Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/854
Title: กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพการผลิตและการจำหน่ายข้าวอินทรีย์และการวิเคราะห์เส้นทางที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Organic rice production and distribution competency developing strategy and path analysis of decisions making factors in Chiang Mai
Authors: สุรชัย กังวล, surachai kungwon
Keywords: ข้าวอินทรีย์ -- การปลูก
ข้าวอินทรีย์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ -- ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ -- คอลเล็คชันพิเศษ -- สิ่งพิมพ์ภาคเหนือ
Issue Date: 2017
Publisher: Maejo University
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตข้าว อินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ 2) วิเคราะห์เส้นทางที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจผลิตข้าวอินทรีย์ใน จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) ศึกษากลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพการผลิตและการจําหน่ายข้าวอินทรีย์ใน จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบบูรณาการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งกลุ่ม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ เกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 140 ครัวเรือน โดยใช้สถิติพรรณนา สถิติอนุมาน โดยการวิเคราะห์สมการ โครงสร้างด้วยการ วิเคราะห์เส้นทาง และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่มโดยการวิเคราะห์เนื้อหากับผู้นํา เกษตรกรผู้ผลิตและจําหน่ายข้าวอินทรีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์ จํานวน 10 ราย ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 630.36 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาผลผลิต เฉลี่ย 14.65 บาทต่อกิโลกรัม มีรายได้เฉลี่ย 9,234.77 บาทต่อไร่ มีต้นทุนรวม 7,389.42 บาทต่อไร่ ทําให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทน โดยมีกําไรสุทธิ 1,845.35 บาทต่อไร่ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจผลิตข้าวอินทรีย์โดยรวมมากที่สุดคือ ด้านการส่งเสริมและบริการ รองลงมาคือ ด้าน กายภาพ ด้านสังคม ค้านเทคโนโลยี และด้านเศรษฐกิจ โดยมีค่าผลรวมอิทธิพล เท่ากับ 400 391 373 363 และ 281 ตามลําดับ การกําหนดกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพการผลิตและจําหน่ายข้าวอินทรีย์ในจังหวัด เชียงใหม่ แบ่งเป็นกลยุทธ์ด้านการผลิต จํานวน 10 ค้าน ประกอบด้วย 1) การเลือกพื้นที่เพาะปลูก 2) การเลือกใช้พันธุ์ข้าวและการเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว 3) การเตรียมดิน 4) วิธีปลูก 5) การจัดการความ อุดมสมบูรณ์ของดิน 6) ระบบการปลูกพืช 7) การควบคุมวัชพืช 8) การป้องกันกําจัดโรคแมลงและ สัตว์ศัตรูพืช 9) การจัดการน้ํา และ 10) การจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ส่วนกลยุทธ์ด้านการ จําหน่าย จํานวน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านผลิตภัณฑ์ 2) ด้านราคา 3) ก้านช่องทางการจัดจําหน่าย และ 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด ดังนั้นจึงควรนํากลยุทธ์ที่ได้รับไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลเป็น รูปธรรมโดยทําการส่งเสริมการจัดอบรมเพิ่มเติมองค์ความรู้ด้านการผลิตและการจําหน่ายให้แก่ เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างศักยภาพการผลิตและการจําหน่ายข้าวอินทรีย์ให้เกิดความมั่นคง ทางอาหารเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบและสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและรักษา สิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/854
Appears in Collections:ECON-Bachelor’s Project

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5805501001.pdf10 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.