Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1024
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กรกนก หงษ์นวล | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-04T03:31:24Z | - |
dc.date.available | 2022-07-04T03:31:24Z | - |
dc.date.issued | 2021 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1024 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิเคราะห์พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว และพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบสร้างสรรค์ ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ เครื่องมือในการวิจัยและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บรวบรวมข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ ผู้นำชุมชนและองค์กรเครือข่ายภาคประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 16 คน และแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญกับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีภูมิ ตำบลพระสิงห์ ตำบลหายยา ตำบลช้างม่อย และตำบลช้างคลาน จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ผลการศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ พบว่าแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ กิจกรรมการท่องเที่ยวมีหลากหลาย ทั้งวัด โบราณสถาน ย่านตลาด ชุมชนเก่าแก่ งานวัฒนธรรมและประเพณีที่สำคัญ เช่น ยี่เป็ง ปี๋ใหม่เมือง มีการอำนวยความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยว ป้ายสัญลักษณ์/ป้ายบอกทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม แต่ขณะเดียวกันยังคงมีปัญหาในเรื่องถนน สายไฟ ป้ายร้านค้าที่รุกล้ำทางเดินเท้า ระบบขนส่งต่าง ๆ ไม่อำนวยความสะดวกแก่กลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ เป็นต้น สำหรับผลการประเมินจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว ในภาพรวมแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่มีศักยภาพอยู่ในระดับมาก ทั้งในด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว การมีส่วนร่วมของชุมชน การจัดกิจกรรมและประสบการณ์การท่องเที่ยว และมีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการรองรับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะความปลอดภัยในการท่องเที่ยว แต่ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวประเมินว่า ถนน เส้นทางคมนาคม เส้นทางเดินเท้า ความสะอาดของพื้นผิวจราจร ทางเดินเท้าในชุมชนยังมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย เพศหญิง มีอายุไม่เกิน 30 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน/หน่วยงานเอกชน มีรายได้ระหว่าง 15,001 - 30,000 บาท เข้ามาท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่าครั้งแรกเพื่อพักผ่อนและท่องเที่ยว เป็นระยะเวลา 4 - 6 วัน พักโรงแรม แหล่งข้อมูลที่สำคัญใช้ในการวางแผนการท่องเที่ยวคือ เพื่อนหรือคนรู้จัก แรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่สำคัญคือ สถานภาพหรือชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณีที่สวยงาม อาหารท้องถิ่นมีรสชาติที่ถูกใจและหลากหลาย แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมยอดนิยม 3 ลำดับแรกที่นักท่องเที่ยวต้องการท่องเที่ยวมากที่สุดคือ ถนนคนเดินวันอาทิตย์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และย่านตลาดประตูเชียงใหม่ นอกจากนี้พบว่า ศักยภาพของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ต่อการบอกต่อและแนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ให้บุคคลอื่นรับรู้และเข้ามาท่องเที่ยว รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบสร้างสรรค์ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ที่เหมาะสมกับบริบทของเมืองเก่าเชียงใหม่คือ “พื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่สร้างสรรค์” เนื่องด้วยเป็นพื้นที่เมืองเก่า ตามประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ และเป็นพื้นที่ตามเทศบัญญัติ เทศบาลนครเชียงใหม่ ในเขตเมืองเก่า พ.ศ. 2557 ที่ปัจจุบันยังคงหลงเหลือร่องรอยของแหล่งอารยธรรม และองค์ประกอบที่สำคัญของเมือง ได้แก่ กำแพงเมืองชั้นใน กำแพงเมืองชั้นนอก คูเมือง แจ่งเมืองรวมทั้ง วัด โบราณสถานต่าง ๆ ที่กระจายตัวอยู่ทั้งภายในและภายนอกเขตพื้นที่เมืองเก่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของชุมชน และพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงเมืองเชียงใหม่ ในช่วงสมัยต่าง ๆ ที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เป็นพื้นที่ที่มีชุมชนท้องถิ่น ที่สามารถสืบสานภูมิปัญญา ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี เป็นพื้นที่ที่มีการทำงานของเครือข่ายภาคประชาชนที่เข้มแข็ง เช่น เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ อีกทั้งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชุมชน สถานประกอบการ สถานศึกษา หน่วยงานราชการ ถึงแม้ว่าสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เปลี่ยนแปลง และพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง เขตเมืองเก่าเชียงใหม่ก็ยังคงเป็นพื้นที่ที่มีชีวิตและนักท่องเที่ยวยังคงสัมผัสได้ถึงความเป็นเมืองเก่าผ่านการเดินเที่ยวชมเมือง การเข้ามากราบ สักการะวัด โบราณสถาน และการใช้ชีวิตของชุมชนในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ เป็นต้น | en_US |
dc.description.sponsorship | Meajo University | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Maejo University | en_US |
dc.title | การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบสร้างสรรค์ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | The development of creative cultural tourism in the old city of Chiangmai | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kornkanok_Hongnuan.pdf | 12.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.