Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/862
Title: การผลิตสาหร่ายสไปรูลิน่า (อาร์โธรสไปรา) อินทรีย์จากน้ำทิ้งโรงอาหารอินทรีย์มหาวิทยาลัย แม่โจ้ เพื่อผลิตอาหารปลาปลอดภัยสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559)
Other Titles: Production of organic spirulina (Arthrospira) from wastewater of organic cafeteria of Maejo University as food safety for fish based on strategy of Maejo University, Stage 1(2012-2016)
Authors: จงกล พรมยะ, jongkon promya
Keywords: สาหร่าย
สไปรูลินา
อาร์โธรสไปรา
Issue Date: 2016
Publisher: Maejo University
Abstract: การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโต คุณค่าทางโภชนาการ สารสี ต้นทุน และความสัมพันธ์ของการเจริญเติบโตของอาร์โธรสไปราสายพันธุ์ (Aspi.MJU2) กับคุณภาพน้ํา การทดลองที่ 1 เพาะเลี้ยงอาร์โธรสไปราสายพันธุ์ AspiMTU2 ในน้ําทิ้งจากโรงอาหารอินทรีย์ (organic cafeteria wastewater; OCW) และน้ําทิ้งจากโรงอาหารทั่วไป (Cafeteria wastewater; CW) ของ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในห้องปฏิบัติการ โดยเปรียบเทียบการเจริญเติบโต (นับจํานวนเซลล์ของ Aspi.MJU2) กับอัตราความเข้มข้นของน้ําทิ้งตั้งแต่ 10%-100% พบว่า Aspi.MIU2 ที่เพาะเลี้ยงในน้ําทิ้ง จากโรงอาหารอินทรีย์ ความเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ (706OCW) มีจํานวนเซลล์ 870*10 x 10 เซลล์ มิลลิลิตร มากกว่าชุดการทดลองอื่น และในน้ําทิ้งจากโรงอาหารทั่วไปความเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ (70%CW) มีจํานวนเซลล์ 852427 x 10 เซลล์/มิลลิลิตร มากกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ (p0.05) สรุปได้ว่า การเพาะเลี้ยง Aspi.MJU2 ในน้ําทิ้ง (70%CW) และน้ําทิ้ง (706OCW) ของ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทําให้สาหร่ายสายพันธุ์ Aspi.MJU2 มีการเจริญเติบโตมากกว่าชุดการทดลองอื่น การทดลองที่ 2 วางแผนการทดลองแบบ Completely randomized design แบ่งเป็น 3 ชุดการ ทดลองๆ ละ 3 ซ้ํา ทําการเพาะเลี้ยงในระบบ raceway pond ดังนี้ 1, (ชุดควบคุม) เพาะเลี้ยง Aspi.MJU2 ในสูตรอาหาร Modified Zarouk 's Medium (MZm) (จงกล และขจรเกียรติ์, 2548) T, เพาะเลี้ยง Aspi.MJU2 ในน้ําทิ้ง 706OCW และ T, เพาะเลี้ยง Aspi.MIU2 ในน้ําทิ้ง 70%CW ของมหาวิทยาลัย แม่โจ้ เก็บข้อมูลโดยการนับจํานวนเซลล์ คุณภาพน้ําก่อน และหลังการทดลอง ทุก 5 วัน เป็นระยะเวลา 20 วัน พบว่า อัตราการเจริญเติบโตของเซลล์จําเพาะ ในวันที่ 5 ของการเพาะเลี้ยง Aspi.MIU2 สูตร อาหาร MCm มีค่า 100.14 หน่วยต่อวัน และในน้ําทิ้ง 70%OCW มีค่า 9.380.13 หน่วยต่อวัน มากกว่า ในน้ําทิ้ง 70%CW สูตรอาหาร MZm มีผลผลิตสด 351.67424.66 กรัม/ลิตร และแห้ง 35.0042.65 กรัม/ ลิตร และสารสีแคโรทีนอยด์ เท่ากับ 1.69%0.17 มิลลิกรัม/กรัม มากกว่าชุดการทดลองอื่น ในน้ําทิ้ง 70%OCw มีต้นทุนการผลิต Aspi.MJU2 แห้ง เท่ากับ 327.67421.22 บาท/กิโลกรัม โปรตีน 56.251.14 เปอร์เซนต์ ไขมัน 1.27.10.14 เปอร์เซ็นต์ และเยื่อใย 4.0540.91 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าชุดการทดลองอื่น อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) คุณภาพน้ําทางกายภาพและเคมี ในบ่อเพาะเลี้ยงระบบ raceway pond มีอุณหภูมิของน้ํา อยู่ ระหว่าง 15.00-20.00 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 9.5740.06-10.4340.06 ค่าออกซิเจน ที่ละลายน้ํา อยู่ระหว่าง 6.2750.31-9.8750.81 มิลลิกรัม/ลิตร ค่าแอมโมเนียไนโตรเจน อยู่ระหว่าง 0.0440.00-0.3940.01 มิลลิกรัม/ลิตร ในน้ําทิ้ง 70%OCW และในน้ําทิ้ง 70%CW มีค่า NH, N มากกว่าชุด การทดลองอื่นๆ และค่าออร์โธฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส อยู่ระหว่าง 7.77 0.73-27.49.4-0.61 มิลลิกรัม/ลิตร ในน้ําทิ้ง 70%OCW มีค่า PO, P มากกว่าชุดการทดลองอื่นๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) ความสัมพันธ์แบบแปรผันตามในน้ําทิ้ง 70%OCW ซึ่งค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจนสูง จะทําให้โปรตีน และอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์จําเพาะ สูงตามไปด้วย และสูงกว่าชุดการทดลองอื่นๆ อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการทดลองสรุปได้ว่า สูตรอาหาร MCm และในน้ําทิ้ง 70%OCW มี อัตราการเจริญเติบโตของเซลล์จําเพาะ ผลผลิต แคโรทีนอยด์ ของ Aspi.MIU2 มากกว่า ในน้ําทิ้ง 70%CW แต่ในน้ําทิ้ง 70%OCW มีต้นทุนการผลิต โปรตีน ไขมัน และเยื่อใย ดีกว่าชุดการทดลองอื่น และคุณภาพน้ําค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจน แปรผันตามโปรตีน และอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์จําเพาะ
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/862
Appears in Collections:FTAR-Bachelor’s Project

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JCAT_TSR_ศัพท์สัมพันธ์.pdf208.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.