Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1026
Title: | แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของฝ่ายยุทธศาสตร์และประสานงานวิจัยสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Other Titles: | A guideline for service quality development of the strategy and research coordination section, office of agricultural research and extension, Maejo University |
Authors: | นันทิกานต์ แก้วไทรนันท์ |
Issue Date: | 2018 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของฝ่ายยุทธศาสตร์และประสานงานวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการให้บริการฝ่ายยุทธศาสตร์และประสานงานวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการฝ่ายยุทธศาสตร์และประสานงานวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กับนักวิจัยที่ขอคืนทุน และนักวิจัยที่ขอขยายเวลาการส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2560 รวมทั้งสิ้น 4 โครงการ และแบบสอบถามจากนักวิจัยที่ขอรับทุนการวิจัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2560 จำนวน 196 โครงการ พบว่าใน ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการให้บริการของฝ่ายยุทธศาสตร์และประสานงานวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในภาพรวมพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ การให้ความเชื่อมั่นต่อผู้ใช้บริการ ความเชื่อถือไว้วางใจได้ การรู้จักและเข้าใจผู้ใช้บริการ การตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ ความเป็นรูปธรรมของบริการ จากผลการศึกษาข้างต้นทั้งแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามนั้น ได้นำไปประยุกต์เป็นข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการฝ่ายยุทธศาสตร์และประสานงานวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังนี้ 1) ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรควรมีชุดยูนิฟอร์ม หรือกำหนดชุดฟอร์มในแต่ละวันให้เจ้าที่แต่งการเหมือนกัน หรือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงการเป็นผู้ให้บริการของหน่วยงาน เช่น ป้ายชื่อคล้องคอ จะทำให้ภาพลักษณ์ดูมีความพร้อมที่จะให้บริการ 2) ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ควรมีการจัดตั้งศูนย์การให้คำปรึกษาแบบครบวงจร 3) ด้านการตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ ควรสร้างความกระตือรือร้นในการให้บริการแก่พนักงาน ซึ่งควรมีความสามารถในการสื่อสารที่ดี 4) ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้ใช้บริการ สร้างความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้มีมาตรฐานเดี่ยวกัน 5) ด้านการรู้จักและเข้าใจผู้ใช้บริการ สร้างจิตสำนึกให้เจ้าหน้าที่เอาใจใส่และมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาให้ผู้ใช้บริการ รวมทั้งรับผิดชอบต่อคำพูดที่ให้ไว้กับนักวิจัย เป็นต้น |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1026 |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nanthikarn_Keawsainan.pdf | 2.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.