Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/859
Title: การจัดการดินและธาตุอาหารพืชเพื่อลดระยะเวลาปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน
Other Titles: Soil and Plant nutrition management on the reduction of conversion period for sustainable organic farming production
Soil and Plant nutrition management on the reduction of conversion period for sustainable organic farming production
Authors: อานัฐ ตันโช, arnat tancho
ศุภธิดา อ่ำทอง
วีณา นิลวงศ์
สุลีรัก อาลักษณ์ธรรม
วราภรณ์ ภูมิพิพัฒน์
Keywords: การจัดการดิน
การย่อยสลายทางชีวภาพ
ปุ๋ยหมัก
ไส้เดือนดิน
ดิน -- เคมี
Issue Date: 2015
Publisher: Maejo University
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องการจัดการดินและธาตุอาหารพืชเพื่อลดระยะเวลาปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตร อินทรีย์อย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการใช้ผลิตผลจากไส้เดือนดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับ เชื้ออาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา และรวมถึงการศึกษาผลการใช้ปุ๋ยเคมีต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมี ของดิน ต่อการนําไปใช้ในการลดระยะและหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนระบบเกษตรเคมีไปสู่ระบบ เกษตรอินทรีย์โครงการย่อยที่ 1 ผลตกค้างของการใช้ปุ๋ยเคมีถือเป็นประเด็นสําคัญในการกําหนดระยะเวลาการ ปรับเปลี่ยนจากระบบเกษตรเคมีสู่เกษตรอินทรีย์ ดังนั้นการศึกษาถึงสมบัติของดินที่เปลี่ยนแปลงไป หลังจากการหยุดใช้ปุ๋ยเคมีจะทําให้สามารถนําข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งประกอบการพิจารณาเพื่อลด ระยะเวลาดังกล่าว การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสมบัติทางเคมีของดิน ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว โดยได้ทําการทดลองในระยะเวลา 12 เดือน ณ คณะผลิตกรรมการเกษตร ม.แม่ โจ้ วางแผนการทดลองแบบ Factorial 3x3x5 in CRD ประกอบด้วยปัจจัยหลักได้แก่ ชนิดดิน (S2, ดินหางดง , S2, สันทราย, และ S3: แม่แตง) ระดับอินทรียวัตถุในดิน (O0;ไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์, Oi; ใส่ 1 กก และ 02 ใส่ 2 กก.ต่อถัง) และชนิดปุ๋ยเคมี (Fo; ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี, Fl; 46-0-0, F2; 18-24-24, F3; 0-0-60, และ F4; 16-16-16) จํานวน 3 ซ้ํา ทําการบ่มดินเป็นระยะเวลา 12 เดือนในสภาพ aerobic และรักษาระดับความชื้นให้อยู่ที่ Field capacity ตลอดการทดลอง เก็บตัวอย่างดินที่ระยะเวลา 1, 4, 9, และ 12 เดือน ที่ระดับความลึก 0-25 และ 25 - 50 ซม. เพื่อวิเคราะห์ สมบัติทางเคมีของดิน จากการทดลองพบว่าชนิดดิน ระดับอินทรียวัตถุและชนิด ปุ๋ยเคมีมีผลต่อ pH ปริมาณ OM, N-NH, N-NO, P และ K ในดินเมื่อระยะเวลาผ่านไป 12 เดือนอย่างมี นัยสําคัญ (P<0.05) ซึ่งปริมาณ N-NH N-NO, , P และ K ในดินที่ 12 เดือนขึ้นอยู่กับกับชนิดของปุ๋ยเคมีที่ ใส่ลงไปในดินทั้ง 3 ชนิดทั้ง 2 ระดับความลึก ในขณะที่ปริมาณการตกค้างของ N-NH, , N-NO, , P และ K พบในดินสันทราย (S2) น้อยกว่าคนหางดง (Hd) และแม่แตง (Mt)จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าชนิดดิน ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน และสูตรปุ๋ย