Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/805
Title: THE ADDED VALUE OF TEAK SAWDUST FROM SAWMILL IN XIENGNGUERN DISTRICT LUANGPRABANG PROVINCE TO PARTICLEBOARD FOR FURNITURE PRODUCTION
การเพิ่มมูลค่าขี้เลื่อยไม้สักจากโรงเลื่อยในเมืองเชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง เป็นแผ่นปาร์ติเกิลเพื่อการผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ 
Authors: Chanpor Yiachongthor
Chanpor Yiachongthor
Tapana Cheunbarn
ฐปน ชื่นบาล
Maejo University. Science
Keywords: แผ่นปาร์ติเกิล
ขี้เลื่อยไม้สัก
อีพอกซี
ความพึงพอใจ.
Particleboard
Teak sawdust
Epoxy
Satisfaction.
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: The purpose of this study is to investigate the feasibility of producing particleboard from teak sawdust in XiengNguen District LuangPrabang Province Lao People's Democratic Republic by using epoxy and teak sawdust. This experiment were using different ratios of epoxy resin to teak sawdust and then testing the physical, mechanical, and thermal conductivity properties, according to the Thai Industrial Standard TIS 966-2547 and evaluating the satisfaction of the sawmill owner and the people in XiengNguen District, LuangPrabang Province Lao People's Democratic Republic. The experiment started by using 3 sizes of sawdust: mixed, small, and large. The small and large sizes were sieved with No. 10 sieve, and the mixed sawdust was not sieved. Then three sizes of teak sawdust were mixed with epoxy resin in the ratio of epoxy resin to teak sawdust in the following ratios: 50:50, 60:40, 70:30 and 80:20 according to the cooling method. Set aside for 1-2 days, then take it out of the mold. The sawdust was then tested for its physical, mechanical, and thermal conductivity. After that, the satisfaction of the sawmill owner and the people in XiengNguen District, LuangPrabang Province Lao People's Democratic Republic were evaluated. The result of 4 ratios of particleboards were made from epoxy to teak sawdust was show that the average density was in the range of 1.4-3.8 g/m3, the moisture content was in the range of 3.5-7.8 percent, the thickness swell value was 0.5-4.4 percent, the flexural strength was in the range of 1.51-1.96 MPa, the elastic modulus was in the range of 124-200 MPa, and the thermal conductivity was in the range of 0.0784-0.1278 w/m.K. As for the evaluation results of the satisfaction of the owners of the teak sawmill and the people in XiengNguen District, LuangPrabang Province Lao People's Democratic Republic shows that average satisfaction per particleboards were 4.03 and 4.23, respectively, which was a very good level.  The amount of teak sawdust decreased, which increased the density, bending strength, modulus of elasticity, and thermal conductivity value. On the other hand, the moisture content and swelling value were decreased. However, the physical properties of particleboard were in accordance with the values of the standard TIS 966-2547 for medium-density fiberboard, but the mechanical properties were not above the standard. In order to reduce the cost of manufacturing particleboard from teak, the mixing ratio of epoxy resin to sawdust of 50:50 was optimal, as it can be used to develop particleboard for future teak furniture.
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผ่นปาร์ติเกิลจากขี้เลื่อยไม้สัก ในเมืองเชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยการใช้อีพอกซีต่อขี้เลื่อยไม้สักในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน โดยทำการทดสอบสมบัติทางกายภาพ เชิงกล และสภาพการนำความร้อน ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 966-2547 และจัดทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจจากเจ้าของโรงเลื่อยไม้สัก และประชาชนในเมืองเชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การทดลองเริ่มจากการนำขี้เลื่อยไม้สักร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 10 ให้ได้ขี้เลื่อยไม้สัก 2 ขนาดคือ ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ส่วนขี้เลื่อยขนาดผสมนั้นจะไม่ผ่านการร่อน จากนั้นนำขี้เลื่อยไม้สักทั้ง 3 ขนาดไปผสมกับอีพอกซี ในอัตราส่วนอีพอกซีต่อขี้เลื่อยไม้สักที่อัตราส่วน ดังนี้ 50:50, 60:40, 70:30 และ 80:20 ด้วยวิธีการหล่อเย็น ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน จึงเอาออกจากแม่พิมพ์ นำแผ่นปาร์ติเกิลทำจากขี้เลื่อยไม้สักไปทำการทดสอบสมบัติทางกายภาพ เชิงกล สภาพการนำความร้อน จากนั้นจึงทำการประเมินสอบถามความพึงพอใจของเจ้าของโรงเลื่อยไม้สัก และประชาชนในเมืองเชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผลการวิจัย พบว่า อัตราส่วนอีพอกซีต่อขี้เลื่อยไม้สักทั้ง 4 อัตราส่วนของแผ่นปาร์ติเกิลที่ทำจากขี้เลื่อยไม้สักนั้น มีค่าความหนาแน่นเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.4-3.8 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่าปริมาณความชื้นเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-7.8 ค่าการพองตัวตามความหนาเฉลี่ยร้อยละ 0.5-4.4 ค่าความต้านทานแรงดัดเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.51-1.96 เมกะพาสคัล ค่ามอดูลัสยืดหยุ่นเฉลี่ยอยู่ในช่วง 124-200 เมกะพาสคัล และค่าสภาพการนำความร้อนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.0784–0.1278 วัตต์ต่อเมตร-เคลวิน  ในส่วนของผลการประเมินความพึงพอใจเจ้าของโรงเลื่อยไม้สัก และประชาชนในเมืองเชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต่อแผ่นปาร์ติเกิลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 และ 4.23 ตามลำดับ ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมาก ปริมาณขี้เลื่อยไม้สักลดลง ส่งผลให้ค่าความหนาแน่น ค่าความต้านทานแรงดัด ค่ามอดูลัสยืดหยุ่น และค่าสภาพการนำความร้อนมีค่าเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันปริมาณความชื้น และค่าการพองตัวตามความหนาลดลง แต่อย่างไรก็ตามคุณสมบัติทางกายภาพของแผ่นปาร์ติเกิลนั้นมีค่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 966-2547 แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง แต่ในส่วนของค่าสมบัติเชิงกลนั้นยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการทำแผ่นปาร์ติเกิลจากขี้เลื่อยไม้สัก อัตราส่วนอีพอกซีต่อขี้เลื่อยไม้สักที่ 50:50 นั้นมีความเหมาะสมที่สุดที่จะสามารถนำไปพัฒนาเป็นแผ่นปาร์ติเกิลเพื่อผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ใช้ทดแทนไม้สักได้ในอนาคต
Description: Master of Science (Master of Science (Environmental Technology))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/805
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6204301002.pdf7.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.