DC Field | Value | Language |
dc.contributor.author | สมวงค์ ทิพย์ประจักษ์, somwong thipprajak | - |
dc.contributor.author | อารีย์ เชื้อเมืองพาน | - |
dc.contributor.author | เรืองชัย ตันสุชาติ | - |
dc.contributor.author | มนตรี สิงหะวาระ | - |
dc.contributor.author | ชนิดา พันธุ์มณี | - |
dc.date.accessioned | 2022-01-21T08:51:12Z | - |
dc.date.available | 2022-01-21T08:51:12Z | - |
dc.date.issued | 2016 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/874 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ 1) ศึกษาปัญหาและสาเหตุของการ เปลี่ยนแปลงความสมดุลของระบบการผลิตข้าวและวิถีชาวนาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน 2) วิเคราะห์ระบบการผลิตข้าวที่สมดุลกับวิถีชาวนาในแต่ละบริบทพื้นที่ภาคเหนือ ตอนบน 3) นําเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสําหรับระบบการผลิตข้าวที่สอดคล้องและสมดุลกับ วิถีการทํานาของชาวนาภาคเหนือตอนบน โดยการตรวจเอกสารเพื่อทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับ ระบบการผลิตข้าวและวิถีชีวิตของชาวนาไทยในอดีต และศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ระบบการผลิตข้าวและวิถีชีวิตของชาวนาไทย เพื่อนําไปสู่การวิเคราะห์และสังเคราะห์บทเรียนใน อดีตและกําหนดกรอบนโยบายการพัฒนาระบบการผลิตข้าวและวิถีชีวิตของชาวนาไทยให้เกิด ความสมดุล ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ระบบการผลิตข้าวในอดีตจะใช้แรงงานในครัวเรือนและแรงงาน แลกเปลี่ยนเป็นหลัก เน้นการผลิตข้าวแบบนาคํา (Young rice plant farming) มากกว่านาหว่าน (Direct-seeded rice farming) มีรูปแบบการผลิตเป็นเกษตรอินทรีย์ เป้าหมายของการผลิตคือสร้าง ความมั่นคงด้านอาหาร มีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและทรัพย์สิน สําหรับวิถีชีวิตของชาวนามี ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพราะก่อให้เกิดความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เมื่อรัฐบาลส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางการเกษตรทําให้เกษตรอินทรีย์ถูก ลดบทบาทลง มีการใช้เครื่องจักรทุ่นแรงและใช้การจ้างแรงงานเป็นส่วนใหญ่ เกษตรกรใช้วิธีนา หว่านเป็นหลักเพราะช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการผลิต รูปแบบการผลิตเน้นการใช้ปุ๋ยและ สารเคมี แม้ว่าต้นทุนการเพาะปลูกต่ําลงแต่การใช้สารเคมีสูงขึ้นทําให้ต้นทุนเพิ่ม ทําให้มีปัญหา สุขภาพตามมาและยังก่อให้เกิดต้นทุนทางอ้อมอีกด้วย ดังนั้น แนวทางการผลิตข้าวของชาวนาใน อนาคตจึงควรเน้นเกษตรอินทรีย์ ใช้วิธีดํานา ชาวนาต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง พื้นที่ในเขต ชลประทานควรปลูกข้าวเหนียวในฤดูนาปีและปลูกพืชผักอายุสั้นและใช้น้ําน้อยหมุนเวียนในฤดูนา ปรัง ส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทานสามารถทําการเกษตรได้เพียงครั้งเดียวจึงต้องปลูกข้าวหอมมะลิ ซึ่งมีมูลค่าทางการตลาดสูงกว่าข้าวชนิดอื่นเพื่อเป็นการสร้างรายได้ อีกทั้งยังมีผลตอบแทนเป็นผล พลอยได้ เช่น มีชีวินทรีย์ (Biopesticides) โดยใช้เป็ด เพื่อการกําจัดหอยและแมลง รายได้จากการ ขายไข่เป็ด ปุ๋ยจากมูลเป็ด เป็นต้น หากเกษตรกรเลือกผลิตตามแนวทางดังกล่าวนอกจากจะช่วยให้ เกษตรกรมีความมั่นคงทางอาหารและทางเศรษฐกิจแล้วยังช่วยให้เกิดความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อมอีก ด้วย | en_US |
dc.description.sponsorship | Maejo University | en_US |
dc.publisher | Maejo University | en_US |
dc.subject | ข้าว -- เชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ข้าว -- เชียงราย | en_US |
dc.subject | ข้าว -- พะเยา | en_US |
dc.subject | ชาวนา -- ไทย | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ -- คอลเล็คชันพิเศษ -- สิ่งพิมพ์ภาคเหนือ | en_US |
dc.title | ความสมดุลของระบบการผลิตข้าวและวิถีชาวนาในพื้นที่เป้าหมายภาคเหนือตอนบน: จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา | en_US |
dc.title.alternative | Balance of rice production and way of peasant in target upper northern areas: Chiang mai, Chiang rai and Phayao provinces | en_US |
Appears in Collections: |
|