มีผลต่อปริมาณการ ตกค้างของปุ๋ยเคมีในดินหลังจากเวลาการบ่มผ่านไป 12 เดือนโดยการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ชัดเจนที่ ระยะเวลา 1 เดือน หลังการใส่ปุ๋ยเคมีและอินทรียวัตถุลงไปหลังจากนั้นค่า pH ปริมาณอินทรียวัตถุ อนินทรีย์ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมจะลดลงและมีแนวโน้มคงที่ไปจนถึงเดือนที่ 12โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาเทคนิคการเพิ่มอัตราการย่อยสลายทางชีวภาพของสารพิษตกค้างในดิน เพื่อลดระยะเวลาการปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรอินทรีย์โดยการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ําหมักมูล ไส้เดือนดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลการใช้มูลไส้เดือนดินและน้ําหมักมูลไส้เดือนดินในการลด ปริมาณสารพิษตกค้างในดินของสารกลุ่ม Organophosphates และ Pyrethroids ภายใต้สภาวะปกติและขังน้ําทําการศึกษาในห้องปฏิบัติการ โดยเก็บตัวอย่างดินจากแปลงของเกษตรกรในระบบเกษตรเคมีมา ศึกษาถึงผลการใช้มูลไส้เดือนดินและน้ําหมักมูลไส้เดือนดิน ช่วยเร่งการย่อยสลายสารพิษ 3 ชนิด คือ Cypermethrin, Chlorpyrifos และ Profenofosโดยทําการตรวจวัดปริมาณสารพิษตกค้างในดินตัวอย่าง 5 ช่วงเวลาหลังทดลองที่ 0 วัน 7 วัน 15 วัน 30 วัน และ 60 วัน ในสภาวะการบ่ม 2 รูปแบบคือสภาพปกติและ น้ําขัง พบว่า ค่าการสลายตัวของ Chlorpyrifos ที่ตกค้างในดินทดสอบนั้นจะสลายตัวหมดภายในระยะเวลา 60 วัน โดยการใส่น้ําหมักมูลไส้เดือนดินและบ่มดินในสภาพขังน้ํามีค่าการสลายตัวเกิดขึ้นสูงสุด สูงกว่าการ ใส่มูลไส้เดือนดินและตํารับควบคุม ในส่วนของค่าการสลายตัวของ Profenofos ในดินทดสอบพบว่า สลายตัวหมดภายในระยะเวลาการบ่มนาน 15 วัน และไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ในส่วนของ Cypermethrin สลายตัวหมดภายในระยะเวลามากกว่า 60 วัน โดยการใส่มูลไส้เดือนดินและน้ําหมักมูล ไส้เดือนดินและบ่มดินในสภาพปกติมีการสลายตัวของ Cypermethrin เกิดขึ้นมากกว่าในตํารับควบคุม (P<0.01)การศึกษาครั้งนี้ พบว่า ในสภาพดินน้ําขังการใส่น้ําหมักมูลไส้เดือนดินจะช่วยเพิ่มอัตราการสลายตัว ของ Chlorpyrifos ได้ดีกว่าการ ไม่ใส่ ส่วนในสภาพดินปกติทั่วไปการใส่ทั้งมูลไส้เดือนดินและน้ําหมักมูล ไส้เดือนดินจะเพิ่มอัตราการสลายตัวของ Cypermethrin ได้ดีกว่าดินที่ไม่ใส่ ดังนั้นการใช้ปุ๋ยหมักมูล ไส้เดือนดิน และน้ําหมักมูลไส้เดือนดิน สามารถเป็นตัวเลือกหนึ่งในการใช้เพิ่มอัตราการย่อยสลายทาง ชีวภาพของสารพิษที่ตกค้างในดินได้ นอกจากการใช้ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว โครงการย่อยที่ 3 การปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวภายใต้ระบบเกษตรเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ โดย การใช้อาบัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซาร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เป็นแนวทางที่มีศักยภาพที่สามารถนําไปสู่การปฏิบัติของ เกษตรกรได้ ซึ่งจะทําให้สมบัติของดินต่างๆ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าว งานวิจัยนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนจากการทําการเกษตรเคมีมาสู่เกษตรอินทรีย์ของดินปลูกข้าว บ้านดอนเจียง ตําบลสบเปิง อําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และผลของการปลูกข้าวแบบต่างๆ ต่อสมบัติ ทางเคมี ฟิสิกส์ และการหายใจของดิน ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสและอนินทรีย์ฟอสฟอรัสรูปแบบ ต่างๆ รวมไปถึงผลของชนิดปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับเชื้อราไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของพืชและสมบัติของ ดิน โดยการสํารวจพื้นที่ เก็บตัวอย่างดิน และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง แบ่ง ออกเป็นกลุ่มเกษตรอินทรีย์ 11 แปลง และกลุ่มเกษตรเคมี 11 แปลงและวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Design (RCBD) โดยกําหนดทรีตเม้นท์ของการปลูกข้าวแบบต่างๆ ชนิดดิน การ จัดการน้ํา และชนิดปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับเชื้อราไมคอร์ไรซาสายพันธุ์ต่างๆ แล้วจึงวิเคราะห์หาสมบัติทางเคมี ฟิสิกส์ และการหายใจของดินของดิน พบว่าผลของการเปลี่ยนระบบการปลูกข้าวนาดําจากระบบเคมีมาเป็น ระบบอินทรีย์ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของชนิดและจํานวนเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาอย่างหลากหลาย และ ยังส่งผลให้สมบัติของดิน ได้แก่ ค่า pH, P, Fe, Zn, N และ OM มีปริมาณเพิ่มขึ้น แต่ค่า EC และ K มีปริมาณ ลดลง จํานวนเชื้อราอาบัสคูราไมคอร์ไรซาเพิ่มขึ้น การเพิ่มระยะเวลาในการปลูกข้าวไร่จาก 1 ปี มาเป็น 2 ปี ทําให้ค่า pH, EC, NH , NO, Available P, SOC, WSC, HWSC, FPOM, Tgloและ WAS มีปริมาณเพิ่มขึ้น แต่ LPOM, POC และ E gloลดลงเพียงเล็กน้อย ซึ่งการปลูกข้าวไร่ในระยะเวลา 2 ปี ส่งผลให้ชนิดและ จํานวนเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซามีปริมาณลดลง ส่วนปริมาณการเก็บรักษาคาร์บอนในส่วนของ TOC ในดินนาอินทรีย์สูงกว่าดินนาเคมี แต่ CPOM-C, FPOM-C และ POXC ในดินนาเคมีมีปริมาณสูงกว่าดิน อินทรีย์และมีปริมาณสูงสุดที่ระดับ 15-30 cm. และดินนาเคมีพบปริมาณอนินทรีย์ฟอสฟอรัสสูงกว่าดินนา อินทรีย์ หลังจากที่มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา พบว่า การใส่เชื้อ Getunicatum ทําให้ปริมาณ อินทรียวัตถุมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดิมมากที่สุด ส่วนชนิดของดินแต่ละชนิด มีผลให้ปริมาณจุลธาตุในดินมี ความแตกต่างกัน พบปริมาณ Cu สูงสุดที่ระดับความชื้น 30% การจัดการน้ํา WL พบปริมาณ Fe ในดิน สูงสุดและพบว่ารูปแบบการจัดการน้ําไม่มีผลให้ปริมาณ Mn และ Zn ในดิน มีความแตกต่างกันจากการทดลองจะเห็นได้ว่าการใช้เชื้อราอาบัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซาร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เป็นแนวทาง หนึ่งที่มีศักยภาพในการช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของดินที่ผ่านการทําการเกษตรในระบบเคมีมาเป็นระบบ อินทรีย์ ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของชนิดและจํานวนเชื้อราอาบัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซาของดินในนาข้าว อีกทั้งยังส่งผลให้สมบัติของดินในด้านของปริมาณธาตุอาหารบางค่า มีปริมาณเพิ่มขึ้น จึงทําให้ดินมีความ เหมาะสมต่อการปลูกข้าวอินทรีย์มากยิ่งขึ้น
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/859
Appears in Collections:AP-Bachelor’s Project

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
arnat_tancho.pdf55.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.