Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/882
Title: ผลของสารสกัดจากเปลือกทับทิม และใบฝรั่ง ในการยับยั้งเชื้ออีโคไลที่มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่แยกได้จากมูลลูกสุกร
Other Titles: Effect of pomegranate rind (Punica granatum Linn.) and guava leaves extract(Psidium guajava Linn.) for inhibition of multi-drug resistance Escherichia coli from piglet feces
Effect of pomegranate rind (Punica granatum Linn.) and guava leaves extract(Psidium guajava Linn.) for inhibition of multi-drug resistance Escherichia coli from piglet feces
รายงานผลงานวิจัยเรื่องผลของสารสกัดจากเปลือกทับทิม และใบฝรั่ง ในการยับยั้งเชื้ออีโคไลที่มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่แยกได้จากมูลลูกสุกร
Authors: กฤดา ชูเกียรติศิริ, kridda chukiatsiri
กิตติพงษ์ ทิพยะ
อภิชัย เมฆบังวัน
Keywords: สุกร -- การเลี้ยง
สุกร -- โรค
Issue Date: 2016
Publisher: Maejo University
Abstract: ในปัจจุบันปัญหาการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของเชื้ออีโคไลสามารถพบได้ค่อนข้างมากทั้งใน ประเทศไทยและทั่วโลก จึงได้มีการศึกษาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียเพื่อใช้ทดแทนการ ใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ และทดสอบ ประสิทธิภาพของสารสกัดจากเปลือกทับทิมและใบฝรั่งในการยับยั้งเชื้ออีโคไล ทําการเก็บตัวอย่าง และแยกเชื้ออีโคไลจากมูลลูกสุกรที่แสดงอาการท้องเสีย จากฟาร์มในเขตจังหวัดเชียงใหม่ แล้ว นํามาใช้ในการทดสอบจํานวน 50 สายพันธุ์ โดยศึกษาการดื้อต่อยาปฏิชีวนะโดยทดสอบกับยา จํานวน 11 ชนิด ด้วยวิธี broth microdilution method ซึ่งผลการศึกษาพบว่าเชื้ออีโคไลที่แยกได้ทั้ง 50 สายพันธุ์มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะมากกว่า 1 ชนิด โดยยาปฏิชีวนะที่มีการดื้อยาทั้ง 50 สายพันธุ์ (100%) ได้แก่ โนโวไบโอซิน สเตรปโตมัยซิน ซัลฟาเมท็อกซาโซล เตตราซัยคลิน และไธอะมูลิน ส่วนยาปฏิชีวนะที่ดื้อยาค่อนข้างสูงได้แก่ อะม็อกซีซิลิน (98%) ออกซีเตตราซัยคลิน (96%) นาลิติ ซิคแอซิด (82%) เจนตามัยซิน (56%) เอ็นโรฟลอกซาซิน (54%) และ โคลิสตินซัลเฟต (46%) ตามลําดับ ส่วนสารสกัดจากเปลือกทับทิมและใบฝรั่งจะใช้วิธีการสกัดด้วย 95% เอทธานอล โดยใช้วิธีการสกัดอย่างต่อเนื่อง แล้วนํามาทดสอบประสิทธิภาพกับเชื้ออีโคไลทั้ง 50 สายพันธุ์ ด้วยวิธี Agar dilution method ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้โดยมี ความเข้มข้นต่ําสุดของสารสกัดเปลือกทับทิมและใบฝรั่งที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ (MIC) เฉลี่ยอยู่ที่ 5.94 มก./มล. และ 9.44 มก./มล. ตามลําดับ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะนําสาร สกัดมาใช้ในการป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากเชื้ออีโคไลที่มีการดื้อยาซึ่งควรมีการศึกษาต่อไป
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/882
Appears in Collections:AST-Bachelor’s Project

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kridda_chukiatsiri.pdf10.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.