Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/52
Title: | DEVELOPMENT OF CUCUMBER INBRED LINES FOR SEX EXPRESSION OF HERMAPHRODITIC การพัฒนาสายพันธุ์แท้ของแตงกวาที่มีการแสดงเพศดอกแบบดอกกระเทย |
Authors: | Jittinut Nongnuch จิตตินัฏฐ์ นงนุช Suthep Watcharawetsaringkharn สุเทพ วัชรเวชศฤงคาร Maejo University. Agricultural Production |
Keywords: | แตงกวา ดอกกระเทย ความดีเด่น สมรรถนะการผสม การสร้างลูกผสมชั่วที่ 1 การทดสอบผลผลิต Cucumber Hermaphrodite Heterosis Combining Ability F1-hybrid Yield trial |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | The experiment for the development of inbred lines with hermaphrodite flowers was divided into 4 parts, namely, cucumber strain extraction showing the sixth form of hermaphrodite flower for use as male parents in the production of cucumber hybrid, cucumber hybrid heterosis, cucumber hybrid yield test, and male parental combining abilities. The study results indicated that 23 inbred lines with the sixth form of hermaphrodite flower had good characteristics. By use of North Carolina design II 69 F1 hybrids were derived from pairing the 23 inbred lines with 2 gynoecious sex and 1 monoecious sex. The superiority of cucumber hybrids based on yield test showed that 3 cucumber hybrid crosses gy.0650103-1/H4-48-15-12, gy.0650103-1/H10-19-35-3 and gy.0650103-1/H10-20-25-6 could express heterobeltiosis both in yield test and other characteristics i.e. Fruit width, fruit length, fruit weight, number of fruits per plant, fruit weight per tree, and fruit weight per rai. It was found that the three hybrid crosses could give fruit weight yield per rai at 9,166, 7,796, and 7,752 kg., respectively, and these were not significantly different from those of commercial hybrid varieties such as Micro-C, Northern-C 327, and Chinjung which gave average yields of 8,730, 6,374, and 7,518 kg per rai, respectively. In addition, both general and specific combining abilities among the female parents with the sixth form of hermaphrodite flowers were significantly different based on studied characteristics. In term of fruit weight yield per rai, the tree cucumber hybrid lines H1-2-31-24, H9-20-22-35, and H3-17-16-15 had good combining abilities and gave evaluated values different from zero at -1015.27, -989.92, and -985.34, respectively. การพัฒนาสายพันธุ์แท้ของแตงกวาที่มีการแสดงเพศดอกแบบดอกกระเทย แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ การสกัดสายพันธุ์แตงกวาที่มีการแสดงเพศดอกแบบดอกกระเทยชั่วที่ 6 สำหรับใช้เป็นสายพันธุ์พ่อในการผลิตแตงกวาลูกผสม การศึกษาความดีเด่นของแตงกวาลูกผสม การทดสอบผลผลิตของแตงกวาลูกผสมจากการใช้สายพันธุ์แตงกวาที่มีการแสดงเพศดอกแบบดอกกระเทยเป็นสายพันธุ์พ่อ และการศึกษาสมรรถนะการผสม ผลการศึกษาพบว่า การสกัดสายพันธุ์แตงกวาที่มีการแสดงเพศดอกแบบดอกกระเทยได้สายพันธุ์แท้ที่ให้ลักษณะที่ดีทางการเกษตรจำนวน 23 สายพันธุ์ และนำสายพันธุ์แท้ที่มีการแสดงเพสดอกแบบกระเทยมาสร้างพันธุ์แตงกวาลูกผสมชั่วที่ 1 พบว่าการสร้างคู่ผสม F1 โดยจับคู่ผสมแบบพบกันหมดระหว่างแตงกวาที่มีการแสดงเพศแบบ Gynoecious 2 พันธุ์ และ Monoecious 1 พันธุ์ สามารถสร้างลูกผสม F1 ได้ 69 คู่ผสม สำหรับการศึกษาความดีเด่นของแตงกวาลูกผสมและการทดสอบผลผลิต พบว่า มีพันธุ์แตงกวาลูกผสม 3 คู่ผสม คือ gy.0650103-1/H4-48-15-12 gy.0650103-1/H10-19-35-3 และ gy.0650103-1/H10-20-25-6 แสดงความดีเด่นเหนือค่าเฉลี่ยของพ่อแม่ที่สูงและทั้ง 3 คู่ผสม ยังแสดงค่าความดีเด่นเหนือพ่อหรือแม่ที่ดีกว่า ซึ่งให้ค่าสูงในทางบวกเกือบทุกลักษณะที่ทำการศึกษา คือ ความกว้างผล ความยาวผล น้ำหนักต่อผล จำนวนผลต่อต้น น้ำหนักต่อต้น และผลผลิตต่อไร่ เมื่อทดสอบผลผลิตยังพบว่าลูกผสมที่ได้มีลักษณะที่ต่างจากพันธุ์แม่และพ่อบางลักษณะ เช่น น้ำหนักผลผลิตต่อไร่สูงเท่ากับ 9,166 7,796 และ 7,752 กก./ไร่ ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์การค้า คือ แตงกวาลูกผสมพันธุ์ไมโครซี นอร์ทเทรินซี 327 และชินจัง ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 8,730 6,374 และ 7,518 กก./ไร่ ตามลำดับ การศึกษาสมรรถนะการรวมตัวจากการนำแตงกวาสายพันธุ์ดอกกระเทยมาใช้เป็นสายพันธุ์พ่อในการผลิตแตงกวาลูกผสม พบว่า ลักษณะที่ศึกษามีสมรรถนะการรวมตัวทั่วไปและสมรรถนะการรวมตัวเฉพาะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในทุกลักษณะที่ศึกษา ซึ่งความแตกต่างของสายพันธุ์ในสมรรถนะการรวมตัวของลักษณะผลผลิตต่อไร่ พบว่าสายพันธุ์ H1-2-31-24 H9-20-22-35 และ H3-17-16-15 มีค่าสมรรถนะการรวมตัวสูง และให้คำประเมินของสมรรถนะการผสมแตกต่างจาก 0 เท่ากับ -1,015.27 -989.92 และ -985.34 ตามลําดับ |
Description: | Master of Science (Master of Science (Horticulture)) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชสวน)) |
URI: | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/52 |
Appears in Collections: | Agricultural Production |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5901302001.pdf | 9.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.