Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/749
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPassakorn Suntornkasemsuken
dc.contributorภาสกร สุนทรเกษมสุขth
dc.contributor.advisorWitchaphart Sungpaleeen
dc.contributor.advisorวิชญ์ภาส สังพาลีth
dc.contributor.otherMaejo University. Agricultural Productionen
dc.date.accessioned2021-09-08T06:04:38Z-
dc.date.available2021-09-08T06:04:38Z-
dc.date.issued2021-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/749-
dc.descriptionMaster of Science (Geosocial Based Sustainable Development)en
dc.descriptionวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน))th
dc.description.abstractEvaluation of variability of size and weight of potato seed tuber (G0), as well as yield of G1 seed potato derived from these G0 tubers of Solanum tuberosum cv. Chiang Mai 2 as affected by environmental condition under which the G0 tuber were produced was conducted in 2 experiments.  To determine the variability of size and weight of G0 seed tuber, G0 seed tubers were produced in the greenhouses located in 2 different sites under Chiang Mai Royal Agricultural Research Center located in Mae Hia, Hang dong District and in Khun Wang, Mae Wang District, Chiang Mai province during November and February.  After 120 days G0 seed potatoes were harvested and sorted into different grades based on the Department of Agriculture criteria.  300 tubers per grade were sampling in 4 replications. Data on tuber size dimensions and weight of each of the selected seed tubers were recoded and weather conditions were also recorded throughout the growing season. Variation of different tuber dimensions and weights as well as the relationship between weight and different tuber dimensions were analyzed using correlation analysis together with power function regression and using simple regression model to analyze roundness of the G0 potato shape.  To study the quality of the basic seed tubers (G1) derived from the G0 seed tubers, G0 seed tubers from the previous study were planted in 8 different locations, which included 2 locations in Sansai District, 2 locations in Mae Ai District of Chiang Mai Province, 2 locations in Chiang Khum District in Payao Province, 1 location in Pop Pra District in Tak Province, and 1 location in Muang District in Sakon Nakhorn Province.  Following the Department of agriculture guideline for agronomic practice, the potato in each location was grown during November and February and were harvested 120 days after planting. G1 seed tubers were randomly collected from 10 plants for each location and sorted by grades and then measured for size dimensions and weight.  Non-parametric analysis of variance was used to compare differences of yield, tuber weight, and size distribution among G1 seed tubers.  Analyzed data indicated that average tuber width, length, thickness, weight and diameter of G0 seed tuber produced in the two sites were similar. Analysis of variance found that there were differences among length, thickness, and diameter, while there was no difference among width and weight of G0 seed potatoes.  Analysis of relationship among different size dimensions of seed tubers suggested that G0 seed tubers produced in Mae Hia were more globular than those produced in Khun Wang.  Moreover, seed tubers produced in Khun Wang were less globular as size increased.  For the production of G1 seed potatoes, it was found that G0 seed potatoes produced in Mae Hia yielded G1 tuber at 69-87 tubers for the 10 plants from which the tubers were collected at the level of confidence of 95% when grown at Sansai1, Sansai2, Pra yao1 and Pra yao2.  On the other hand, G0 seed potatoes produced in Khun Wang yielded G1 tuber at 88-129 tubers for the 10 plants from which the tubers were collected when grown at Mae Ai1, Mae Ai2, Sakhon Nakon or Tak.  When compared the ratios of tuber number among large tubers (grade 3 and up), it was found that there was no difference between those that derived from G0 tubers from Mae Hia and Khun Wang at P=0.05.  When considered tuber weight distribution within grade of G1 tubers, it was found that there were differences of weight distributions of large potato tubers (grade 3 and up or weigh more than 40 g) among tubers that derived from G0 tubers from Mae Hia and Khun Wang at P=0.015.en
