Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/888
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปรีดา นาเทเวศน์, preeda_nathewet-
dc.contributor.authorสิริวัฒน์ สาครวาสี-
dc.date.accessioned2022-01-25T06:51:13Z-
dc.date.available2022-01-25T06:51:13Z-
dc.date.issued2016-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/888-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ต่อการ เจริญเติบโต ผลผลิตและสารต้านอนุมูลอิสระในสตรอว์เบอร์รีในระบบปลูกอินทรีย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 การทดลองคือ การทดลองที่ 1 การสร้างแบบจําลองการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อหาอัตราส่วนของ วัตถุดิบที่ใช้เป็นสารตั้งต้นประกอบไปด้วยน้ําตาลทรายและกากน้ําตาล ร่วมกับน้ําในอัตราส่วนที่ แตกต่างกันในสองสภาวะ คือ ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิบรรยากาศธรรมชาติ พบว่าที่ อุณหภูมิบรรยากาศธรรมชาติ สิ่งทดลองน้ําตาลทรายแดงต่อน้ําในอัตรา 200 กรัม:1000 มิลลิลิตร คาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุดเฉลี่ย 640.00 พีพีเอ็ม และในอุณหภูมิควบคุม 25 องศาเซลเซียส สิ่งทดลอง กากน้ําตาล 200 กรัมต่อน้ํา 500 มิลลิลิตร สามารถผลิตคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยสูงที่สุด คือ 701.75 พีพี เอ็ม และสิ่งทดลองน้ําตาลทรายแดงต่อน้ําในอัตรา 200 กรัม1000 มิลลิลิตร ถูกนําไปใช้จริงในสภาพ แปลงเปิดเพื่อศึกษาอิทธิพลของการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและสาร ต้านอนุมูลอิสระในสตรอว์เบอร์รีระบบปลูกอินทรีย์ โดยมีการจัดสิ่งทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 6 สิ่งทดลองคือ 1) สิ่งทดลองควบคุมในระบบเคมีแบบไม่มีการ เพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ (Chem) 2.การปลูกระบบเคมีร่วมกับการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (Chem-C02) 3.สิ่งทดลองควบคุมในระบบอินทรีย์ (Org) 4.การปลูกระบบอินทรีย์ร่วมกับการเพิ่ม ปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ (Org+CO2) 5.การปลูกระบบอินทรีย์ร่วมกับการเพิ่มปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์โดยมีการคลุมเหนือแปลงด้วยพลาสติก (Org/Pr+CO2) 6.การปลูกระบบอินทรีย์ ร่วมกับการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์โดยมีการคลุมเหนือแปลงด้วยผ้าสปันบอนด์ (Org+Sp+CO2) ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศให้กับสตรอบเบอรีที่ ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ใสภาพแปลงเปิดไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านลําต้นของสตรอเบอร์รี่ พันธุ์พระราชทาน ๘๐ ทั้งที่มีการคลุมและไม่คลุมเหนือแปลงปลูก และเมื่อเทียบกับการไม่เพิ่ม คาร์บอนไดออกไซด์ทําให้น้ําหนักแห้งชีวมวลของสตรอว์เบอร์รี่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ การเพิ่ม ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับสตรอว์เบอร์รีร่วมกับการคลุมเหนือแปลงทําให้ดัชนีทางสรีรวิทยา ของทั้งปฏิกิริยาแสงและปฏิกิริยาคาร์บอนลดต่ําลงหลายค่า เช่น อัตราการนําไหลของปากใบ ประสิทธิภาพการทํางานสูงสุดของระบบแสงที่ 2 (Fv/Fm) อัตราการสังเคราะห์แสง อัตราการคายระเหย ของน้ํา โดยเฉพาะต้นสตรอว์เบอร์รีที่มีการคลุมเหนือแปลงด้วยผ้าใยสังเคราะห์สในด์บอนด์ แต่อย่างไร ก็ตามเมื่อปลูกในระบบอินทรีย์ร่วมการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์โดยมีการคลุมเหนือแปลงด้วย พลาสติกทําให้มีปริมาณผลผลิตที่เป็นความต้องการของตลาด ผลผลิตรวมและน้ําหนักผลผลิตรวมต่อต้น สูงที่สุด ผลการวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระพบว่าปริมาณวิตามินซีและปริมาณ Flavonoids มีความ แตกต่างกันทางสถิติ โดยพบสูงสุดในการปลูกระบบเคมีร่วมกับการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ใน ขณะที่ Total Phenolic compound ไม่มีความแตกต่างทางสถิติen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.subjectสตรอเบอรี่ -- การปลูกen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยแม่โจ้ -- ผลงานวิจัยen_US
dc.subjectเกษตรอินทรีย์en_US
dc.subjectแอนติออกซิแดนท์en_US
dc.subjectอนุมูลอิสระen_US
dc.titleอิทธิพลของการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปริมาณผลผลิตและสารต้านอนุมูลอิสระของสตรอว์เบอร์รี่ในระบบปลูกเกษตรอินทรีย์en_US
dc.title.alternativeEffect of carbon dioxide enrichments on yield and anti-oxidant compounds of Strawberry under organic agricultureen_US
Appears in Collections:AP-Bachelor’s Project

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
preeda_nathewet.pdf54.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.