Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1020
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจันทร์ทิพย์ ไพเพอร์-
dc.date.accessioned2022-07-04T03:23:29Z-
dc.date.available2022-07-04T03:23:29Z-
dc.date.issued2021-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1020-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่ออธิบายกรอบแนวคิดและกระบวนการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม 2) เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนและปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลตอบแทนจากการลงทุนทางสังคม และ 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ร่วมกับวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured - Interview) รวมถึงการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยังยืนของ กฟผ. จำนวน 59 ครัวเรือน และจากการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับพนักงาน กฟผ. สำนักงานกลางและเขื่อนสิริกิติ์ 15 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวัดผลตอบแทนจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI) ผลการวิจัยมีดังนี้ แนวคิดและกระบวนการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พบว่า กิจกรรมและโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. มีทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการธุรกิจ (CSR In Process) และกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมนอกกระบวนการธุรกิจ (CSR After Process) ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะสัดส่วนของกิจกรรมและโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมนอกกระบวนการธุรกิจไม่มีความเชื่อมโยงกับความรู้ความเชี่ยวชาญขององค์กรมีสัดส่วนมากกว่าคิดเป็นร้อยละ 61.29 ซึ่งเป็นอุปสรรคในการขับเคลื่อนงานความรับผิดชอบต่อสังคมต่อไปในระยะยาว การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของ กฟผ. เขื่อนสิริกิติ์ ผ่านการดำเนินโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่า โครงการนี้มีผลตอบแทนจากการลงทุนมีค่าเท่ากับ 2.18 บาท (หมายความว่า เงินลงทุน 1 บาทที่จ่ายลงทุน ได้ทำประโยชน์เกิดมูลค่ากับสังคม 2.18 บาท) ตัวอย่างเช่น เกิดความรู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติที่ครัวเรือนนำไปประยุกต์ใช้จนสามารถลดรายจ่ายและพึ่งพาตนเองได้ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พบว่า ปัจจัยจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ขนาดการถือครองที่ดิน ระยะเวลาการเข้าร่วม การมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ กฟผ. และเจตคติต่อการเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของ กฟผ. มีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนจากการลงทุนของโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนสิริกิติ์ ในองค์ประกอบด้านสังคมมากที่สุด (ร้อยละ 27.50) รองลงมาเป็นด้านสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 19.20) ด้านเศรษฐกิจ (ร้อยละ 14.60) และด้านสุขภาพ (ร้อยละ 9.80) ตามลำดับ การนำเสนอกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พบว่า จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก (TOWS Matrix) นำมาสู่การเสนอกลยุทธ์ที่เหมาะสมใน 3 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมด้านการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม ด้านพลังงานไฟฟ้า และสนับสนุนการป้องกันดูแลสุขภาพและเฝ้าระวังเผชิญภัยโรคระบาด ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการทบทวนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก (ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต) และยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการถ่ายทอดองค์ความรู้en_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของการไฟฟ้าฝ่ายผติลแห่งประเทศไทย (กฟผ.)en_US
dc.title.alternativeFactors related to social return on investment of corporate social responsibility projects under electricity generating authority of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanthip_Piper.pdf4.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.