Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/797
Title: | การบริหารจัดการเชิงพื้นที่: การรับรู้จินตภาพและสัญญะของสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ |
Other Titles: | Area based management: image and semiotics of places within the old town of Chiangmai |
Authors: | โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร Chokanan wanitlertthanasarn |
Keywords: | เมืองเก่า ย่านประวัติศาสตร์ การบริหารจัดการเชิงพื้นที่ |
Issue Date: | 2015 |
Publisher: | Chiangmai : Maejo University |
Citation: | http://opac.library.mju.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=350507 |
Abstract: | การวิจัยเรื่องการบริหารจัดการเชิงพื้นที่: การรับรู้จินตภาพและสัญญะของสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปรากฎการณ์และการวิเคราะห์องค์ประกอบของการรับรู้จินตภาพ รวมถึงความหมายเชิงสัญญะของสภาพแวดล้อมทางกายภาพเมืองเก่าเชียงใหม่และการนําองค์ประกอบทางจินตภาพไปสู่การบริหารจัดการเชิงพื้นที่ให้เกิดความเหมาะสม โดยกระบวนการของการจัดการร่วมระหว่างชุมชน ภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเสนอมาตรการในการบริหารจัดการพื้นที่เมืองเก่าที่มีคุณค่าทางนามธรรม ตลอดจนผัง พัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม วิธีดําเนินการวิจัย ประกอบด้วย การรวบรวมเอกสาร การศึกษาวิจัยภาคสนาม ประกอบกับ การจัดทําแผนที่โครงสร้างจินตภาพในเมืองเก่าเชียงใหม่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้เชี่ยวชาญ การใช้แบบสอบถามต่อประชาชนในพื้นที่เมืองเก่า นักท่องเที่ยว สถาปนิก นักออกแบบ และการจัดประชุมระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการเชิงพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ ในมิติการรับรู้โครงสร้างจินตภาพและสัญญะของสภาพแวดล้อมนั้น ประกอบด้วย 4 ประเด็น ดังนี้ 1) องค์ประกอบที่สําคัญของจินตภาพซึ่งส่งผลต่อการอ่านเมืองและจดจําเมือง 2) การรับรู้จินตภาพและการให้ความหมายด้านกายภาพเมืองเก่า 3) บทบาทในการจัดการร่วมของชุมชนระหว่างชุมชน ภาคเอกชน หน่วยงานรัฐ ซึ่งจะนําไปสู่การสร้างความเข้าใจและการเสนอแนะแนวทาง 4) มาตรการในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นจินตภาพหรือภาพลักษณ์ของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีผลมาจากการรับรู้จดจําระหว่าง “ผู้สังเกต” และ “สภาพแวดล้อมของผู้สังเกต” โดยสภาพแวดล้อมจะแสดงถึงความแตกต่างและความสัมพันธ์ต่อกัน ผู้สังเกตจะเลือกพิจารณาและให้ความหมายต่อสิ่งที่พวกเขาเห็นจินตภาพสาธารณะ (Public Image) กล่าวคือภาพโดยรวมที่อยู่ในใจของคนส่วนใหญ่ ซึ่งจะพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพโดยผ่านองค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบ คือ 1) เส้นทาง 2) เส้นขอบ 3) ชุมทาง 4) ย่านกิจกรรม 5) จุดหมายตา ประกอบกับการรับรู้สิ่งเร้าภายนอกที่มีผลต่อการรับรู้เชิงประสาทสัมผัส , รูปทรง และสัญลักษณ์ แล้วนํามาประมวลหาผลลัพธ์เพื่อนําไปสู่กระบวนการบริหารจัดการเชิงพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่และการนําเสนอมาตรการจินตภาพเชียงใหม่ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการใช้ประโยชน์บนทรัพยากรร่วมกันอย่างเหมาะสมทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคีองค์การต่างๆ เพื่อก่อเกิดคุณค่าทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมร่วมถึงภาพลักษณ์เมืองเก่าเชียงใหม่อย่างเหมาะสมต่อไป |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/797 |
Appears in Collections: | School of Administrative Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chokanan_wanitlertthanasarn.pdf | 90.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.