Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1023
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรากรณ์ ใจน้อย-
dc.date.accessioned2022-07-04T03:29:57Z-
dc.date.available2022-07-04T03:29:57Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1023-
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสืบค้นและรื้อฟื้นผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวชุมชนผาหวาย ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย 2) เพื่อศึกษาการสร้างความหมายและสัญญะที่เป็นความต้องการของชุมชนเพื่อการพัฒนาการสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวชุมชนผาหวาย ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย 3) เพื่อพัฒนากระบวนการชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำรูปแบบการสื่อความหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าแก่ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวชุมชนผาหวาย ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการสื่อความหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าแก่ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวชุมชนผาหวาย ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม (Focus group) ในพื้นที่ชุมชนผาหวาย ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย จากกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่และองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของชุมชนผาหวาย ผู้นำชุมชนและแกนนำกลุ่ม/ชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พื้นที่ภูป่าเปาะ และสมาชิกชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พื้นที่ภูป่าเปาะผลการวิจัย พบว่า 1. ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวของชุมชนผาหวาย ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลยประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ คือ 1) สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) ได้แก่ ภูป่าเปาะ วัดป่าสุขใจ วัดโพธิ์ชัย วัดถ้ำผากวาง งานจักสาน งานแปรรูปไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์ชาฤาษี และอาหารพื้นบ้าน 2) ความสะดวกในการเดินทาง (Access) ได้แก่ ถนนลาดยาง ถนนคอนกรีต รถยนต์ส่วนตัว และรถ อีแต็ก 3) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenity) ได้แก่ สาธารณูปโภคพื้นฐาน พื้นที่จอดรถ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และร้านขายของที่ระลึก 4) ที่พัก (Accommodation) ได้แก่ โฮมสเตย์บ้านผาหวาย - ภูป่าเปาะ และโรงแรม รีสอร์ทหรือที่พักใกล้เคียงชุมชน และ 5) กิจกรรมทางการท่องเที่ยว (Activities) ได้แก่ กิจกรรมนั่งรถอีแต็กสัมผัสบรรยากาศ และกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ 2. การสร้างสัญญะและให้ความหมายผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของชุมชนผาหวาย ได้ถูกสร้างขึ้นโดยใช้กระบวนการชุมชนมีส่วนร่วมและการระดมความคิดเห็นจากความต้องการของผู้นำชุมชน แกนนำและสมาชิกชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูป่าเปาะ ตลอดจนคนในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวภายในชุมชน ผาหวาย ซึ่งสัญญะและความหมายที่สร้างขึ้นมานั้นเป็นการแสดงตัวตน เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของชุมชนผาหวาย พบว่า สัญญะและความหมายที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวที่ตรงตามบริบทและความต้องการของชุมชน ประกอบด้วย สัญญะและความหมายทางด้านแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ ภูป่าเปาะ สัญญะและความหมายทางด้านวิถีชีวิตของชุมชน ได้แก่ การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ 3. กระบวนการชุมชนมีส่วนร่วมของชุมชนผาหวายจะเป็นลักษณะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อมีการประสานงานมายังชุมชน และในปัจจุบันประชาชนในชุมชนมีการตื่นตัวด้านการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้นำชุมชนขอความร่วมมือเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนเกิดการรวมกลุ่มและการทำงานร่วมกัน เนื่องด้วยการดำเนินกิจกรรมของชุมชนจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในการทำงาน ทั้งการทำงานเป็นกลุ่มและการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีของสมาชิกในชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูป่าเปาะ เนื่องจากการพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวของชุมชนผาหวายให้ตรงตามบริบทและความต้องการของชุมชนนั้น จากการศึกษาพบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวของชุมชนผาหวาย โดยชุมชนต้องมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการในการพัฒนา ตั้งแต่เริ่มต้นตัดสินใจเข้ามามีส่วนร่วม ร่วมวางแผนในการปฏิบัติงาน มีส่วนในการดำเนินการพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวของชุมชน ได้รับผลประโยชน์จากทุกกิจกรรม และมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อให้การพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเป็นไปอย่างมีทิศทาง พัฒนาอย่างเป็นระบบ เหมาะสมกับบริบทของชุมชน 4. กระบวนการในการพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวของชุมชนผาหวาย ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสืบค้นและรื้อฟื้นผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวชุมชนผาหวาย ขั้นตอนที่ 2 การสร้างความหมายและสัญญะที่เป็นความต้องการของชุมชนเพื่อการพัฒนาการสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวชุมชนผาหวาย ขั้นตอนที่ 3 การคัดเลือกเครื่องมือในการสื่อความหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าแก่ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวชุมชนผาหวาย และขั้นตอนที่ 4 นำเสนอรูปแบบการสื่อความหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าแก่ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวชุมชนผาหวาย ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย การพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวของชุมชนผาหวาย เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยปัจจัยภายในและภายนอก คือ ผู้นำชุมชน ชุมชนและสมาชิกชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูป่าเปาะในชุมชนผาหวายต้องมีความต้องการ มีความตระหนักในคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและให้ความสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วมภายในชุมชน ตลอดจนให้ความร่วมมือกับหน่วยงานจากภายนอกที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวของชุมชนผาหวายต่อไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการที่ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการพัฒนาถือเป็นรูปแบบของการสื่อความหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวของชุมชนผาหวาย ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลยen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวของชุมชนผาหวาย ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลยen_US
dc.title.alternativeDevelopment of an interpretation model to enhance the value of tourism products of Pha Wai village, Puanpu Sub-district, Nonghin district, Loei provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ENG-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warakorn_Jainoi.pdf8.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.