Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/753
Title: | COMMUNITY BASED SOLID WASTE MANAGEMENTAT BEUNG KIAT NGONG RAMSAR SITE IN LAOS PDR. การจัดการขยะชุมชนในพื้นที่บึงเขียดโง่ง อำเภอปทุมพร จังหวัดจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
Authors: | Thiddavanh Khamkeo Thiddavanh Khamkeo Mujalin Pholchan มุจลินทร์ ผลจันทร์ Maejo University. Science |
Keywords: | บืงเขียดโง้งรามชาไซ การจัดการขยะชุมชน เปลือกหอยเชอรี่ calcium carbonate Beung Kiat Ngong Ramsar Site solid waste management golden apple snail shells calcium carbonate |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | The quantity and characteristics of solid waste are essential information for appropriate solid waste management. These data are still lacking and are not widely used in Lao PDR, especially in wetlands areas. To comply with the sustainable development policy and sustainable goals, Lao PDR government aims for the development of the country from poverty along with sustainable development. It also targets for solving environmental problems as well as solid waste problems. BKN Ramsar site is the habitats of various animal habitats and a strategic area of the Lao PDR which is the target area for sustainable development. The objectives of the study were 1. to analyze and characterize the amount and composition of solid waste and, 2. to find strategic solid waste management in Beung Kiat Ngong Ramsar site, Pathoumphone district, Champasack Province, Laos PDR. The research was divided into 3 parts: Part 1. Survey and waste sampling to identify the amount of solid waste, characterization and composition of solid waste and, the density of solid waste. Part 2 .The distribution of questionnaire targeted on villagers in the area and staffs from the department of natural resources and environment, Champasak Province, Lao PDR who responsible for policy-making and implementation, and part 3. Preliminary laboratory study of value added product from waste.
The results from part 1 after survey and sampling solid waste from two villages in BKN Ramsar site; Thabou village and Kait Ngong village showed that the average daily solid waste generation 3.6 kg/day and 2.6 kg/day in Thabou village and Kiat Ngong village, respectively. Yard waste appeared to be the biggest component (36.4%) for Thabou village, while packaging’s dominated waste composition in Kiat Ngong village (28.6%). Open burning and open dumping in public areas and villages’ landfills were general waste management process from both villages. Large amount of golden apple snail shells (GAS) was found with nearly 90% of the total solid waste and were dumped in public areas and villages’ landfills.
The result from part 2 showed the responses from villages and DNRE. Lacking of knowledge and understanding of solid waste separation and 3Rs were found from both villages. When comparing the attitude and behavior of solid waste management between Thabou village and Kiat Ngong Village, it was found that Thabou village had more better attitudes and behaviors regarding solid waste management by solid waste separation and 3Rs. It was found that DNRE staffs had more knowledge and understanding on solid waste management and all staffs had the great attitudes towards solid waste management. However, more knowledge and professional training for waste to energy and waste to value added products are required.
The results of preliminary study from part 3 showed that golden apple snail shells (GAS), which were found nearly 90% of the total solid waste dumped in public areas, was selected as the raw material for value added production. These GAS contained calcium carbonate (CaCO3), which can be used for industrial and agricultural purpose.Incineration was used for organic removal. Comparative test between three combustion temperatures; 400°C, 500°C and 600°C and 3 treatments (crushed before incineration (Treatment A), incineration without crushing (Treatment B) and control (C)) was conducted. CaCO3 was determined by EDTA method and AAS method. It was found that Treatment B (400°C) gave the maximum value of CaCO3 (624.00 mg/L as CaCO3 from EDAT method and 64.65 mg/L as CaCO3 from AAS method), which was significantly different between others (ANOVA; P=0.006). The findings indicated that the value added product from GAS to CaCO3 could be applied in the industry and agriculture. Moreover, strategy plans on education and knowledge related to waste management, waste separation and 3Rs, waste to value added products and training on waste to energy and composting should be conducted and developed for sustainable solid waste management in BKN Ramsar site. ปริมาณและลักษณะเฉพาะของขยะชุมชนเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการจัดการขยะชุมชนที่เหมาะสม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังมีการศึกษาน้อยมากและไม่ได้มีการนำมาใช้ใน