Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/870
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | รุ่งทิพย์ กาวารี, rungthip kawaree | - |
dc.contributor.author | นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร์ | - |
dc.contributor.author | ภาวิณี อารีศรีสม | - |
dc.date.accessioned | 2022-01-21T08:23:18Z | - |
dc.date.available | 2022-01-21T08:23:18Z | - |
dc.date.issued | 2017 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/870 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย จากฝาง โดยนําตัวอย่างฝางจํานวน 19 ส่วน มาสกัดด้วยตัวทําละลายเฮกเซนแล้ววิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมี ส่วนน้ํามันด้วยเทคนิค GC-MS นําส่วนกากที่เหลือมาสกัดต่อด้วยตัวทําละลายเอทานอลความเข้มข้น 95% แล้ว วิเคราะห์หากลุ่มขององค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นด้วยปฏิกิริยาการเปลี่ยนสีหรือการตกตะกอน และทําการศึกษา ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันด้วยวิธี ABTS assay และศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียจํานวน 8 สายพันธุ์ คือ Listeria monocytogenes DMST 17303 Bacillus cereus DMST 5040 Staphylococcus aureus DMST 8840 Salmonella Typhi DMST 5784 Salmonella enteritidis group B Shigella sonnei Escherichia coli DMST 4212 11a:Vibrio parahaemolyticus ด้วยวิธี disc diffusion จากการวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีส่วนน้ํามันด้วยเทคนิค GC-MS พบว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่ เป็นสารประกอบประเภทเทอร์ปืน และเทอร์ปีนอยด์ ส่วนกลุ่มขององค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นของสารสกัดเอทา นอล พบว่า สารสกัดส่วนเปลือก เนื้อไม้ ใบ เปลือกผล และเมล็ด พบสารกลุ่มแอลคาลอยด์ สารสกัดส่วนแก่น พบ สารกลุ่มสเตอรอล แอนโทรไซยานิน และกลุ่มแทนนินและฟีนอลิก ในการศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของสาร สกัดเอทานอล พบว่า สารสกัดส่วนแก่นรากมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันสูงที่สุด โดย 1 มิลลิกรัมตัวอย่างมีฤทธิ์เทียบเท่า วิตามินซี เท่ากับ 0.68 +0.11 มิลลิกรัมวิตามินซี การศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย พบว่า สารสกัดส่วนแก่น รากมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus DMST 8840 ได้ดีที่สุด วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณ ยังยั้งได้ 31.2t0.6 มิลลิเมตร มีค่า MIC เท่ากับ 0.06 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และมีค่า MBC เท่ากับ 2 มิลลิกรัมต่อ มิลลิลิตร ผลการศึกษาข้างต้นสารสกัดเอทานอลจากส่วนแก่นของฝางพบสารกลุ่มสเตอรอล แอนโทรไซยานิน และกลุ่มแทนนินและฟีนอลิก และมีฤทธิ์ทางชีวภาพสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดส่วนอื่นๆ สามารถนําไป พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไปได้ | en_US |
dc.description.sponsorship | Maejo University | en_US |
dc.publisher | Maejo University | en_US |
dc.subject | สารสกัดจากพืช | en_US |
dc.subject | Sappan Wood extract | en_US |
dc.subject | การสกัด (เคมี) | en_US |
dc.title | การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของฝาง | en_US |
dc.title.alternative | he study of chemical components of Caesalpinia sappan L. | en_US |
Appears in Collections: | SCI-Bachelor’s Project |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
rungthip_kawaree.pdf | 36.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.