dc.description.abstractการศึกษาความผันแปรของขนาดและน้ำหนักหัวพันธุ์หลัก และผลผลิตหัวพันธุ์ขยายของมันฝรั่งพันธุ์เชียงใหม่ 2 ในสภาพพื้นที่ปลูกแตกต่างกัน โดยการศึกษาความผันแปรของขนาดและน้ำหนักหัวพันธุ์หลัก (G0) สายพันธุ์เชียงใหม่ 2 ดำเนินการปลูกภายใต้สภาพโรงเรือนและสภาพอากาศต่างกัน ในพื้นที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ สถานีแม่เหียะ อำเภอหางดง และสถานีขุนวาง อำเภอแม่วางจังหวัดเชียงใหม่ ทำการปลูกทดสอบระหว่างเดือน พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ เป็นระยะเวลา 120 วัน ทำการเก็บผลผลิต แบ่งเกรดของหัวพันธุ์มันฝรั่งตามหลักเกณฑ์ของกรมวิชาการเกษตร สุ่มเก็บตัวอย่างหัวพันธุ์หลัก (G0) จำนวน 300 หัวต่อเกรด ๆ (เกรด 1-4)ละ 4 ซ้ำ วัดขนาดในทุกมิติและชั่งน้ำหนักหัวพันธุ์มันฝรั่งทุกหัว บันทึกข้อมูลสภาพอากาศรายวันตลอดฤดูปลูก ทดสอบความแปรปรวนของขนาดความกว้าง ความหนา ความยาว และ น้ำหนักของหัวพันธุ์มันฝรั่งของทั้งสองพื้นที่ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักกับ มิติด้านขนาด ได้แก่ ความกว้าง ความยาว ความหนา และ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวมันฝรั่ง โดยใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ร่วมกับการวิเคราะห์แนวโน้มโดยใช้สมการรูปยกกำลัง และศึกษาลักษณะของรูปร่างหัวมันฝรั่ง โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย สำหรับการศึกษาคุณภาพผลผลิตของมันฝรั่งหัวพันธุ์ขยาย (Basic seed : G1) ดำเนินการโดยนำหัวพันธุ์หลัก (G0) ที่ผลิตได้จากการศึกษาข้างต้น มาทำการปลูกในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 แปลง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 แปลง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จำนวน 2 แปลง อำเภอพบพระ จังหวัดตาก จำนวน 1 แปลง และ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 1 แปลง รวม 8 แปลง ๆ ละ 1 ไร่ โดยปลูกตามรูปแบบและขั้นตอนของกรมวิชาการเกษตร ระหว่างเดือน พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ เป็นระยะเวลา 120 วัน ทำการเก็บผลผลิต สุ่มเก็บตัวอย่างมันฝรั่งหัวพันธุ์ขยาย (G1) แปลงละ 10 หลุม (ต้น) แบ่งแกรดตามขนาด วัดขนาดในทุกมิติและชั่งน้ำหนักหัวพันธุ์ขยาย ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยใช้สถิติแบบไม่อิงพารามิเตอร์ และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของจำนวนผลผลิตและน้ำหนักหัวพันธุ์ขยายแยกแต่ละพื้นที่และชั้นขนาดของหัว (เกรด) ผลการศึกษาพบว่า ความกว้าง ความยาว ความหนา น้ำหนัก และเส้นผ่านศูนย์กลางหัวพันธุ์ G0 ที่ผลิตในพื้นที่ขุนวางและแม่เหียะมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวน พบว่ามีค่าเฉลี่ยของความยาว ความหนา และเส้นผ่านศูนย์กลางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยความกว้าง และน้ำหนักไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจากการหาความสัมพันธ์ของขนาดในมิติต่าง ๆ พบว่า หัวพันธุ์ G0 ที่ผลิตในพื้นที่แม่เหียะมีรูปทรงที่คล้ายทรงกลมมากกว่าหัวพันธุ์ที่ผลิตในพื้นที่ขุนวาง สำหรับหัวพันธุ์ที่ผลิตในพื้นที่ขุนวางมีความกลมน้อยลงเมื่อมีขนาดหัวที่ใหญ่ขึ้น สำหรับผลการศึกษาผลผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง G1 ในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน พบว่า ผลผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง G1 ที่ใช้หัวพันธุ์มันฝรั่งหลัก G0 จากแหล่งผลิตแม่เหียะปลูกทดสอบในพื้นที่สันทราย1 สันทราย2 พะเยา1 และพะเยา2 มีจำนวนหัวเฉลี่ย 69 – 85 หัวต่อ 10 หลุม ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ในขณะที่ผลผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง G1 ที่ใช้หัวพันธุ์มันฝรั่งหลัก G0 จากแหล่งผลิตขุนวางปลูกทดสอบในพื้นที่แม่อาย1 แม่อาย2 สกลนคร และตาก มีจำนวนหัวเฉลี่ย 88 – 129 หัวต่อ 10 หลุม ผลการทดสอบค่าสัดส่วนของความแตกต่างของจำนวนหัวมันฝรั่งขนาดใหญ่ (ขนาดตั้งแต่เกรด 3 ขึ้นไป) ที่ปลูกโดยใช้หัวพันธุ์มันฝรั่งหลัก G0 จากแหล่งผลิตแม่เหียะ และขุนวาง พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในส่วนของน้ำหนักหัวพันธุ์มันฝรั่ง G1 จากการทดสอบการกระจายตัวของชั้นขนาดน้ำหนักของหัวพันธุ์มันฝรั่ง G1 พบว่ามีความถี่ของการกระจายตัวของน้ำหนักหัวมันฝรั่งขนาดใหญ่ (ขนาดตั้งแต่เกรด 3 ขึ้นไป หรือ น้ำหนักมากกว่าหรือเท่ากับ 40 กรัม) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.015 ระหว่างแหล่งผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งหลัก G0 จากแม่เหียะ และ จากขุนวางth
dc.language.isoth-
dc.publisherMaejo University-
dc.rightsMaejo University-
dc.subjectมันฝรั่งth
dc.subjectความผันแปรของหัวพันธุ์th
dc.subjectหัวมันฝรั่งหลัก G0th
dc.subjectหัวมันฝรั่งขยาย G1th
dc.subjectขนาดหัวth
dc.subjectสภาพอากาศth
dc.subjectpotatoen
dc.subjecttuber size variabilityen
dc.subjectseed potato G0en
dc.subjectbasic seed potato G1en
dc.subjecttuber sizesen
dc.subjectweather conditionen
dc.subject.classificationMultidisciplinaryen
dc.titleASSESSMENT OF VARIATION IN SIZE AND WEIGHT OF PRE-BASIC SEED TUBER AND BASIC SEED TUBER YIELDOF SOLANUM TUBEROSUM CV. CHIANG MAI 2 CULTIVATED IN DIFFERENT LOCATIONSen
dc.titleการศึกษาความผันแปรของขนาดและน้ำหนักหัวพันธุ์หลักและผลผลิตหัวพันธุ์ขยายของมันฝรั่งพันธุ์เชียงใหม่ 2ในสภาพพื้นที่ปลูกแตกต่างกันth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5901417018.pdf3.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.