Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/804
Title: | EFFECTS OF MULBERRY LEAF SILAGE ON GROWTH PERFORMANCE, CARCASS QUALITY AND MEAT QUALITY IN THAI NATIVE CHICKEN (PRADU HANG DAM) ผลของการใช้ใบหม่อนหมักต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต คุณภาพซาก และคุณภาพเนื้อในไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ |
Authors: | Yossapon Pounsiri ยศพณ พวนศิริ Buaream Maneewan บัวเรียม มณีวรรณ์ Maejo University. Animal Science and Technology |
Keywords: | ใบหม่อนหมัก ไก่พื้นเมือง ประสิทธิภาพการเจริญเติบโต คุณภาพซาก คุณภาพเนื้อ mulberry leaf silage Thai native chicken growth performance carcass quality meat quality |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | The study on effect of mulberry leaf silage (MLS) on growth performance, carcass quality and meat quality in Thai Native chicken (Pradu Hang Dam) was conducted in 2 experiments.
Experiment 1, The study on the MLS nutritional values at day 7 and 21 of fermentation. The mulberry leaves (Sakonnakhorn cutivar) at day 75-90 were cut to 3-5 cm length. The MLS was prepared by mixing the mulberry leaf: brown sugar: salt ratio; 100: 4: 1 and kept for 7 and 21 days. The pH values of MLS were measured. The MLS was dried at 60 degrees celsius for 48 hours. The nutritional values of dried MLS were analyzed. The results showed that the pH value and nitrogen free extract of the 7 days MLS were higher than 21 days MLS (P<0.05) but dry matter, crude protein, ether extract, crude fiber, ash, acid detergent fiber (ADF) and neutral detergent fiber (NDF) of the 7 days and 21 days MLS were not difference (P>0.05).
Experiment 2, Effect of MLS on growth performance, carcass quality and meat quality in Thai Native chicken (Pradu Hang Dam) (3-16 weeks). The experiment was conducted in 235 chickens 3 weeks of ages. The chickens were divide into 5 groups, 3 replications of 15 chickens (mixed sex) using completely randomized design (CRD). Group 1, Control diet. Group 2, the supplementary 5% 7 days MLS diet. Group 3, the supplementary 10% 7 days MLS diet. Group 4, the supplementary 5% 21 days MLS diet and group 5, the supplementary 10% 21 days MLS diet. The growth performance and the carcass and meat quality at 12 and 16 weeks of ages were observed. The small intestinal morphology were observed at the end of the experimental period. The results showed that at the 3-12 weeks of age the feed intake, feed conversion ratio, average daily gain, carcass composition, drip loss, cooking loss and shear force by MLS in diets were not significant differences (P>0.05). But final weight in the control and the supplementary 5% 7 days MLS diet group were higher than other groups (P<0.05). The redness (a *) in breast meat of the supplementary 10% MLS diets was the highest (P<0.05) and the thiobarbituric acid reactive substances (TBARS) of the MLS diets was lower than the control group (P<0.05). At the 12-16 weeks of age the feed intake, feed conversion ratio, average daily gain, carcass composition, lightness (L*), redness (a*), Yellowness (b*) and shear force of MLS groups were not differences from control (P>0.05). The final weight in the control group was highest (P<0.05). The MLS group had the higher drip loss in thigh meat and cooking loss in breast meat than control group (P<0.05). The TBARS day 4 and 7 in the control group were highest (P<0.05). The 5% 7 days MLS diet increased ileal villus number and duodenal, jejunal and ileal villus height but decreased jejunal crypt number (P<0.05).
