Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/472
Title: TREE SPECIES REGNERATION IN FOREST RESTORATION AREA BY ECONOMIC TREE  AT NAN WATERSHED,  NAN PROVINCE 
การเจริญทดแทนของไม้ต้นในแปลงปลูกป่าฟื้นฟูด้วยไม้เศรษฐกิจ บริเวณต้นน้ำน่าน จังหวัดน่าน
Authors: Anusorn Sasunti
อนุสรณ์ สะสันติ
Lamthai Asanog
แหลมไทย อาษานอก
Maejo University. Maejo University - Phrae Campus
Keywords: การฟื้นฟูป่า
โครงสร้างสังคมพืช
ความหลากหลาย
ไม้พื้นถิ่น
Forest restoration
Vegetation structure
Diversity
Native species
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: This study investigated the relationship of edaphic factors and tree composition were regenerated in 40-year old of restoration area and natural mixed deciduous forest at Mae Sa Kron head watershed, Nan province. Five of 20 m x 20 m sampling plots were established in each sites; Pterocarpus macrocarpus (PMP), Tectona grandis (TGP), and Eucalyptus camaldulensis (ECP) plantation and mixed deciduous forest (MDF). The species composition of trees and soil were collected for analyze plant community and relationship with soil factores. The results showed 61 species 53 genera and 27 family all of 476 tree. PMP showed diversity index (H/= 3.30) and similarity index with MDF (63.64 %) higher than TGP and ECP. Suggestting that, P. macrocarpus had high ability for restoration, by induced native species establish in the area higher than T. grandis and E. camaldulensis. The dominant species of MDF influenced by organic matter and clay, TGP  affected by magnesium, but ECP persented at poor soil area. Suggesting that, soil properties affected tree species regeneration and selected species for restoration, and changes environmental factors for native species establishment. Therefore, the forest restoration policy should begin with the selection of tree species that are suitable for environmental factors in each area, and potential to help adjust environmental factors and establishment ability of each species.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยดินและองค์ประกอบชนิดไม้ต้นในพื้นที่แปลงปลูกป่าฟื้นฟูอายุ 40 ปีและป่าผสมผลัดใบตามธรรมชาติ บริเวณต้นน้ำแม่สาคร จังหวัดน่าน โดยการวางแปลงขนาด 20 เมตร x 20 เมตร จำนวน 5 แปลงในแต่ละพื้นที่ศึกษา ได้แก่ แปลงปลูกประดู่ แปลงปลูกสัก และ แปลงปลูกยูคาลิปตัส และป่าผสมผลัดใบ ทำการเก็บข้อมูลด้านองค์ประกอบของชนิดของไม้ต้นและปัจจัยดิน เพื่อวิเคราะห์หาค่าลักษณะทางสังคมพืชและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดินและสังคมพืช พบว่า มีจำนวนชนิดไม้ต้นทั้งหมด 61 ชนิด 53 สกุล 27 วงศ์ จากไม้ทั้งหมด 476 ต้น โดยแปลงปลูกประดู่มีค่าดัชนีความหลากหลาย (H/= 3.30) และดัชนีความคล้ายคลึงกับป่าผสมผลัดใบ (ร้อยละ 63.64) สูงกว่าแปลงปลูกสักและแปลงปลูกยูคาลิปตัส แสดงให้เห็นว่าการใช้ชนิดประดู่ป่าเพื่อการฟื้นฟูมีศักยภาพสูงในการช่วยให้เกิดการตั้งตัวของชนิดไม้พื้นถิ่นในป่าผสมผลัดใบได้ดีกว่าการใช้สักและยูคาลิปตัส อินทรียวัตถุและอนุภาคดินเหนียวมีอิทธิพลต่อการปรากฏของชนิดไม้ในป่าผสมผลัดใบ ส่วนธาตุแมกนีเซียมมีผลต่อการปรากฏของชนิดไม้ในแปลงสัก ขณะที่ชนิดไม้เด่นในแปลงปลูกยูคาลิปตัสพบในพื้นที่มีธาตุอาหารต่ำ แสดงให้เห็นว่าสมบัติดินมีผลต่อการเจริญทดแทนคัดเลือกชนิดพืชเพื่อการฟื้นฟูเพื่อช่วยในการปรับเปลี่ยนปัจจัยแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการตั้งตัวของพรรณไม้พื้นถิ่น ดังนั้นนโยบายการฟื้นฟูป่าจึงควรเริ่มจากการคัดเลือกชนิดพืชที่มีความเหมาะสมต่อปัจจัยแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ รวมถึงศักยภาพในการช่วยปรับเปลี่ยนปัจจัยแวดล้อมและการตั้งตัวของพืชแต่ละชนิด
Description: Master of Science (Master of Science (Forest Management))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการป่าไม้))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/472
Appears in Collections:Maejo University - Phrae Campus

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6208301022.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.