Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/47
Title: CONTINUITY OF COGNITIVE PROCESSES IN SOLVING COMMUNITY PROBLEMS A CASE STUDY IN NORTHERN COMMUNITY BASE RESEARCH
ความต่อเนื่องของกระบวนการทางปัญญาในการแก้ไขปัญหาของชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนวิจัยท้องถิ่นภาคเหนือ
Authors: Paniti Bunsa
ปณิธี บุญสา
Somkit Kaewtip
สมคิด แก้วทิพย์
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: ปัญญา
กระบวนการทางปัญญา
ความต่อเนื่องของกระบวนการทางปัญญา
การวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ชุมชนวิจัย
ความต่อเนื่อง
Intellect
intellectual process
continuity of the intellectual process
community-based research
research community
continuity
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this study were to: 1) explore the intellectual process on problem solving of the research community; 2) analyze factors making the continuity of the intellectual process on problem solving of the research community; and 3) synthesize the continuity form of the intellectual process on problem solving of the research community.  Locales of the study were in northern Thailand: Baan Samkha, Baan Pongkham, and monk unit/public sector in Na Muen district, Nan province.  The settling of locales of the study was on the basis of consistency based on characteristics of community-based research.  The three communities were awarded outstanding research project by The Thailand Research Fund.  Meanwhile, these communities had experience in problem solving before the operation of intellectual process.  Its success was topped up for problem solving and community development after the operation of community-based research.  For research methodology design, the researcher himself was the main instrument and in-depth interview and focus group discussion were conducted with community researchers in the three communities.  The continuity was analyzed and synthesized by preparing and assessment form on characteristics of the research community.  Also, an action venue was held to assess the continuity among the researcher and research teams of the three community.  This was particularly on characteristics at an individual level and research team in the three communities. Results of the study revealed that the main practice principle in the intellectual process was accomplishment.  It was an intellectual method used for the consideration and an analysis of the Four Noble Truths approaching leading to the threefold method of training in morality, concentration, and wisdom.  It was found that causes and factors of the existence of the intellectual process of the research community consisted of the following: 1) Baan Samkha community had experience in debt problem solving before using the community-based research continually (16 prototype households); 2) there was the debt restructure by the integration of the community funds (from about 40 to 23 funds); and 3) results of the community-based research were utilized such as the development of Chang watershed networks, learning base on the alleviation of debt problem, and collaboration with external agencies.  Meanwhile, Baan Pongkham community used the local wisdom on cotton yarn dyeing with the natural dyes as the initial capital for problem solving.  This was particularly on the inheritance to new generations which resulted in the continuity of the cotton yarn dyeing group and community fund management.  Likewise, the monk unit in Na Muen district had the continuity in the expense reduction of ritual ceremonies particularly on the cremation ceremony.  This was eventually developed to be an agreement at the district level. The occurred outcomes in the three communities were results of the construction of knowledge and the development of knowledge management process having important steps: consideration, sorting, analysis, demonstration, and knowledge data passing verification based on the intellectual process.  