สปป. ลาว มากนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อปฏิบัติตามนโยบายและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของรัฐบาล สปป. ลาว ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากความทุกข์ยาก พร้อมกับการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยเฉพาะการลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องการแก้ปัญหาทางด้านขยะชุมชน หนึ่งในพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาแบบยั่งยืนนั้น คือ บึงเขียดโง้งแรมซาร์ อำเภอประทุมพอน จังหวัดจำปาสัก สปป. ลาว ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ ทั้งในด้านที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด และเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของ สปป. ลาว เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยเฉพาะทางด้านการจัดการขยะชุมชน ซึ่งงานวิจัยนี้มี 2 วัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อหาปริมาณและลักษณะของขยะชุมชนที่เกิดขึ้นในพื้นที่บึงเขียดโง้งแรมซาร์ สปป. ลาว และ 2. เสนอแนะกลยุทธ์การจัดการขยะชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งงานวิจัยได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การลงสำรวจพื้นที่และเก็บตัวอย่างเพื่อหาปริมาณขยะชุมชน องค์ประกอบ ประเภทของขยะชุมชน และความหนาแน่นของขยะชุมชน ส่วนที่ 2 สำรวจความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถามชาวบ้านในพื้นที่และพนักงานจากแผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดจำปาสัก สปป. ลาว ที่รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและดำเนินงาน และส่วนที่ 3 การศึกษาการเพิ่มมูลค่าจากขยะในระดับห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาส่วนที่ 1 จากการสำรวจพื้นที่ทั้ง 2 หมู่บ้านที่เป็นตัวแทนของพื้นที่บึงเขียดโง้งแรมซาร์ พบว่าหมู่บ้านพระโพและหมู่บ้านเขียดโง้งมีการสร้างขยะชุมชนเฉลี่ย 3.6 ก.ก./วัน และ 2.6 ก.ก./วัน ตามลำดับ ประเภทขยะที่พบมากที่สุด คือ ขยะอินทรีย์ 36.4% และบรรจุภัณฑ์ 28.6% ตามลำดับ นอกจากนี้ทั้ง 2 หมู่บ้านมีการทิ้งขยะแบบเทกอง เผาที่โล่งแจ้ง และหลุมฝังกลบขยะไม่ได้มาตรฐาน และพบว่ามีขยะจากเปลือกหอยเชอรี่มากที่สุดถึง 90% ของขยะทั้งหมดที่ถูกทิ้งอยู่ตามพื้นที่สาธารณะ ผลการศึกษาส่วนที่ 2 จากแบบสอบถามสามารถสรุปได้ว่า ทั้ง 2 หมู่บ้านขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะตามหลัก 3Rs เมื่อเปรียบเทียบส่วนทัศนคติและพฤติกรรมการจัดการขยะชุมชนระหว่างหมู่บ้านพระโพและหมู่บ้านเขียดโง้ง พบว่าหมู่บ้านพระโพมีทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีกว่าเกี่ยวกับการจัดการขยะด้วยการคัดแยกขยะตามหลัก 3Rs และนอกจากนี้ผลจากแบบสอบถามจากส่วนพนักงานแผนกทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จังหวัดจำปาสัก สปป. ลาว ที่รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและดำเนินงาน พบว่ามีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะตามหลัก 3Rs และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการจัดการขยะแต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการนำขยะมาเปลี่ยนเป็นพลังงานและการเพิ่มมูลค่าขยะ ผลการศึกษาส่วนที่ 3 การศึกษาการเพิ่มมูลค่าจากขยะในระดับห้องปฏิบัติการ เนื่องจากผลของการลงสำรวจพื้นที่บึงเขียดโง้งแรมซาร์ไช พบว่ามีขยะจากเปลือกหอยเชอรี่มากที่สุดถึง 90% ของขยะทั้งหมดที่ถูกทิ้งอยู่ตามพื้นที่สาธารณะ เปลือกหอยเหล่านี้มีส่วนประกอบแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึ่งสามารถนำมา สร้างมูลค่าเพิ่มได้ จึงได้มีการทดลองเผาเปลือกหอย เพื่อเปรียบเทียบระหว่างอุณหภูมิที่เผา 400°C 500°C และ 600°C และการเตรียมเปลือกหอยก่อนนำไปเผา โดยแบ่งเป็นการทุบเปลือกหอย (Treatment A) ไม่ได้ทุบเปลือกหอย (Treatment B) และเปลือกหอยบดแต่ไม่ได้ทำการเผา (Control) จากนั้นทำการหาปริมาณ CaCO3 ด้วยวิธี EDTA และ AAS พบว่าเปลือกหอยที่ไม่ได้ทุบก่อนเผาที่อุณหภูมิ 400°C ให้ปริมาณ CaCO3 มากที่สุดและแตกต่างจากชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ANOVA; P=0.006) โดยมีค่าสูงสุดเมื่อใช้การวัดด้วยวิธี EDTA 624.00 เท่ากับ mg/L as CaCO3 และ AAS เท่ากับ 64.65 mg/L as CaCO3 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการ เพิ่มมูลค่าจากเปลือกหอยเชอรี่ให้กลายเป็น CaCO3 สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม และการเกษตรเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ขยะชุมชน นอกจากนี้ควรมีการเพิ่มความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะชุมชน โดยเฉพาะด้านการคัดแยกขยะตามประเภทของขยะ และหลัก 3Rs รวมไปถึง การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ขยะชุมชน การฝึกอบรม เรื่องการเปลี่ยนของเสียให้เป็นพลังงาน การทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ ให้แก่ชุมชนในพื้นที่บึงเขียดโง้งแรมซาร์ไช สปป. ลาว เพื่อการจัดการขยะชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่ดังกล่าว |
Description: | Master of Science (Master of Science (Environmental Technology)) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม)) |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/753 |
Appears in Collections: | Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6204301004.pdf | 3.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.