Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/449
Title: ADAPTATION GUIDELINES OF KWAN PHAYAO FISHERY GROUPSUNDER THE 21st CENTURY CITY DEVELOPMENT
แนวทางการปรับตัวของกลุ่มอาชีพประมงพื้นบ้านริมกว๊านพะเยาภายใต้กระแสการพัฒนาเมืองในศตวรรษที่ 21
Authors: Parnhatai Chawwing
ปานหทัย ชาวเวียง
Nikorn Mahawan
นิกร มหาวัน
Maejo University. Architecture and Environmental Design
Keywords: ประมงพื้นบ้าน
รูปแบบการดำเนินชีวิต
การพัฒนาอย่างยั่งยืน
artisanal fishery
lifestyle
sustainable development
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: Refer to gather information for exploring and creating databases study lifestyle, influencing factors of lifestyle and suggest ways to adapt to local fishing professions. Live your life properly. The sample includes 170 local fishery professionals. The tool for collecting data are the communication tool of geographic information System, GPS, Questionnaire, in-depth interviews, fieldwork and literature research. The results showed that local fishing in Kwan Phayao was born out of the wisdom of local people who had inherited it. The local fishing occupation group was officially established between Phayao Fisheries office and inland Fisheries Development Research Center, it cause a local fishing community around Kwan. There are 17 communities where most of the local fishermen are 46. – 60 years of occupation, Local fisheries are the most main occupation. Average income 3,000 – 6,000 baht/month. In addition, the local fishery personnel are very satisfied with their occupation. The results of this study show that the local fishery professional groups are integrated, have good interaction in the community, and satisfied with the organization. Government departments attach importance to participating in the development of local fishery professional groups. Laws, regulations, regulations, or related measures in local fisheries and promote local fisheries professional units Work in the public sector  furthermore, 15 funds or savings groups have been set up and 13 groups have been grouped for activities. There are two types of lifestyle: 1) Behavioral lifestyle: those that continue to do local fishing as the main occupation,groups that turn themselves into other occupations and do local fishing are secondary occupations. 2) The spatial lifestyle can be classified according to local fishing tools such as kay, kaylai, sai hea, hand hook,  rail hook. Nowadays, lifestyle has changed from the past, due to the impact on various aspects, including physical, construction projects have been encroaching on the Kwan Phayao area and allowing for more commerce. Environmentally, water quality in Kwan Phayao has been found to deteriorate and bio-characteristic changes and wetland ecosystems have deteriorated. The legislation found that there was redundancy, inconsistency and favorable to local fishing. On the economic side, economic growth has resulted in higher cost of living than in the past, resulting in higher daily expenditures. Social Aspects it was found that attitudes towards the fishing profession have changed with urban development, with the approach to adaptation being to develop on a community capital basis, including port development and local fishing lifestyle tourism. Fish Banking Project Development of savings groups to help and reduce the debts of local fishing professions and sustainable development, including issuing wastewater treatment measures before releasing them to Kwan Phayao. Build cooperation in finding solutions to local fishing problems. Promoting the widespread distribution of products from local fishing professions to the market and providing training on online business. Organize a forum before the announcement, laws or measures relating to fishing in Kwan Phayao to reduce conflict.
