Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/70
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorInta Chanthavongen
dc.contributorInta Chanthavongth
dc.contributor.advisorPhutthisun Kruekumen
dc.contributor.advisorพุฒิสรรค์ เครือคำth
dc.contributor.otherMaejo University. Agricultural Productionen
dc.date.accessioned2020-01-17T03:22:28Z-
dc.date.available2020-01-17T03:22:28Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/70-
dc.descriptionMaster of Science (Master of Science (Resources Development and Agricultural Extension))en
dc.descriptionวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร))th
dc.description.abstractAgricultural technologies are seen as an important route out of poverty for the farmers in most of developing countries. However, the rate of adoption of these technologies of the farmers has remained low in most of these countries. Thus, the objectives of the study were to investigate: 1) farmers’ backgrounds on social and economic characteristics; 2) farmers adoption of rice production technology under good agricultural practices system; 3) factors affecting to farmers adoption of rice production technology under good agricultural practices system; and 4) problems and suggestions about rice production under good agricultural practices system. The questionnaire was created to collect data from a sample group of 267 farmers. The collected data were analyzed by using frequency, percentage, mean, arithmetic mean, minimum, maximum, standard deviation and multiple regression. The study results showed that majority of the farmers (64 percent) were male with an average age of 51.45 years and married.  More than one-half finished primary school and below. The farmers had 7 family members, 3 household workforce, 3.88 rai of agricultural area, 31.83 years of farming experience and an annual family income for 41,396 baht on average. They were members of 4 agricultural groups in their community and they contacted agricultural extension staff once a year on average. The farmers participated in agricultural training/educational trips once a year on average. They perceived agricultural information from the media through 4 channels. perceive information on farming  10 times per year and they contacted neighbors about agricultural production once a year. The farmers had a low level of knowledge and understanding about rice production under good agricultural practices system. However, the farmers’ adopted the technology at a low level . The following were found at a moderate level: farmer health care, seed utilization, water sources; and storage and transportation. The factors effecting farmer’s adoption on rice production technology included: educational attainment, agricultural entension staff contact, channel for perceived agricultural information, numbers of information perceived, and knowledge and understanding about rice production under good agricultural practices (sig <.05). The problems on rice production under good agricultural practices included the farmers lack of knowlegde and understanding of rice production under good agricultural practices standard, rice yields price are constantly changing, low yield per rai; and lack of funding sources for rice production. Based on results of the study the farmers suggested that concerned government agencies should promote and develop rice production by continuously support new agricultural knowledge and modern technology of rice production, development of water source for rice production; relevant agencies and farmers should be prepared to provent natural disasters, provide advice on how to prevent diseases and insect pests properly; and promotion of agricultural group forming for rice yield selling. In addition, the government should provide sources of funds with low a interest rate to be used as capital for rice production of farmers.en
dc.description.abstractเทคโนโลยีการเกษตรถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดความยากจนให้แก่เกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตามอัตราการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกรในบันดาประเทศเหล่านั้นยังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และปัจจัยเสริมของเกษตรกร 2) ระดับการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวภายใต้ระบบเกษตรดีที่เหมาะสม 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวภายใต้ระบบเกษตรดีที่เหมาะสม และ 4) ปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปลูกข้าวภายใต้ระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในอำเภอจำพอน จังหวัดสะหวันนะเขต สปป. ลาว เก็บรวบรวข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 267 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโดยสถิติถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 64 ของเกษตรกรเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.45 ปี ส่วนมากมีสถานภาพสมรสแล้ว เกษตรกรมากกว่าครึ่งมีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 7 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 3.88 ไร่ มีประสบการณ์ในการทำเกษตรกรรมเฉลี่ย 31.83 ปี มีรายได้รวมในครัวเรือนเฉลี่ย 41,396 บาทต่อปี เกษตรกรเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรในชุมชนเฉลี่ย 4 กลุ่ม ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทางการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี เข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ เฉลี่ยผ่าน 4 ช่องทาง จำนวนครั้งที่ได้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมเฉลี่ย 10 ครั้งต่อปี และด้านการติดต่อกับเพื่อนบ้านเกี่ยวกับการเกษตร เฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกข้าวภายใต้ระบบเกษตรดีที่เหมาะสมอยู่ในระดับน้อย โดยรวมเกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวภายใต้ระบบเกษตรดีที่เหมาะสมอยู่ในระดับน้อย  ซึ่งเกษตรกรยอมรับในระดับปานกลางมีเพียง 4 ด้าน ได้แก่ การใช้เมล็ดพันธุ์ แหล่งน้ำในการผลิต การเก็บรักษาและการขนส่งผลผลิต และ ด้านสุขภาพของแรงงาน ยอมรับเทคโนโลยีในระดับน้อย มี 7 ด้าน คือ ด้านการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เก็บเกี่ยว ด้านการใช้และการเก็บรักษาสารเคมี ด้านปุ๋ยและธาตุอาหารบำรุงดิน ด้านประวัติและการจัดการพื้นที่การผลิต ด้านการพิสูจน์หลักฐานและการเรียกคืน ด้านการทบทวนคืนเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน และด้านการฝึกอบรม ส่วนการยอมรับในระดับน้อยมากมีเพียงด้านเดียวนั้นก็คือ ด้านการบันทึกข้อมูล ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวภายใต้ระบบเกษตรดีที่เหมาะสม มี 5 ปัจจัย ได้แก่ ระดับการศึกษา จำนวนครั้งของการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตร และปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกข้าวภายใต้ระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (sig <.05) ด้านปัญหาของการปลูกข้าวภายใต้ระบบเกษตรดีที่เหมาะสม พบว่า เกษตรกรพบปัญหาการผลิตข้าวในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมมากที่สุดก็คือ ขาดความรู้ความเข้าใจในการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม ราคาผลผลิตข้าวไม่คงที่ ปริมาณผลผลิตต่อไร่ต่ำ ขาดแหล่งเงินทุนในการผลิต ดั่งนั้นเกษตรกรจึ่งมีข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้ ต้องการให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีการลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้หรือวิทยาการสมัยใหม่ในการทำการเกษตรให้แก่เกษตรกร เช่น การปฏิบัติตามมาตรฐานระบบเกษตรดีที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามมารฐาน การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต และการตลาด เพื่อทำให้เกษตรกรเกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมมากขึ้น นอกนี้รัฐบาลควรจัดหาแหล่งเงินทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อนํามาใช้เป็นเงินทุนในการผลิตข้าวของเกษตรกรth
dc.language.isoth-
dc.publisherMaejo University-
dc.rightsMaejo University-
dc.subjectการยอมรับth
dc.subjectเทคโนโลยีการปลูกข้าวth
dc.subjectเกษตรดีที่เหมาะสมth
dc.subjectจังหวัดสะหวันนะเขตth
dc.subjectสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวth
dc.subjectadoptionen
dc.subjectrice production technologyen
dc.subjectgood agricultural practicesen
dc.subjectSavannakhet provinceen
dc.subjectLao People's Democratic Republicen
dc.subject.classificationAgricultural and Biological Sciencesen
dc.titleADOPTION OF RICE PRODUCTION TECHNOLOGY UNDER GOOD AGRICULTURAL PRACTICES SYSTEM BY PADDY RICE FARMERS IN CHAMPHONE DISTRICT, SAVANNAKHET PROVINCE, LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLICen
dc.titleการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวภายใต้ระบบเกษตรดีที่เหมาะสม ของเกษตรกรอำเภอจำพอน จังหวัดสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6001332007.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.