Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/812
Title: THE PATTERN OF SMALL LANDSCAPE TO REDUCE PARTICULATE MATTERS 2.5 MICRONS.
รูปแบบภูมิทัศน์ขนาดเล็กเพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน
Authors: Voraya Yuvasut
วรญา ยุวะสุต
Nachawit Tikul
ณัชวิชญ์ ติกุล
Maejo University. Architecture and Environmental Design
Keywords: PM 2.5
ภูมิทัศน์ขนาดเล็ก
พืชพรรณ
PM 2.5
Small Landscape
Plant
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: At present, the problem of PM 2.5 dust is a problem that occurs around the world. It affects humans in terms of health, economy, society and environment. Thailand is another country that has been affected by the PM 2.5 dust problem over the past several years. Therefore, the purpose of the research is to study  natural factors that affects the reduction of dust particles PM 2.5. Study 3 main factors, namely meteorological factors; vegetative factors and water source factors and implement the variables to develop a guideline to design a small landscape to reduce PM 2.5. In addition, an experiment was conducted on the efficiency of plant species in trapping PM 2.5 dust. choosing the shrub varieties with different leaf texture characteristics were used in the experiment.      The results showed that the important variables that affect the reduction of PM 2.5 dust are: wind speed, rain fall, abscission and Leaf Surface. To test the efficiency of plants, three specific plants are selected: plants with rough surface leaves, mat surface leaves and glossy surface leaves.  The leaf characteristics that are most effective in trapping PM 2.5 dust are roughness  and hairiness (Fukien Tea). In part of design, the researcher define boundaries and shapes of the study area. There is appearance of a C shape which is size 150 square meters and considered 1) tree positioning and the main species of plants, 2) plants placement in accordance with the northeast wind direction during times of high PM 2.5 dust content, tree placement to make the canopy to be complex and increase wind speed to ventilation and blow PM 2.5 away from the area, shrub placement as a fence line to prevent PM 2.5 from the side, and  lianas placement side of the building to prevent dust from entering the building, and 3) selection plants that are effective in trapping PM 2.5 dust: the Jam tree, Weeping bottle brush, Pride of India, Fire bell, Yellow elder, Night Blooming Jasmine, Fukien Tea, Ash bush and Bengal clock vine are included.
ในปัจจุบันปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีผลกระทบต่อมนุษย์ทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อการลดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 โดยทำการศึกษา 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยทางด้านอุตุนิยมวิทยา ปัจจัยทางด้านพืชพรรณ และปัจจัยทางด้านแหล่งน้ำ และนำตัวแปรที่ได้ไปปรับใช้เพื่อทำการหาแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ขนาดเล็กเพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 อีกทั้งได้ทำการทดลองประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้ในการดักจับฝุ่นละออง PM 2.5 โดยใช้พันธุ์ไม้พุ่มที่มีลักษณะพื้นผิวใบที่แตกต่างกันในการทดลอง จากผลการวิจัยพบว่าตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการลดฝุ่นละออง PM 2.5 ได้แก่ ความเร็วลม  ปริมาณน้ำฝน การผลัดใบ และลักษณะของผิวใบ ซึ่งในการทดสอบประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้ ได้ทำการเลือกใช้พันธุ์ไม้โดยพิจารณาจากลักษณะผิวใบ ได้แก่ ผิวใบด้าน ผิวใบมัน และผิวใบสากมีขน ซึ่งลักษณะใบที่มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นละออง PM 2.5 ได้มากที่สุด คือ ผิวใบสากและมีขน (ต้นชาฮกเกี้ยน) ในส่วนของแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ขนาดเล็กเพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5  ผู้วิจัยได้ทำการกำหนดขอบเขตและรูปทรงของพื้นที่ศึกษา โดยมีลักษณะของพื้นที่เป็นรูปทรงตัว C ขนาด 150 ตารางเมตร ซึ่งในการออกแบบได้ทำการพิจารณาจากการวางตำแหน่งของพันธุ์ไม้ให้สอดคล้องกับทิศทางของลมในช่วงเวลาที่มีฝุ่นละออง PM 2.5 สูง คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวางพันธุ์ไม้ยืนต้นให้ทรงพุ่มมีความสลับซับซ้อน และวางพันธุ์ไม้เพื่อเพิ่มช่องวางในการเพิ่มความเร็วของลมในการระบายอากาศ และพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ และวางชนิดพันธุ์ไม้พุ่มไว้เป็นแนวรั้วเพื่อป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 จากทางด้านข้าง อีกทั้งวางแผงไม้เลื้อยไว้บริเวณด้านข้างตัวอาคารเพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าสู่ด้านในอาคาร รวมถึงการใช้พันธุ์ไม้ในการจัดภูมิทัศน์ จะเลือกใช้พันธุ์ไม้ที่มีความสามารถในการดักจับฝุ่นละออง PM 2.5 ได้แก่ ตะขบฝรั่ง แปรงล้างขวด อินทนิล แคแสด ทองอุไร กรรณนิการ์ ชาฮกเกี้ยน นีออน และสร้อยอินทนิล
Description: Master of Science (Master of Science (Environmental design and planning))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การออกแบบและวางแผนสิ่งแวดล้อม))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/812
Appears in Collections:Architecture and Environmental Design

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6219301001.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.