Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/45
Title: ADOPTION OF MAIZE-LEGUME RELAY CROPPING SYSTEM GROWN WITHOUT BURNING OF FARMERS IN THE AREA OF HIGHTLAND DEVELOPMENT PROJECT USING MAESALONG ROYAL PROJECT SYSTEM, MAEFAHLUANG DISTRICT IN CHIANGRAI PROVINCE
การยอมรับระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีการไม่เผาเศษพืชและเหลื่อม ด้วยพืชตระกูลถั่วของเกษตรกรในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูง แบบโครงการหลวงแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
Authors: Pintip Daengfai
พิณทิพย์ แดงไฝ
Phahol Sakkatat
พหล ศักดิ์คะทัศน์
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: การยอมรับ
ระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีการไม่เผาเศษพืช
การปลูกพืชเหลื่อมฤดู
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลอง
adoption
maize-legume relay cropping system grown without burning
highland development project
Maesalong Royal Project
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: This study was conducted to investigate: 1) socio-economic attributes of ethnic groups in Maesalong Nok sub-district,Mae Fah Luang district, Chiangrai province; 2) knowledge about maize-legume relay cropping system grown without burning; 3) adoption of maize-legume relay cropping system grown without burning; 4) relationships between socio-economic attributes, knowledge, and the adoption; and 5) problems encountered in the adoption by farmers in the area of Highland Development Project, Maesalong Nok sub-district,Mae Fah Luang district, Chiangrai province. Random sampling was conducted with 313 farmers and interview schedule was used for data collection. Results of the study revealed that most of the informants were male, 40 years old on average, and illiterate thay held a land for 7.2 rai each on average and had a yearly income earned from agriculture for 84,357.83 baht on average. They had 3-4 household workforce. The informants attended a training on maize growing for at least once a year. They contacted other maize farmers once a year and extension workers once a year. However, they had never attended a meeting of farmers group. The informants recieved data information about agriculture for 12.98 times per year that of most though television. all of the informants were mostly Akha and they had knowledge at a moderate level (14.51 out of the score of 20 marks on average). Regarding the adoption, it was found at a moderate level in all 4 aspects (mean=2.95): cultivation plot preparation (mean=3.05), cultivation (mean=2.93), care-taking (mean=2.94), and harvest (mean=2.89). Findings showed a relationship between the adoption and the following: educational attainment, income,attending a training, extension worker contact, data/information perception, and knowledge (sig.<0.05). There was the differrence in the adoption in all of the 4 aspects. It could be concluded that Lisu ethnic group had a highest level of the adoption in all of the 4 aspects and they had an average score of the adoption which was different from other ethnic group (sig.<0.05). Problems found most in the adoption were weed elimination and cultivation plot preparation.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และชนเผ่า 2) ความรู้เกี่ยวกับระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีการไม่เผาเศษพืชและเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว 3) การยอมรับระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีการไม่เผาเศษพืชและเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีการไม่เผาเศษพืชและเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว และ 5) ปัญหาและอุปสรรคของการยอมรับระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีการไม่เผาเศษพืช และเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว ของเกษตรกรในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลอง ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย จากการสุ่มตัวอย่างจำนวน 313 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งได้ผลการวิจัยดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ยประมาณ 40 ปี ไม่ได้รับการศึกษา มีขนาดพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 7.2 ไร่ มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 84,357.83 บาทต่อปี มีจำนวนแรงงานในครัวเรือน 3 – 4 คน เข้าร่วมอบรมการปลูกข้าวโพดอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี ติดต่อเพื่อนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด 1 ครั้งต่อปี ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม 1 ครั้งต่อปี ไม่เคยเข้าร่วมประชุมกลุ่มเกษตรกร ได้รับข้อมูลข่าวสาร 12.98 ครั้งต่อปี ผ่านโทรทัศน์มากที่สุดเฉลี่ย 5 ครั้งต่อปี ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าอาข่ามีความรู้ในเรื่องระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีการไม่เผาเศษพืชและเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่วอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยของระดับความรู้เท่ากับ 14.51 คะแนนจากทั้งหมด 20 คะแนน   ผลการวิจัยเรื่องการยอมรับ พบว่า โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.95 โดยมีรายละเอียดแต่ละด้านดังนี้ ด้านการเตรียมแปลงค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.05 ด้านการเพาะปลูกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.93 ด้านการดูแลรักษามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.94 และด้านการเก็บเกี่ยวโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.89 เกษตรกรมีการยอมรับในทุกๆ ด้านในระดับปานกลาง ผลการวิจัยความสัมพันธ์ของการยอมรับระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีการไม่เผาเศษพืชและเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว พบว่า ระดับการศึกษา รายได้ภาคการเกษตร การเข้าร่วมอบรม การติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริม การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ของผู้ให้ข้อมูลมีความสัมพันธ์กับการยอมรับระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีการไม่เผาเศษพืชและเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว (sig.<0.05) ผลการศึกษาการเปรียบเทียบการยอมรับระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีการไม่เผาเศษพืชและเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่วที่แตกต่างกันจำแนกตามชนเผ่า ทั้ง 4 ด้านและโดยรวม คือ ด้านการเตรียมแปลง ด้านการเพาะปลูก ด้านการดูแล และด้านการเก็บเกี่ยว สามารถสรุปได้ว่า ชนเผ่าลีซูมีการยอมรับระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยวิธีการไม่เผาเศษพืชและเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่วในทุกๆด้านสูงที่สุด และมีค่าเฉลี่ยการยอมรับแตกต่างจากชนเผ่าอื่นๆ (sig.<0.05) ส่วนปัญหาและอุปสรรคของการยอมรับที่พบมากได้แก่ ด้านการกำจัดวัชพืชและเศษพืช และด้านการเตรียมแปลงก่อนการเพาะปลูก 
Description: Master of Science (Master of Science (Resources Development and Agricultural Extension))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/45
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5801432005.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.