Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/869
Title: | การศึกษาพันธุ์ขั้นต้น และการเปรียบเทียบผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอมพัฒนาจากข้าวเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 และชัยนาท 80 ที่ได้จากวิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก |
Other Titles: | Observation and yield trial of aromatic glutinous rice lines derived from Suphan buri 1 and Chai nat 80 non-glutinous rice varieties by marker-assisted backcrossing |
Authors: | วราภรณ์ แสงทอง, varaporn sangtong สุภารัตน์ ลีธนัชอุดม ทุเรียน ทาเจริญ อนุชิดา วงศ์ชื่น สุภักตร์ ปัญญา |
Keywords: | ข้าวเหนียว -- การปรับปรุงพันธุ์ ข้าวเหนียว -- การปลูก พันธุศาสตร์โมเลกุล |
Issue Date: | 2017 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าว 57 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเหนียว 18 ล้านไร่ ซึ่งคิดเป็น 31 % ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด มีพันธุ์ข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง และต้นเตี้ย ที่ชาวนานิยมปลูก เพียง 3 พันธุ์ ได้แก่ สันป่าตอง 1 กข10 และแพร่ 1 ในขณะที่ข้าวเจ้าพันธุ์ดีมีมากมาย ดังนั้น โครงการนี้มีวัตถุประสงค์นําข้าวเจ้าพันธุ์ดี 2 พันธุ์ คือชัยนาท 80 และ สุพรรณบุรี 1 ซึ่งมีผลผลิตสูง ต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้านทานต่อโรคและแมลงที่สําคัญของข้าว มาเป็นพันธุ์รับยืนข้าวเหนียวหอม จาก กข6 เพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นข้าวเหนียวหอมพันธุ์ดี (ผลผลิตสูง ต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้านทานโรคและแมลงที่สําคัญ) ด้วยวิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกซึ่งเป็น การคัดเลือกในระดับยีโนไทป์หรือยืนทําให้การคัดเลือกมีความถูกต้อง แม่นยํา และช่วยลดเวลาในการ ปรับปรุงพันธุ์ให้สั้นลง การดําเนินการเริ่มจากในฤดูแรกผลิตเมล็ดลูกผสมชั่วลูกแรก F โดยผสมข้าม ข้าวเจ้าพันธุ์ชัยนาท 80 และ สุพรรณบุรี 1 ซึ่งใช้เป็นพันธุ์รับยืน ควบคุมลักษณะข้าวเหนียวหอม กับข้าวเหนียวหอมพันธุ์ กข6 ซึ่งใช้เป็นพันธุ์ให้ยืน จากการดําเนินงานในปีงบประมาณ 2559 ฤดูนาปี 2558 พบว่าการปลูกศึกษาพันธุ์ 4 แถว ของประชากรที่ 1 สายพันธุ์ ชัยนาท 80 ข้าวเหนียวหอม ต้นเตี้ย BCF4 จํานวน 9 สายพันธุ์ มี อายุวันออกดอก 75% เฉลี่ย 92 วัน คัดเลือกต้น BCF4 ที่มีลักษณะทางการเกษตรดีได้เมล็ด BCF5 จํานวน 9 สายพันธุ์ ประชากรที่ 2 สายพันธุ์ สุพรรณบุรี 1 ข้าวเหนียวหอม ต้นเตี้ย ประกอบด้วย BCF4 จํานวน 8 สายพันธุ์ มีอายุวันออกดอก 75% เฉลี่ย 91 วัน คัดเลือกต้น BCF4 ที่มีลักษณะทาง การเกษตรดีได้เมล็ด BCF5 จํานวน 8 สายพันธุ์ และ BCF8 จํานวน 3 สายพันธุ์ มีอายุวันออกดอก 75% เฉลี่ย 88 วัน คัดเลือกต้นมีลักษณะทางการเกษตรดีได้เมล็ด BC_4F9 จํานวน 3 สายพันธุ์ สําหรับในฤดูนาปรัง 2559 การเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี พบว่า ผลผลิตต่อไร่ ประชากรที่ 1 สายพันธุ์ ชัยนาท 80 ข้าวเหนียวหอม BCF5 จํานวน 3 สายพันธุ์ (entries 46) ให้ ผลผลิตต่อไร่ อยู่ระหว่าง 760-851 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ กับข้าวเหนียวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 ที่ให้ผลผลิตต่อไร่ที่ 749 กิโลกรัมต่อไร่ แต่มีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าข้าว เหนียวพันธุ์ สันป่าตอง 1 ที่ให้ผลผลิตต่อไร่ที่ 556 กิโลกรัมต่อไร่ มีอายุถึงวันออกดอก75% เฉลี่ยอยู่ ระหว่าง 99-105 วัน มีความสูงเฉลี่ย 115-127 เซนติเมตร มีจํานวนรวงต่อกอเฉลี่ย 13-14 รวงต่อกอ และมีความกว้างของเมล็ดข้าวกล้องอยู่ระหว่าง 2.02-2.15 มิลลิเมตร ความยาวของเมล็ดข้าวกล้อง อยู่ระหว่าง 6.86-7.11 มิลลิเมตร และความหนาของเมล็ดข้าวกล้องอยู่ระหว่าง 1.67-1.79 มิลลิเมตร ส่วนประชาการที่ 2 สายพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ข้าวเหนียวหอม BCAF9 จํานวน 2 สายพันธุ์ (entries 7 และ 8) ให้ผลผลิตต่อไร่ที่ 774 และ 804 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลําดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่าง กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับข้าวเหนียว กข-แม่โจ้ 2 ที่ให้ผลผลิตต่อไร่ที่ 749 กิโลกรัมต่อไร่ แต่มี ผลผลิตสูงกว่าข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง 1 ที่ให้ผลผลิตต่อไร่ที่ 556 กิโลกรัมต่อไร่ มีอายุถึงวันออก ดอกเฉลี่ย 94-95 วัน มีความสูงเฉลี่ย 142 เซนติเมตร มีจํานวนรวงต่อกอเฉลี่ย 14 รวงต่อกอ และมี ความกว้างของเมล็ดข้าวกล้องอยู่ระหว่าง 2.09-2.11 มิลลิเมตร ความยาวของเมล็ดข้าวกล้องอยู่ ระหว่าง 6.93-7.02 มิลลิเมตร และความหนาของเมล็ดข้าวกล้องอยู่ระหว่าง 1.75-1.76 มิลลิเมตร |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/869 |
Appears in Collections: | SCI-Bachelor’s Project |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | 75.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.