Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/462
Title: | RICE CULTIVATION PRACTICE ACCORDING TO ORGANIC AGRICULTURE STANDARDS OF FARMERS IN MUANG DISTRICT, CHIANG RAI PROVINCE การปฏิบัติในการปลูกข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย |
Authors: | Kanokkarn Wongsa กนกกานต์ วงค์ษา Phutthisun Kruekum พุฒิสรรค์ เครือคำ Maejo University. Agricultural Production |
Keywords: | การปฏิบัติ การปลูกข้าว มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ practice rice growing organic farming standards |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | This study was conducted to investigate : 1) socio-economic attributes of rice farmers in Pan district, Chiang Rai province ; 2) knowledge about under organic farming standards of the farmers 3) rice growing practice under organic farming standards of the farmers ; 4) factors effecting rice growing practice under organic farming standards of the farmers ; and 5) problems encountered and suggestions of the farmers A set of questionnaires was used for data collection administered with 174 farmers growing rice under organic farming standards. Obtained data were analyzed by under organic farming standards. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics i.e. percentage, mean and standard deviation and inferential statistics i.e. multiple regression analysis.
Results of the study revealed that most of the respondents were male, 57 years old on average, married, and elementary school graduates and below. They had 3 family members on average and 2 household labors working in the rice which covered an area of 10.43 rai pen family on average. The respondents earned an annual income from the agricultural sector for 49,435.63 baht but they had debts for 179,828.73 baht on average. They had rice growing experience for 28 years on average and joined one group members on average. The respondents used to attend a training or educational about organic rice growing once a year on average. They perceived data or information about organic rice growing through two channels on average. The respondents attended a meeting on agriculture twice a year on average. They had a high level of knowledge about organic farming. The respondents also had a high level of rice growing practice under organic farming standards. The following were factors having an effect an effect on the rice growing practice with a statistical significance level: rice growing labor, a number of agricultural meeting, and knowledge about rice growing practice under organic farming standards.
The following were problems encountered: 1) insects and pests such as aphid and rice borer; 2) epidemic in the rice field such as rice blast disease and bakanae disease; 3) high production costs; 4) soil deterioration; and 5) damages due to adverse climate. The following were suggestion: which should be done: 1) training on rice growing under organic farming standards; 2) insect and dissect and disease prevention/elimination in the rice field; 3) promotion of processing for yield value adding distribution channels. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร 3) เพื่อศึกษาการปฏิบัติการปลูกข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร 4) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการปลูกข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร และ 5) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการปลูกข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จำนวน 174 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์พหุถดถอย ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 57 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา หรือต่ำกว่า มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือน 2 คน มีพื้นที่ในการทำเกษตรกรรมเฉลี่ย 10.43 ไร่ มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 49,435.63 บาทต่อปี มีจำนวนหนี้สินของเกษตรกรเฉลี่ย 179,828.73 บาท เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 28 ปี มีการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเฉลี่ย 1 กลุ่ม มีการติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เกษตรกรมีประสบการณ์ในการฝึกอบรมและดูงานด้านการปลูกข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อเกี่ยวกับการปลูกข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 2 ช่องทาง เกษตรกรได้เข้าร่วมการประชุมด้านการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ในระดับมาก เกษตรกรมีระดับการปฏิบัติในการปลูกข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อยู่ในระดับมากโดยปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการปลูกข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มของชุมชน จำนวนครั้งในการเข้าร่วมประชุมด้านการเกษตร และความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร สำหรับปัญหาอุปสรรคในการปลูกข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่พบ ได้แก่ การเกิดแมลงสัตว์ศัตรูข้าว ได้แก่ เพลี้ย และหนอนกอข้าว การเกิดโรคระบาดในนาข้าว ได้แก่ โรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้ง และโรคถอดฝักดาบ มีต้นทุนการผลิตสูง ปัญหาดินเสื่อมโทรม และความเสียหายจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการปลูกข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในนาข้าว และการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต ควรหาแนวทางในการรับซื้อข้าวอินทรีย์ให้สูงขึ้นเพื่อในเหมาะสมกับข้าวที่ปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และความเพิ่มช่องทางการตลาดและการจำหน่ายผลผลิตให้หลากหลาย |
Description: | Master of Science (Master of Science (Resources Development and Agricultural Extension)) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร)) |
URI: | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/462 |
Appears in Collections: | Agricultural Production |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6201332002.pdf | 6.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.