Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/922
Title: | BIOLOGICAL ACTIVITIES OF BUTTERFLY PEA AND FAH TALAI JONE EXTRACTS AND THEIR APPLICATION FOR DEVELOPMENT OF NEW SUPPLEMENTARY PRODUCT ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดอัญชันและสารสกัดฟ้าทะลายโจรและการประยุกต์สำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดใหม่ |
Authors: | Tipparat Saejung ทิพย์รัตน์ แซ่จัง Thitiphan Chimsook ฐิติพรรณ ฉิมสุข Maejo University. Science |
Keywords: | สารสกัดอัญชัน แอนโทรไซยานิน สารต้านอนุมูลอิสระ ฟีนอลิกรวม แอนโดรกราโฟไลด์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Butterfly pea extract Anthocyanin Antioxidant Total phenolic Andrographolide Supplementary product |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | Butterfly pea (Clitoria ternatea) is a plant belonging to the Fabaceae family. C. ternatea extract or called BP extract has been reported the various bioactivities including hypoglycemic, antimicrobial activity, antioxidant activity and anti-inflammatory activity. The purpose of this study is to prepare C. ternatea extract, study the chemical properties and formulate the supplementary product containing the C. ternatea extract. The fresh flower of C. ternatea was extracted using three solvent extraction methods including maceration, reflux, and microwave assisted extraction with two solvents (distilled water and ethanol). The optimization of each extraction method was determined to evaluate the best condition for preparing the BP extract for example type of solvent, the ratio of solid to solvent (w/v), extraction time, and microwave power. The result showed that the best extraction method for preparing the BP extract was maceration for 7 days by using distilled water as solvent and the ratio of solid to solvent at 1:20 w/v. BP extract from this condition exhibited the antioxidant activity, total phenolic contents and anthocyanin contents at 66.94 ± 0.27 mg Trolox equivalent per g extract, 69.72 ± 0.71mg GAE per g extract and 8.18 ± 0.38 mg cyanidine-3-glucoside equivalence per g extract, respectively. Moreover, Fah Talai Jone (Andrographis paniculate) was extracted using distilled water to obtain fah talai jone (FTJ) extract then analyzed the one of active components of FTJ extract (andrographolide) and used it to formulate the prototype of supplementary product in tableting (500 mg) with BP extract in various ratios of mixing extracts. The products were evaluated the total phenolic contents, antioxidant activity, total anthocyanin and andrographolide. The results showed that the mixture of BP extract and FTJ extract at 1:1 w/w in tableting had the total phenolic contents (36.42 mg gallic acid equivalent/500 mg of tablet), antioxidant activity (40.02mg trolox equivalent/500 mg of tablet), anthocyanin content (1.53 mg/500 mg of tablet) and andrographolide 10.84 mg/500 mg of tablet. The prototype product of this formulation between BP extract and FTJ extract exhibited the biological activities difference from only each extract. It can be revealed that the combination of herbal extracts might be enhanced the biological activities and can be developed as a new supplementary product. ดอกอัญชันเป็นพืชในตระกูล Fabaceae สารสกัดจากดอกอัญชันมีการศึกษาว่ามีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย เช่น ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ ฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านการอักเสบ ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมสารสกัดจากดอกอัญชัน ทดสอบสมบัติเคมีของสารสกัดและตั้งตำรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัดจากดอกอัญชันเป็นองค์ประกอบ ดอกอัญชันสดถูกสกัดโดยการสกัดด้วยตัวทำละลายสามวิธี ได้แก่ การแช่หมัก การรีฟลักซ์ และการใช้คลื่นไมโครเวฟช่วยสกัด โดยใช้ตัวทำละลายสองชนิด (น้ำกลั่น และเอทานอล) การหาค่าที่เหมาะสมของแต่ละวิธีการสกัดถูกตรวจวิเคราะห์เพื่อประเมินสภาวะที่ดีที่สุดในการเตรียมสารสกัดดอกอัญชัน ตัวอย่างเช่น ชนิดของตัวทำละลาย อัตราส่วนของแข็งต่อของเหลว เวลาในการสกัด และกำลังไฟฟ้าของไมโครเวฟ ผลการทดลองพบว่าวิธีการสกัดที่ดีที่สุดสำหรับการเตรียมสารสกัดดอกอัญชันคือการแช่หมักเป็นเวลา 7 วัน โดยการใช้น้ำกลั่นเป็นตัวทำละลาย ที่อัตราส่วนพืชต่อตัวทำละลาย 1:20 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร สารสกัดดอกอัญชันจากสภาวะนี้แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณฟีนอลิกรวมและปริมาณแอนโทรไซยานินที่ 66.94 ± 0.27 มิลลิกรัมสมมูลโทรล็อคต่อกรัมสารสกัด 69.72 ± 0.71 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัมสารสกัด และ 8.18 ± 0.38 มิลลิกรัมสมมูลไซยานิดีน-3-กลูโคไซด์ต่อกรัมสารสกัด ตามลำดับ อย่างไรก็ตามฟ้าทะลายโจรถูกสกัดด้วยน้ำกลั่นเพื่อให้ได้รับสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร หลังจากนั้นถูกวิเคราะห์องค์ประกอบในการออกฤทธิ์ตัวหนึ่ง (แอนโดรกราโฟไลด์) และใช้เพื่อตั้งตำรับต้นแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปแบบเม็ด (500 มิลลิกรัม) ร่วมกับสารสกัดดอกอัญชันในอัตราส่วนสารสกัดผสมที่แตกต่าง ผลิตภัณฑ์ถูกตรวจวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ แอนโทไซยานิน และแอนโดรกราโฟไลด์ ผลการทดสอบพบว่าที่อัตราส่วนผสมของสารสกัดดอกอัญชันและฟ้าทะลายโจร 1:1 โดยน้ำหนัก ในรูปแบบเม็ดผลิตภัณฑ์ แสดงค่าปริมาณฟีนอลิกรวม (36.42 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิค/500 มิลลิกรัมเม็ดผลิตภัณฑ์) ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (40.02 มิลลิกรัมสมมูลโทรล็อค/500 มิลลิกรัมเม็ดผลิตภัณฑ์) แอนโทไซยานิน (1.53 มิลลิกรัม/เม็ดผลิตภัณฑ์) และมีปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ (10.84 มิลลิกรัม/ เม็ดผลิตภัณฑ์ ) ผลิตภัณฑ์ต้นแบบของตำรับระหว่างสารสกัดดอกอัญชันและสารสกัดฟ้าทะลายโจรแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพที่แตกต่างจากสารสกัดแต่ละชนิดอย่างเดียว แสดงให้เห็นว่าการผสมผสานของสารสกัดจากสมุนไพรอาจช่วยเสริมฤทธิ์ทางชีวภาพและสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรชนิดใหม่ได้ |
Description: | Doctor of Philosophy (Doctor of Philosophy (Applied Chemistry)) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เคมีประยุกต์)) |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/922 |
Appears in Collections: | Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6104503001.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.