Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/892
Title: | FACTORS AFFECTING UNEMPLOYMENT
IN THAILAND ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการว่างงานของประเทศไทย |
Authors: | Chalisa Sacon ชาลิสา สาคร Ke Nunthasen เก นันทะเสน Maejo University. Economics |
Keywords: | การว่างงานในประเทศไทย ลดปัญหาการว่างงาน ค่ากำลังสองน้อยที่สุดทั่วไป unemployment in Thailand reduction of unemployment problem Generalized least squares |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | This study was conducted to analyze : 1) unemployment problem conditions in Thailand (descriptive) and 2) factors effecting the unemployment. This was under basic data on the economy and society at the village level. Besides, factors expected to have an effect on the unemployment was classified into 4 groups. 1) basic condition and structure of economy; 2) health and hygiene; 3) knowledge and education; and 4) community strength and participation. Pooled regression was used for paned data analysis. Generalized least squares in STATA program was used for coefficient estimation.
Results of the stud revealed that the unemployment problem in Thailand had many causes such as increased population, economic downturn, steadily increasing of graduate production, natural calamities, etc. All of these might cause the unemployment problem for some time. However, Thailand still had a policy used for solving the unemployment problem which included unemployment insurance and social security and it was not so successful. Interestingly, the Covid 19 pandemic had been happening for three years truly effected new employment and informal workers. It was found that more than on-half of the whole workforce in the country was informal workers and they were not legally protected so many of them were laid-off.
Adjusted R square was equivalent to 0.645 (64.5%) and the following factors effecting the unemployment were investigate : 1) basic condition and structure of economy (cultivation, animal rearing, marine fisheries, incomes earned from cottage industry and other industries); 2) health and hygiene (work safety); 3) knowledge and education (lack of opportunity in education and health training); 4) community strength and participation (public activities and aging people were not taken care). Regarding the relationship in the opposite direction with unemployment in the country, any factor increased would result in a decreased unemployment. These were : 1) basic condition and structure of economy (local tourist spots which generated incomes, freshwater fisheries, farm machinery, incomes earned from fisheries and cultivation); 2) health and hygiene (the disabled); 3) knowledge and education (educational training); and 4) community strength and participation (credit source). การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการว่างงานของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการว่างงานในประเทศไทย ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์สภาพการว่างงานในรูปแบบเชิงพรรณนา 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการว่างงานในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคมระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค) และแบ่งปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลต่อการว่างงานเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. สภาพและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 2. สุขภาวะและอนามัย 3.ความรู้และการศึกษา 4. การมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน ในวิธีการวิเคราะห์ panel data ในรูปแบบวิธี Pooled Regression และประมาณค่าสัมประสิทธิโดยวิธีการประมาณค่ากำลังสองน้อยที่สุดทั่วไป (Generalized least squares : GLS) ในโปรแกรม STATA สภาพปัญหาการว่างงานในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการว่างงานในประเทศไทยนั้น มีสาเหตุหลายสาเหตุที่ทำให้การว่างงานในไทยนั้นเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศ สภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำลง การผลิตนักศึกษาออกมาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงสถานการณ์ภัยธรรมชาติต่าง ๆ ที่มีในประเทศ สาเหตุการว่างงานที่กล่าวมาข้างต้นนั้นไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการว่างงานตลอดทั้งปี อาจจะเป็นเพียงแค่ช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังมีนโยบายที่ใช้แก้ปัญหาการว่างงานจากทางภาครัฐไม่ว่าจะเป็นการประกันการว่างงาน หรือประกันสังคมในแต่ละมาตราที่มีเงื่อนไขแตกต่างกันไป ถึงจะมีนโยบายของภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุนประเทศไทยก็ยังมีปริมาณการว่างงานที่เพิ่มมากขึ้นอยู่ดี และในปัจจุบันนั้นยังมีโรคระบาดโควิด-19 เกิดขึ้นใน 3 ปีหลังมานี้ก็มีผลกระทบต่อการจ้างงานใหม่และแรงงานนอกระบบของไทย ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นแรงงานมากกว่าครึ่งของทั้งหมดเป็นแรงงานนอกระบบและเป็นแรงงานที่ทำงานแต่ไม่ได้รับความคุ้มครอง และยังกระทบไปถึงธุรกิจอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคการค้าและบริการที่กระทบต่อถอดถอนลูกจ้างจัดสรรบุคลากรลดน้อยลงเพื่อให้สอดคล้องกับสถารการณ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้น ซึ่งก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาทำให้สภาพการว่างงานในประเทศไทยนั้นเพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลังมานี้ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการว่างงานในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์ Adjusted R Square เท่ากับ 0.645 คิดเป็นร้อยละ 64.5 และปัจจัยทั้งหมดที่ได้ศึกษา ได้แก่ 1. ปัจจัยทางด้านสภาพและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ ทำเกษตร เลี้ยงสัตว์ ประมงทะเล รายได้อุตสาหกรรมครัวเรือน รายได้อุตสาหกรรม ท้องถิ่น 2. ปัจจัยทางด้านสุขภาวะและอนามัย คือ ความปลอดภัยในการทำงาน 3. ปัจจัยทางด้านความรู้และการศึกษา คือ ขาดโอกาสในการศึกษา อบรมด้านสุขภาพ 4. ปัจจัยทางด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน คือ ชุมชนมีกิจกรรมสาธารณะ และผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแล มีความสัมพันธ์กับการว่างงานในประเทศไทย โดยตัวแปรที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ตัวใดตัวหนึ่งเพิ่มสูงขึ้นการว่างงานในประเทศไทยก็จะเพิ่มขึ้นด้วย และในส่วนที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการว่างงานในประเทศไทย เมื่อตัวใดตัวนึงเพิ่มขึ้นการว่างงานในประเทศไทยจะลดลง ได้แก่ 1. ปัจจัยทางด้านสภาพและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ ชุมชนมีแหล่งท่องเที่ยวที่เกิดรายได้ ประมงน้ำจืด มีเครื่องจักรใช้งาน รายได้พืช รายได้ประมง 2. ปัจจัยทางด้านสุขภาวะและอนามัย คือ คนพิการ 3. ปัจจัยทางด้านความรู้และการศึกษา คือ อบรมด้านการศึกษา 4. ปัจจัยทางด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน คือ แหล่งสินเชื่อ |
Description: | Master of Economics (Applied Economics) เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ประยุกต์)) |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/892 |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6112304004.pdf | 4.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.