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและจัดทำฐานข้อมูล  ศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิต  ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต  และเสนอแนะแนวทางการปรับตัวให้กลุ่มอาชีพประมงพื้นบ้านสามารถดำเนินชีวิตให้อยู่ได้อย่างเหมาะสม  โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน จำนวน 170 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นเครื่องมือสารสนเทศทางภูมิศาสตร์  อุปกรณ์ GPS  แบบสอบถาม  การสัมภาษณ์เชิงลึก การสำรวจภาคสนาม และการศึกษาเอกสาร  ผลการวิจัยพบว่า การทำประมงพื้นบ้านในกว๊านพะเยาเกิดจากภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่มีการสืบทอดจากบรรพบุรุษ  โดยกลุ่มอาชีพประมงพื้นบ้านถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานประมงจังหวัดพะเยาและศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา  ทำให้เกิดเป็นชุมชนประมงพื้นบ้านรอบกว๊านพะเยา รวมทั้งสิ้น 17 ชุมชน  ซึ่งผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่มีอายุ 46 – 60 ปี  มีการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านเป็นอาชีพหลักมากที่สุด  รายได้เฉลี่ย 3,000 – 6,000 บาท/เดือน และมีภาระในการเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวมากถึงร้อยละ 80  โดยพบว่าผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านมีความพึงพอใจมากต่ออาชีพประมงพื้นบ้าน  การรวมกลุ่มของกลุ่มอาชีพประมงพื้นบ้าน  การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อคนในชุมชน ตามลำดับ และมีความพึงพอใจน้อยต่อหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมของกลุ่มอาชีพประมงพื้นบ้านในการพัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพประมงพื้นบ้าน  การออกกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน และการส่งเสริมอาชีพประมงพื้นบ้านจากหน่วยงานภาครัฐ ตามลำดับ  นอกจากนี้ภายในชุมชนมีการจัดตั้งกองทุนหรือกลุ่มออมทรัพย์จำนวน 15 กลุ่ม และมีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมจำนวน 13 กลุ่ม  ซึ่งรูปแบบการดำเนินชีวิตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) รูปแบบการดำเนินชีวิตเชิงพฤติกรรม ได้แก่ กลุ่มที่ยังคงทำประมงพื้นบ้านเป็นอาชีพหลัก  กลุ่มที่ผันตนเองไปประกอบอาชีพอื่นและทำประมงพื้นบ้านเป็นอาชีพรอง  กลุ่มที่ทำประมงพื้นบ้านเป็นกิจกรรมยามว่าง  2) รูปแบบการดำเนินชีวิตเชิงพื้นที่ สามารถจำแนกได้ตามเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ได้แก่ ข่าย ข่ายไล่ แห ไซกุ้ง ลอบกุ้ง เบ็ดมือ เบ็ดราว  ปัจจุบันรูปแบบการดำเนินชีวิตได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต  เนื่องจากได้รับผลกระทบในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านกายภาพพบว่า โครงการก่อสร้างต่างๆ เกิดการรุกล้ำพื้นที่กว๊านพะเยาและเอื้ออำนวยด้านพาณิชยกรรมมากยิ่งขึ้น  ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่า คุณภาพน้ำในกว๊านพะเยาเสื่อมโทรมและเกิดการเปลี่ยนแปลงทางลักษณะชีวภาพและระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำกว๊านพะเยา  ด้านกฎหมายพบว่า มีความซ้ำซ้อนไม่สอดคล้องและเอื้ออำนวยต่อการทำประมงพื้นบ้าน  ด้านเศรษฐกิจพบว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจส่งผลให้ค่าครองชีพสูงกว่าในอดีตทำให้รายจ่ายในชีวิตประจำวันสูงขึ้น  ด้านสังคมพบว่า ทัศนคติต่ออาชีพประมงพื้นมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาเมือง  โดยแนวทางในการปรับตัว คือ การพัฒนาบนฐานทุนชุมชน ได้แก่ การพัฒนาท่าเรือและการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน  โครงการธนาคารปลา  การพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อช่วยเหลือและลดภาวะหนี้สินของกลุ่มอาชีพประมงพื้นบ้าน  และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่ การออกมาตรการการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่กว๊านพะเยา  สร้างความร่วมมือในการร่วมกันหาทางออกเกี่ยวกับปัญหาการทำประมงพื้นบ้าน  ส่งเสริมการกระจายผลิตภัณฑ์จากกลุ่มอาชีพประมงพื้นบ้านให้ออกสู่ท้องตลาดอย่างกว้างขวางและจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับร้านค้าออนไลน์  จัดเวทีเสวนาก่อนการออกประกาศ กฎหมาย หรือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงในกว๊านพะเยาเพื่อลดความขัดแย้ง
Description: Master of Urban and Regional Planning (Master of Urban and Regional Planning (Environmental and Urban Planning))
การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต (การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต (การวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/449
Appears in Collections:Architecture and Environmental Design

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5919302001.pdf13.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.