให้มีความเหมาะสม เพื่อให้การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งสามารถสร้างข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันทางการตลาดท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleปัจจัยการสร้างข้อได้เปรียบของการแข่งขันทางการตลาด ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดนครปฐมen_US
dc.title.alternativeFactors to create competitive adavantage in creative tourism marketing for Lao Krang tribe, Nakorn Pratom provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ENG-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apinya_Supich.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.