The supporting factors were physical geography and sociological traits of each community.  Importantly, the process of community suffering review must be on the basis of facts.  This would lead to the determination of causes of suffering as the research question. This must put the importance on community participation and support of external agencies responsible for research management.  Another important factor was research project trainer or the community-based research coordination center.  Causes of a problem and context of the community were the accomplishment method for the construction of process knowledge.  Meanwhile, the research process upgraded discovered knowledge to “intellect” comprising morality, concentration, and wisdom. The following were suggestions: continual enrichment of knowledge management potential and utilization; the researcher should form a group as network and establish a social institution of foundation for the application of research results; database system must be developed and utilized continually; concerned agencies such as Rural Resource Development program, Faculty of Agriculture Productions, Maejo University needs to adopt body of knowledge gained from the research for curricular program development; National Science Technology and Innovation Policy Office should review the management principle in accordance with new scientific concept and adjust it to be consistent with research management using as area as a basis; and the local research coordination center should adjust itself to be a social institute responsible for community-based research.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ หนึ่ง เพื่อศึกษากระบวนการทางปัญญาในแก้ไขปัญหาของชุมชนวิจัย สอง เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดความต่อเนื่องของกระบวนการทางปัญญาในการแก้ไขปัญหาของชุมชนวิจัย และ สาม เพื่อสังเคราะห์รูปแบบความต่อเนื่องของกระบวนการทางปัญญาในการแก้ไขปัญหาของชุมชนวิจัย โดยทำการศึกษาชุมชนวิจัยท้องถิ่นในภาคเหนือ คือ บ้านสามขา บ้านโป่งคำ และ องค์กรสงฆ์และภาคประชาชนอำเภอนาหมื่น การกำหนดพื้นที่กรณีศึกษาได้มองความสอดคล้องตามคุณลักษณะของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ซึ่งทั้งสามชุมชนได้รับโครงการวิจัยดีเด่นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ขณะเดียวก็เป็นชุมชนที่ผ่านประสบการณ์การแก้ปัญหามาก่อนที่ดำเนินกระบวนการทางปัญญา และมีผลความสำเร็จที่นำไปสู่การต่อยอดในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องหลังดำเนินการวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยผู้วิจัยได้ออกแบบระเบียบวิธีวิจัย คือตัวผู้วิจัยเป็นเครื่องมือหลักพร้อมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มนักวิจัยชุมชนทั้งสามชุมชนและจัดสนทนากลุ่มย่อยกับนักวิจัยชุมชน และทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความต่อเนื่อง โดยจัดทำแบบประเมินคุณลักษณะของชุมชนวิจัย และ จัดเวทีเชิงปฏิบัติการประเมินผลความต่อเนื่องร่วมกับนักวิจัยและทีมวิจัยทั้งสามชุมชน โดยเฉพาะคุณลักษณะทั้งในระดับบุคคลและกลุ่มทีมวิจัยภายในชุมชน ผลของการวิจัยพบว่า หลักปฏิบัติสำคัญในกระบวนการทางปัญญาคือมรรควิธี (โยนิโสมนสิการ) ในฐานะของวิธีการทางปัญญาในการพิจารณาและวิเคราะห์การเข้าถึงอริยสัจสี่และนำไปสู่ไตรสิกขาสามหรือบ่อเกิดสังคมแห่งปัญญา (ปัญญา-ศีล-สมาธิ) โดยมีวิธีคิดแบบอริยสัจจ์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการพิจารณาความต่อเนื่องของกระบวนการทางปัญญาของแต่ละชุมชน ณ ปัจจุบัน พบว่าเหตุและปัจจัยของการคงอยู่ของกระบวนการทางปัญญาของชุมชนวิจัย ประกอบด้วย ชุมชนบ้านสามขาได้ผ่านประสบการณ์และมีบทเรียนในการแก้ไขปัญหาหนี้สินก่อนนำมาสู่การใช้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีปัญหานำการวิจัยคือปัญหาหนี้สินได้ส่งผลให้สามารถแก้ปัญหาได้และมีความต่อเนื่องของรูปธรรมคือครัวเรือนต้นแบบจำนวน 16 ครัวเรือน และมีการปรับโครงสร้างหนี้โดยการบูรณาการกองทุนภายในชุมชนจาก 40 กว่ากองทุนเหลือ 23 ทุน และมีการใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยอย่างการพัฒนาเครือข่ายลุ่มน้ำจางภายในตำบล การจัดฐานการเรียนรู้การลดปัญหาหนี้สิน รวมไปถึงการทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก ในขณะที่ชุมชนบ้านโป่งคำมีปัญหานำการวิจัยโดยนำเอาเรื่องภูมิปัญญาผ้าทอย้อมสีธรรมขชาติเป็นทุนเริ่มต้นในการแก้ปัญหาโดยเฉพาะการสืบสอดกับคนรุ่นใหม่ส่งผลให้เกิดความต่อเนื่องทั้งการบริหารจัดการกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ ณ ปัจจุบันพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องผ้าทอย้อมสีธรรมชาติบ้านโป่งคำ และการบริหารจัดการกองทุนภายในชุมชน เช่นเดียวกับเครือข่ายองค์กรสงฆ์อำเภอนาหมื่น ที่มีความต่อเนื่องในการลดค่าใช้จ่ายในการปรับรูปแบบพิธีกรรมโดยเฉพาะงานอวมงคล(งานศพ) และพัฒนาเป็นข้อตกลงร่วมในระดับอำเภอ ผลที่เกิดขึ้นทั้งสามชุมชนเป็นผลมาจากการสร้างความรู้และพัฒนากระบวนการในการจัดการความรู้ ที่มีขั้นตอนสำคัญทั้งการพิจารณา แยกแยะ วิเคราะห์ พิสูจน์ ข้อมูลความรู้ ที่ผ่านจากการปฏิบัติจริงและพิสูจน์ซ้ำในกระบวนการทางปัญญาซึ่งปัจจัยในการสนับสนุนคือ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กายภาพและลักษณะทางสังคมวิทยาของแต่ละชุมชน กระบวนการทบทวนทุกข์ของชุมชนต้องเข้าถึงความจริง นำมาสู่การกำหนดเหตุทุกข์ ยกระดับเป็นโจทย์หรือคำถามการวิจัย ทั้งนี้ต้องให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมทั้งคนในชุมชนและหน่วยสนับสนุนจากภายนอกชุมชนที่ทำหน้าที่บริหารงานวิจัย ทำให้เห็นรูปธรรมทั้งผู้นำ กลุ่มองค์กร และแหล่งเรียนรู้ ภายในชุมชน ปัจจัยสำคัญคือพี่เลี้ยงโครงการวิจัยหรือศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น(NODE)ในการเสริมพลังอำนาจของชุมชนด้วยกระบวนการให้คุณค่าชุมชนผ่านการเชื่อมโยงระหว่างทุกข์(ปัญหา) เหตุของปัญหากับบริบท(ความจริง) ของชุมชน คือมรรควิธีของการกำหนดได้หมายรู้ในการสร้างความรู้เชิงกระบวนการรวมทั้งการออกแบบวิธีวิทยาของการตั้งโจทย์วิจัยร่วมกับชุมชนในฐานะผู้วิจัยหลัก หรือเจ้าของปัญหา และนำมาสู่การออกแบบการวิจัย เป็นการเปิดพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันในการออกแบบวิธีวิจัยของชุมชน”  ขณะเดียวกันกระบวนการวิจัยมีการนำใช้ความรู้ระหว่างทางที่ค้นพบ ยกระดับเป็น”ปัญญา”คือความรู้ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการแก้ปัญหามีองค์ประกบสำคัญคือ ระบบบริหารความรู้ชุมชน(ปัญญา) สังคมการเรียนรู้(สมาธิ) กติกาการอยู่ร่วมกัน (ศีล) ตามหลัก“ไตรสิกขาสาม” ส่วนข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ข้อเสนอแนะต่อชุมชนวิจัยทั้งสามชุมชน คือ การเสริมศักยภาพการจัดการความรู้และการใช้ประโยชน์จากความต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้นำหรือนักวิจัยควรมีการร่วมตัวกันเป็นเครือข่ายและจัดตั้งเป็นสถาบันทางสังคมในรูปแบบองค์กรหรือมูลนิธิในการขับเคลื่อนผลจากการวิจัย ขณะเดียวกันก็ต้องมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในการนำไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สาขาการพัฒนาทรัพยากรชนบท คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้จำเป็นต้องนำองค์ความรู้จากการวิจัยไปปรับใช้ในการพัฒนาหลักสูตรของสาขาวิชาฯ พร้อมทั้งการออกแบบการเรียนการสอนในการใช้พื้นที่ชุมชนที่ผ่านการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นพื้นที่การเรียนรู้ของนักศึกษาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น แม้ปัจจุบันจะมีการปรับโครงสร้างใหม่ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ควรนำหลักการบริหารในแนวคิดวิทยาศาสตร์ใหม่มาทบทวนให้สอดคล้องกับการบริหารงานวิจัยที่ใช้พื้นที่เป็นฐาน โดยการปรับโครงสร้างใหม่และตั้งฝ่ายวิจัยท้องถิ่นเป็นสำนักงานบริหารงานวิจัยนวัตรกรรมชุมชน ในขณะเดียวกัน ศูนย์ประสานงานวิจัยท้องถิ่น (NODE) ควรปรับสภาพตัวเองเป็นสถาบันทางสังคมที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนแนวคิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น และปรับจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นงานวิจัยของท้องถิ่นโดยสร้างเงื่อนไขให้มีการขับเคลื่อนผ่านกลไกและภาคีภายในท้องถิ่น
Description: Docter of Philosophy (Doctor of Philosophy Resources Development and Agricultural Extension))
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/47
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5801732001.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.