In conclusion, the fermentation period of 7 and 21 days did not effect on the overall of the MLS quality. The 7 days MLS can be use at the level of 5% in diet without adverse effect on growth performance and carcass quality but increased intestinal villus height. MLS improved the breast and thigh meat quality by redness increasing and breast meat quality by the oxidation reduction, resulting in a longer self-life. การศึกษาผลของการใช้ใบหม่อนหมักต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต คุณภาพซาก คุณภาพเนื้อในไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำแบ่งออกเป็น 2 การทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1 การศึกษาคุณค่าทางโภชนะของใบหม่อนหมัก 7 วัน และ 21 วัน โดยใช้ใบหม่อนพันธุ์สกลนคร อายุ 75-90 วัน ตัดให้มีขนาดความยาว 3-5 เซนติเมตรแล้วหมักกับส่วนผสม ใบหม่อน:น้ำตาลทรายแดง:เกลือ อัตราส่วน 100:4:1 เมื่อครบกำหนดทำการวิเคราะห์ค่า pH และนำใบหม่อนหมักไปอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะ ผลการวิเคราะห์พบว่า ค่า pH ของใบหม่อนหมัก 7 วัน มีค่ามากกว่าใบหม่อนหมัก 21 วัน อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.05) และพบว่าปริมาณคาร์โบไฮเดรทที่ย่อยง่ายของใบหม่อนหมัก 7 วัน มีค่าสูงกว่าใบหม่อนหมัก 21 วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ปริมาณโปรตีน ไขมัน เยื่อใย เถ้า Acid detergent fiber (ADF) และ Neutral detergent fiber (NDF) ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) การทดลองที่ 2 ผลของการใช้ใบหม่อนหมักต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต คุณภาพซาก คุณภาพเนื้อในไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำอายุ 3 - 16 สัปดาห์ ใช้ลูกไก่ประดู่หางดำอายุ 3 สัปดาห์ จำนวน 225 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomize Design, CRD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มการทดลอง แต่ละกลุ่มการทดลองมี 3 ซ้ำ ซ้ำละ 15 ตัว กลุ่มที่ 1 อาหารควบคุม กลุ่มที่ 2 เสริมใบหม่อนหมัก 7 วัน 5 % กลุ่มที่ 3 เสริมใบหม่อนหมัก 7 วัน 10 % กลุ่มที่ 4 เสริมใบหม่อนหมัก 21 วัน 5 % กลุ่มที่ 5 เสริมใบหม่อนหมัก 21 วัน 10 % ศึกษาสมรรถภาพการเจริญเติบโต และทำการศึกษาคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อเมื่อไก่อายุครบ 12 และ 16 สัปดาห์ และศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของลำไส้เล็กเมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผลการศึกษาพบว่าในระยะ 3-12 สัปดาห์ ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น องค์ประกอบซาก การสูญเสียน้ำของเนื้อจากการแช่เย็น การสูญเสียน้ำหนักเนื่องจากการทำให้สุก และค่าแรงตัดผ่านเนื้อ ไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มควบคุม (P>0.05) น้ำหนักตัวเมื่อสิ้นสุดการทดลองกลุ่มควบคุมมีค่ามากกว่ากลุ่มอื่น (P<0.05) ยกเว้นกลุ่มที่เสริมใบหม่อนหมัก 7 วัน 5 % (P>0.05) ค่าความแดง (a*) ของเนื้อหน้าอกกลุ่มที่ใช้ใบหม่อนหมัก 10 % กว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) และค่าการเกิดออกซิเดชันของเนื้ออกกลุ่มที่ใช้ใบหม่อนหมักต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) ในระยะ 12-16 สัปดาห์ พบว่าปริมาณอาหารที่กิน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น องค์ประกอบซาก ค่าสีของเนื้อหน้าอกและสะโพก และค่าแรงตัดผ่านเนื้อของกลุ่มที่ใช้ใบหม่อนหมักไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (P>0.05) แต่น้ำหนักตัวเมื่อสิ้นสุดการทดลอง ของกลุ่มควบคุมสูงที่สุด (P<0.05) การสูญเสียน้ำของเนื้อจากการแช่เย็นของเนื้อสะโพก และการสูญเสียน้ำหนักเนื่องจากการทำให้สุกของเนื้อหน้าอกกลุ่มที่ใช้ใบหม่อนหมักมีค่าสูงกว่าควบคุม (P<0.05) ค่าการเกิดออกซิเดชันของเนื้ออกวันที่ 4 และวันที่ 7 กลุ่มควบคุมมีค่าสูงที่สุด (P<0.05) การใช้ใบหม่อนหมักหมัก 7 วัน 5 % ในอาหารช่วยเพิ่มจำนวนวิลลัสในลำไส้เล็กส่วนไอเลียม และความสูงของวิลลัสในลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัท เจจูนัม และไอเลียม แต่ลดจำนวนคริปท์ในลำไส้เล็กส่วนไอเลียม (P<0.05) จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าระยะเวลาในการหมัก 7 วันและ 21 วันไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพโดยรวมของใบหม่อนหมัก สามารถใช้ใบหม่อนหมัก 7 วันที่ระดับ 5 % ในสูตรอาหารโดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพซาก แต่เพิ่มความสูงของวิลลัสในลำไส้เล็ก และใบหม่อนหมักสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพของเนื้อหน้าอกและสะโพกให้มีค่าความแดงเพิ่มขึ้น และลดการเกิดออกซิเดชันของเนื้อหน้าอกซึ่งทำให้ยืดระยะเวลาในการเก็บรักษาได้ยาวนานมากกว่าเดิม |
Description: | Master of Science (Master of Science (Animal Science)) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สัตวศาสตร์)) |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/804 |
Appears in Collections: | Animal Science and Technology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6122301004.pdf | 3.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.