Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/893
Title: | THE FINANCIAL TECHNOLOGY TRANSFORMATION AND EFFECTS ON THE EFFICIENCY OF COMMERCIAL BANKS IN THAILAND การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางการเงินและผลกระทบต่อประสิทธิภาพของ ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย |
Authors: | Pitipat Nittayakamolphun ปิติพัฒน์ นิตยกมลพันธุ์ Thanchanok Bejrananda ธรรญชนก เพชรานนท์ Maejo University. Economics |
Keywords: | ธนาคารพาณิชย์ เทคโนโลยีทางการเงิน ประสิทธิภาพ Commercial banks Financial technology Efficiency |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | Changes in financial technology usher the growth of financial novation enhancing the efficiency of financial services by commercial banks. Meanwhile, financial technology has evoked cost and increase in competition of commercial banks. This research focuses mainly on the study of the relationship between financial innovation performance and measurement of operational efficiency including the influence of the following factors, thus, financial technology, macroeconomics, bank-specifics, and capital structure to the efficiency of commercial banks in Thailand. The relationship between financial innovation and operational performance was analyzed by applying vector autoregressive model (VAR) using panel data from the reports of 15 commercial banks in Thailand during 2010 – 2019. The measurement of operational efficiency was done by data envelopment analysis (DEA) and slacks-based measure (SBM). Panel quantile regression was applied to analyze the influence of each factor affecting the performance of commercial banks in Thailand.
The study revealed that financial innovation has significantly improved the performance of commercial banks in Thailand. Commercial banks as financial intermediaries have higher average operating efficiency than the business sector and differed significantly according to the size of commercial banks. Factors in each aspect influence the performance of commercial banks distinctively in each quantile level as a financial intermediary and business sector. Factors that render preferable operational efficiency of commercial banks as in both cases are financial technology, macroeconomic, bank-specifics, and capital structure. While factors that reduce the operational efficiency of commercial banks with statistically significant as in both cases are leverage ratio, non-performing loan ratio, and risk weighted assets ratio. การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางการเงินก่อให้เกิดนวัตกรรมทางการเงิน ซึ่งสามารถยกระดับบริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ให้มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันต้นทุน รวมไปถึงการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ก็มีมากขึ้น ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมทางการเงินกับผลการดำเนินงาน และวัดค่าประสิทธิภาพการดำเนินงาน รวมไปถึงอิทธิพลของปัจจัยด้านเทคโนโลยีทางการเงิน ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมหภาค ปัจจัยลักษณะเฉพาะ และโครงสร้างเงินทุนต่อค่าประสิทธิภาพการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลแบบผสม (Panel Data) จำนวน 15 ธนาคาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2562 จากรายงานประจำปีของธนาคารพาณิชย์และธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมทางการเงินกับผลการดำเนินงานด้วยตัวแบบเวกเตอร์อัตรถดถอย (Vector Autoregressive Model: VAR) และวัดค่าประสิทธิภาพการดำเนินงานด้วยวิธีการล้อมกรอบข้อมูล (Data Envelopment Analysis: DEA) และใช้แบบจำลอง Slacks-based Measure (SBM) ในการวิเคราะห์ รวมไปถึงใช้แบบจำลองสมการถดถอยพาแนลควอนไทล์ (Panel Quantile Regression) ในการวิเคราะห์อิทธิพลของแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อค่าประสิทธิภาพการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่านวัตกรรมทางการเงินทำให้ผลการดำเนินของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยธนาคารพาณิชย์ในกรณีตัวกลางทางการเงินมีค่าประสิทธิภาพการดำเนินงานเฉลี่ยมากกว่าในกรณีภาคธุรกิจ และแตกต่างกันตามขนาดของธนาคารพาณิชย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งปัจจัยในแต่ละด้านมีอิทธิพลต่อค่าประสิทธิภาพการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ที่แตกต่างกันในแต่ละระดับควอนไทล์ ทั้งกรณีที่เป็นตัวกลางทางการเงิน และหน่วยธุรกิจ โดยเฉพาะปัจจัยด้านเทคโนโลยีทางการเงินที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ดีขึ้นทั้ง 2 กรณี เช่นเดียวกันกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจมหภาค และปัจจัยลักษณะเฉพาะของธนาคารพาณิชย์ รวมไปถึงปัจจัยโครงสร้างเงินทุน ยกเว้นอัตราส่วนโครงสร้างทางการเงิน อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และอัตราส่วนสินทรัพย์เสี่ยงที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีประสิทธิภาพการดำเนินงานลดลงทั้ง 2 กรณีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Description: | Doctor of Philosophy (Doctor of Philosophy (Applied Economics)) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ประยุกต์)) |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/893 |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6212701003.pdf | 2.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.