Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/860
Title: การจัดการตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Agro-tourism marketing management in Chiang Mai province, Thailand
Agro-tourism marketing management in Chiang Mai province, Thailand
Authors: อำนวยพร ใหญ่ยิ่ง, amnuayporn yaiying
วีระพล ทองมา
สายสกุล ฟองมูล
วินิตรา ลีละพัฒนา
รดาพร ทองมา
กฤต พันธุ์ปัญญา
Keywords: การท่องเที่ยว
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ -- ผลงานวิจัย
การท่องเที่ยว -- การตลาด
การท่องเที่ยว -- การจัดการ
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร -- เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ --คอลเล็คชันพิเศษ -- สิ่งพิมพ์ภาคเหนือ
ห้องสมุด‡xคอลเลคชันพิเศษ -- นโยบายสีเขียว 2563/ป
Issue Date: 2017
Publisher: Maejo University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อระบุปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ ตามกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (8 P's of marketing) และ 2) เพื่อกําหนดตําแหน่งทางการตลาดของการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้มีจํานวน 140 คน ได้แก่กลุ่มผู้บริหาร/ ผู้กําหนดนโยบายของภาครัฐ กลุ่ม ผู้ประกอบการและหน่วยงานหรือองค์กรเอกชนด้านการท่องเที่ยว กลุ่มประชาชนที่เป็นเจ้าของพื้นที่ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและกลุ่มคณะผู้วิจัย นักวิชาการและนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอก สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว สําหรับเครื่องมือในการวิจัยนั้น ได้ใช้แบบสัมภาษณ์ถึงโครงสร้างที่ ผ่านการทดสอบความตรง และความเชื่อมั่นแล้ว จากนั้นนําไปสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล ร่วมกับการ สังเกตการณ์การประชุมกลุ่มย่อย การจัดประชุมเวทีชาวบ้าน หรือแม้แต่การนําชาวบ้านไปศึกษาดู งาน รวมทั้งการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ จากนั้นนําข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสถิติสําเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค (SWOT analysis) พบว่า การจัดการตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่บริหารจัดการโดย องค์กรกลุ่มภาครัฐ/ วิสาหกิจ และกลุ่มองค์กรภาคเอกชน มีจุดแข็งด้านกิจกรรม ความหลากหลาย ของทรัพยากร สําหรับโอกาสนั้นพบว่า การจัดการตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสามารถเชื่อมโยง แหล่งท่องเที่ยวที่ใกล้เคียงกัน และแนวโน้มของนักท่องเที่ยวที่ให้ความสนใจในการท่องเที่ยวเชิง เกษตรเพิ่มขึ้น ส่วนการจัดการตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่บริหารจัดการโดยองค์กรภาค ประชาชน มีจุดอ่อนและอุปสรรคในการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตรนั้นก็คือ ประชาชน ยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารจัดการ โดยเฉพาะการตลาดและการบริการด้านการ ท่องเที่ยว และปัจจุบันมีการแข่งขันทางการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น หรือแม้แต่ปัญหาทางการเมืองและ เศรษฐกิจ รวมทั้งการกําหนดราคาของบริษัทนําเที่ยวและผู้ประกอบการที่ไม่มีความแน่นอนนั่นเอง สําหรับผลการวิเคราะห์ค่าคะแนนเพื่อกําหนดตําแหน่งกลยุทธ์และประเมินการ ปฏิบัติการ (SPACE matrix) พบว่า การจัดการตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่บริหารจัดการโดย องค์กรกลุ่มภาครัฐ/ วิสาหกิจ และกลุ่มองค์กรภาคเอกชน ควรมีการกําหนดกลยุทธ์แบบก้าวหน้า (aggressive strategy) เนื่องจากทั้ง 2 องค์กรมีจุดเด่นด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวที่คงความเป็นเอกลักษณ์และเป็นที่น่าสนใจ และยังมีแหล่งท่องเที่ยวบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงที่มีชื่อเสียงอีกด้วย แต่ การจัดการตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่บริหารจัดการโดยองค์กรกลุ่มประชาชน มีจุดอ่อนและ อุปสรรคมาก จึงควรมีการลดจุดอ่อนและหลีกเลี่ยงอุปสรรคโดยการใช้กลยุทธ์การป้องกัน (defensive strategy) การแข่งขันทางการท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน รวมทั้งสถานการณ์ ความไม่มั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ หรือแม้แต่การกําหนดราคาของบริษัทนําเที่ยวและ ผู้ประกอบการไม่มีความแน่นอน ดังนั้นสมาชิกชมรมธุรกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้งสองชุมชน ต้อง ร่วมกันวางแผนและดําเนินการด้วยการขยายตัวสู่ตลาดให้มากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มบริการที่ประทับใจ แก่นักท่องเที่ยว
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/860
Appears in Collections:STD-Bachelor’s Project

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
amnuayporn_yaiying.pdf158.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.