Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/745
Title: | การจัดการปลูกเงาะของเกษตรกรบ้านห้วยเม็ง หมู่6 ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย = Rambutan planting management of farmer in Ban huay meng moo 6, Wiang sub-district, Chiang Khong District, Chiang Rai province |
Other Titles: | Rambutan planting management of farmer in Ban huay meng moo 6, Wiang sub-district, Chiang Khong District, Chiang Rai province |
Authors: | ไพบูลย์ กิติรัตน์ Paiboon Kitirat |
Keywords: | เกษตรกรรม การจัดการ เงาะ การบริหาร |
Issue Date: | 2016 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Abstract: | การศึกษาเรื่องการจัดการการปลูกเงาะ ของบ้านห้วยเม็งหมู่ที่ 6 ต.เวียง อ.เชียงของ จ. เชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภูมิสังคมและศักยภาพการปลูกเงาะของเกษตรกรบ้านห้วย เม็ง 2) เพื่อศึกษาปัญหาและเหตุปัจจัยของการปลูกเงาะของเกษตรกรบ้านห้วยเม็ง 3) เพื่อค้นหาแนว ทางการจัดการการปลูกเงาะของเกษตรกรบ้านห้วยเม็ง โดยใช้เครื่องมือการจัดเวทีชุมชน แบบสอบถาม และตัวผู้วิจัยเป็นผู้สังเกตการณ์และจดบันทึก นําข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิมาเรียบ เรียงวิเคราะห์แปลผล ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรผู้ปลูกเงาะบ้านห้วยเม็งจํานวน 31 ราย จากการศึกษาพบว่าพื้นที่บ้านห้วยเม็งนั้นเป็นพื้นที่ราบสลับกับพื้นที่เชิงเขา พื้นที่ปลูกเงาะ ของบ้านห้วยเม็งนั้นจึงมีอยู่ด้วยกัน 2 สภาพพื้นที่ คือพื้นที่ราบ และพื้นที่เชิงเขา เกษตรกรมีการปลูก เงาะโรงเรียนมาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี โดยเริ่มจากการทดลองปลูก และเมื่อพบว่าเงาะสามารถให้ ผลผลิตได้ดีแล้วจึงขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น การปลูกเงาะในพื้นที่ปลูกแบบผสมผสานกันกับไม้ผลอื่น ๆ เช่น มังคุด ลองกอง ทุเรียน และมะไฟ เป็นต้น การจัดการด้านใส่ปุ๋ยนั้น ประกอบไปด้วยการใส่ ปุ๋ยเคมีเป็นหลักและมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพียงส่วนน้อย ซึ่งเงาะในพื้นที่ให้ผลผลิต เฉลี่ย อยู่ที่ 1,788 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถเก็บผลผลิตได้ในช่วงเดือน มิถุนายนถึงเดือนกันยายน มีการ จําหน่ายผลผลิตเงาะในพื้นที่ สปป.ลาว โดยการรับซื้อจากแม่ค้าคนกลาง แนวทางการจัดการการปลูกเงาะของเกษตรกรเพื่อให้เกิดความยั่งยืน คือ 1)การจัดการดินให้ มีความอุดมสมบูรณ์ งดการใช้สารเคมีกําจัดวัชพืช 2)การจัดการเรื่องน้ําในสวนเงาะ ใช้วิธีการให้น้ําใน ระบบสปริงเกอร์ อาทิตละ 1 ครั้ง อย่างสม่ําเสมอ 3)การจัดการเงาะหลังการเก็บเกี่ยว มีการตัดกิ่ง แห้ง กิ่งที่มีโรคและแมลงออกจากสวน |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/745 |
Appears in Collections: | Engineering and Agro - Industry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Paiboon.pdf | 18.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.