Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1022
Title: | บทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการในแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ระหว่างทุนทางสังคมและความสามารถเชิงพลวัตต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจนวัตกรรมและวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย |
Other Titles: | The mediating effect of entrepreneurship orientation in social capital, dynamic capability to competitive advantage of innovative business and startup in Thailand |
Authors: | วรมรรณ นามวงศ์ |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและรุนแรง (Disruptive Technology) มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศวิทยาทางธุรกิจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงสำหรับผู้ประกอบการที่ประมาทไม่สามารถที่จะปรับตัวได้ก็จะถูกคัดเลือกให้ออกจากระบบนิเวศทางธุรกิจนี้ไป การมีความพร้อมที่จะต่อสู้ตลอดเวลาไม่ประมาทและมีการปรับตัวเตรียมการอยู่เสมอย่อมทำให้กิจการประสบความสำเร็จของธุรกิจ ในประเทศไทยหลายภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาภาคเศรษฐกิจต่างช่วยกันที่จะสร้างระบบนิเวศแวดล้อมทางธุรกิจให้เอื้อต่อผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถที่จะแข่งขันในทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน การสร้างให้กิจการมีคุณลักษณะการผู้ประกอบการอันพึงประสงค์นั้น มีทุนทางสังคมเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะสนับสนุนให้เกิดคุณลักษณะที่ว่านี้ได้ เพราะทุนทางสังคมส่งเสริมให้เกิดความไว้วางใจ การร่วมแบ่งปันและความใส่ใจต่อกันในหมู่ผู้มีส่วนได้เสียในทางธุรกิจทั้งภายในและภายนอกองค์กร อย่างไรก็ตามภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือความสามารถด้านการจัดการทรัพยากรองค์ความรู้ภายในขององค์กรซึ่งจะทำให้องค์กรนั้นมีความสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างทันท่วงที มีความสามารถในการส่งต่อแบ่งปันความรู้กันของคนในองค์กร และเกิดความสามารถในการผลักดันพฤติกรรมสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งใหม่ภายในกิจการ หรือเรียกโดยรวมได้ว่าเป็นความสามารถเชิงพลวัตขององค์กร จากการทบทวนวรรณกรรมในหัวข้อที่ผู้วิจัยได้กล่าวมาแล้วนี้ ทฤษฎีคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ ทฤษฎีทุนทางสังคม แนวคิดความสามารถเชิงพลวัต และแนวคิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน จึงเป็นปัจจัยปฐมบทของการเข้าไปทำการตรวจสอบค้นคว้าหาเหตุผลเชิงประจักษ์ เพื่อตอบปัญหาในการวิจัยที่ว่า ทุนทางสังคม ความสามารถเชิงพลวัต คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ และความได้เปรียบทางการแข่งขันในทางธุรกิจมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร และทุนทางสังคม และความสามารถเชิงพลวัต มีอิทธิพลอย่างไรเมื่อผ่านคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการในสถานะตัวแปรส่งผ่าน และไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจได้หรือไม่ กลุ่มตัวอย่างที่น่าจะให้ข้อมูลได้อย่างสมเหตุสมผลตามกรอบแนวคิดการวิจัยนี้ จึงควรเป็นกลุ่มที่สะท้อนถึงพฤติกรรมการใช้องค์ความรู้ในการประกอบกิจการและอยู่ภายใต้บริบทของการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้วิจัยจึงคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่จะนำมาศึกษาในครั้งนี้ คือ กลุ่มของธุรกิจนวัตกรรม และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย ภายหลังการดำเนินการจากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามได้รับข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ จำนวน 350 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 49 ผู้วิจัยได้นำข้อมูลดังกล่าวมาทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีทางสถิติวิจัย ด้วยการวิเคราะห์สมการโครงสร้างแบบจำลองผ่านโปรแกรมซอฟต์แวร์สำเร็จรูป จากการวิเคราะห์แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ทุนทางสังคม และความสามารถเชิงพลวัตที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยทางอ้อมนั้นถูกส่งผ่านปัจจัยคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการในถานะตัวแปรส่งผ่าน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 และได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบจำลองดังนี้ Chi-Square = 53.224 ค่าองศาอิสระ (df) = 47 ค่า p-value = .247 มีค่ามากกว่า 0.05 ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ (/df) = 1.132 มีค่าน้อยกว่า 3 ค่าดัชนี CFI = .998 มีค่ามากกว่า 0.90 ค่าดัชนี GFI = .982 มีค่ามากกว่า 0.90 ค่าดัชนี AGFI = .947 มีค่ามากกว่า 0.90 ค่าดัชนี RMSEA = .019 มีค่าน้อยกว่า .050 ค่าดัชนี RMR = .022 มีค่าน้อยกว่า .050 ค่าดัชนี HOELTER = 420 มีค่ามากกว่า 200 ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ค่าสถิติที่สำคัญทุกดัชนีผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้สรุปได้ว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีรายละเอียดผลการวิเคราะห์ ดังนี้ 1) ทุนทางสังคม ความสามารถเชิงพลวัต และคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ สามารถร่วมกันอธิบายความ แปรปรวนของผลลัพธ์ความได้เปรียบทางการแข่งขัน ได้ร้อยละ 39.70 2) ทุนทางสังคม ความสามารถเชิงพลวัต และคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ มีอิทธิพลทางบวกต่อผลลัพธ์ความได้เปรียบทางการแข่งขัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) ปัจจัยทุนทางสังคม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ความได้เปรียบทางการแข่งขันสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ความสามารถเชิงพลวัต และคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ ตามลำดับ |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1022 |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Waraman_Namwong.pdf | 7.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.