Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/799
Title: การบริหารจัดการน้ำในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ตําบลบ้านดง อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง
Other Titles: Community participation in water management: a case study of Baan Dong sub-district, Mae Moh district, Lampang province
Authors: พัชรพรรณ จันทร์เรือน, Patcharapan Chanruan
Keywords: การพัฒนาแหล่งน้ำ
การจัดการน้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
Issue Date: 2016
Publisher: Chiangmai : Maejo University
Abstract: การศึกษาการบริหารจัดการน้ำในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ตําบลบ้านดง อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้น้ำของชุมชน การบริหารจัดการน้ำของ ชุมชน และพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการน้ำในชุมชนตําบลบ้านดง อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง แบบมีส่วนร่วม ศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และการสนทนา กลุ่มเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลและนํามาวิเคราะห์จากผลการศึกษา สถานการณ์การใช้น้ำแต่ละหมู่บ้าน พบว่า หมู่บ้านตําบลบ้านดง อําเภอเมือง จังหวัดลําปาง มีหมู่บ้านจํานวน 8 หมู่บ้าน มีแหล่งน้ำหลักเกิดจากลุ่มน้ำสาขาต่าง ๆ ตามธรรมชาติที่ มากมาย ชาวบ้านจึงใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำนี้ในลักษณะ น้ำบ่อ, น้ำประปาหมู่บ้าน, น้ำบาดาลใช้ เพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนอ่างเก็บน้ำ น้ำคลองหรือลําห้วย ใช้เพื่อการเกษตร บางหมู่บ้านใช้น้ำจาก แหล่งน้ำเป็นทั้งน้ำอุปโภคและบริโภค แต่บางหมู่บ้านใช้น้ำเพียงทําการเกษตรส่วนน้ำอุปโภคได้จาก การซื้อ ชาวบ้านส่วนใหญ่จะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งจึงทําให้ชาวบ้านมีการรวมตัว เพื่อทําการบริหารจัดการน้ำภายในหมู่บ้าน และผลการศึกษา การบริหารจัดการน้ำของชุมชน พบว่า การบริหารจัดการน้ำของแต่ละหมู่บ้านจะแตกต่างกันออกไป เนื่องจากภูมิประเทศและแหล่งน้ำหลักที่ แตกต่างกัน โดยชาวบ้านจะมีบุคลากรหรือคณะกรรมการของแต่ละหมู่บ้านคอยช่วยเหลือดูแล ชาวบ้านในการบริหารจัดการน้ำเป็นการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม ซึ่งจะได้รับงบประมาณจาก โรงไฟฟ้าแม่เมาะและองค์การบริหารส่วนตําบล ด้านวัสดุอุปกรณ์และด้านการพัฒนาการบริหาร จัดการน้ำในแต่ละหมู่บ้านอย่างเท่าเทียมกัน ถึงกระนั้น ชาวบ้านแต่และหมู่บ้านก็ยังคงมีปัญหาด้าน การบริหารจัดการน้ำ ดังนั้นชาวบ้านจึงต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ โดยที่ชาวบ้าน ต้องการให้หน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการน้ำ เข้ามามีส่วนร่วมกับชาวบ้านเพื่อการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมและยั่งยืนของชุมชน จากผล การศึกษา การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการน้ำ พบว่า ชาวบ้านต้องการให้หน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการน้ำ เข้ามาพัฒนาการบริหารจัดการ 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ พัฒนาด้านการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการทุกภาคส่วน, พัฒนาด้านศักยภาพของบุคลากร ภายในชุมชน, พัฒนาด้านการมีส่วนร่วมและสุดท้ายพัฒนาด้านแผนและนโยบายการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการน้ำ ควรมีการปรับปรุง พัฒนา เสริมสร้างระบบและ กลไกการแหล่งน้ำร่วมกันทั้งตําบลในทุก ๆ เดือน ตลอดจนควรผลักดันไปสู่แผนพัฒนาตําบล หรือ เสนอเป็นนโยบายการบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจนโดยที่ชาวบ้านต้องการมีส่วนร่วมในการวางแผนงาน, ปฏิบัติงาน, จัดสรรผลประโยชน์ และประเมินผลของ โครงการต่าง ๆ ในการบริหารจัดการน้ำ รวมถึง การส่งชาวบ้านหรือผู้นําชุมชนเข้าร่วมศึกษาดูงานนอกสถานที่หรือศึกษาดูงานหมู่บ้านต้นแบบในการ บริหารจัดการน้ำภายในชุมชนที่ประสบความสําเร็จเพื่อให้ผู้นําชุมชนนําความรู้จากการศึกษาดูงานนี้ ไปประยุกต์ใช้ภายในชุมชนของตนต่อไป
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/799
Appears in Collections:BA-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharapan_Chanruan.pdf83.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.