Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/433
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorChayanit Sanrachaen
dc.contributorชญานิษฐ์ แสนราชาth
dc.contributor.advisorPhutthisun Kruekumen
dc.contributor.advisorพุฒิสรรค์ เครือคำth
dc.contributor.otherMaejo University. Agricultural Productionen
dc.date.accessioned2021-04-08T04:28:42Z-
dc.date.available2021-04-08T04:28:42Z-
dc.date.issued2021-
dc.identifier.urihttp://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/433-
dc.descriptionMaster of Science (Master of Science (Resources Development and Agricultural Extension))en
dc.descriptionวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร))th
dc.description.abstractThis study was conducted to investigate: 1) socioeconomic attributes of member of the community enterprise group in Pasang district, Lamphun Province; 2) operational participation of the community enterprise group members; 3) factors effecting the operational participation of the community enterprise group members; and 4) problems encountered and suggestions of the community enterprise group members. The sample group consisted of 256 members of the community enterprise group. Data were collected by using a set of questionnaires and analyzed by using descriptive statistics and multiple regression analysis. Results of the study revealed that most of the respondents were male, 48 years old on average, secondary school/vocational certificate graduates, and married. They had 3 household member and 2 of them were household workforce on average. Besides, they had one dependent on average. The respondents had 8.94 rai of household land holding on average. They had annual household income for 169,162.50 baht but they had a household debt for 121,420 bath on average. The respondents perceived information about the community enterprise for 4 time for month on average and mainly through the agricultural extension worker. They contacted the agricultural extension worker once year. The respondents had been members of the community enterprise for two years and they attended the community enterprise meeting once year on average. Most of the respondents had never joined the educational trip on community enterprise and they did not have any social position. However, it was found that they had a high level of the participation in operation of the community enterprise ( = 4.07). In this respect, assessment was found to have the highest average mean score and followed by planning and management, production and marketing, and benefit sharing, respectively. In addition, the following factors had an effect on the operational participation of the respondents with a statistical significance level; household income, time span of being the community enterprise member, social position and household debt. The following were problems encountered; 1) there was no systematic planning and management; 2) member did not have knowledge about marketing having and effect on a small sale volume; 3) compensation was not in the form of income; and 4) results of the assessment were not as expected. For suggestion, the following should be done; 1) holding a monthly meeting to monitor operational outcomes for continual planning; 2) adding markets outside the area, online marketing and joining the Thai post on product selling; and 3) clear agreement on benefit allocation.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม ของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จำนวน 256 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์พหุถดถอย ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 48 ปี จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีสถานภาพสมรส มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน มีจำนวนผู้อยู่ในอุปการะในครัวเรือนเฉลี่ย 1 คน มีพื้นที่ถือครองในครัวเรือนเฉลี่ย 8.94 ไร่ มีรายได้รวมในครัวเรือนเฉลี่ย 169,612.50 บาทต่อปี มีจำนวนหนี้สินในครัวเรือนเฉลี่ย 121,420 บาท สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 4 ครั้งต่อเดือน โดยรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นหลัก มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร 1 ครั้งต่อปี เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 2 ปี เข้าร่วมประชุมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี ส่วนมากไม่ได้เคยเข้าร่วมศึกษาดูงานวิสาหกิจชุมชนจากหน่วยงานราชการ และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ไม่ดำรงมีตำแหน่งทางสังคม และการมีส่วนร่วมในดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 4.07) ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมมากที่สุดคือ ด้านการประเมินผล รองลงมา ได้แก่ ด้านการวางแผนและการจัดการ ด้านการผลิตและด้านการตลาด และด้านการรับผลประโยชน์ ตามลำดับ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้รวมในครัวเรือน ระยะเวลาในการเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำแหน่งทางสังคม และหนี้สินในครัวเรือน สำหรับปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ 1) ไม่มีการวางแผนและบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ 2) สมาชิกไม่มีความรู้ด้านการตลาดทำให้จำหน่ายผลผลิตได้จำนวนน้อย 3) การไม่ได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบของเงินรายได้ และ 4) การประเมินผลไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง โดยสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ควรจัดประชุมกลุ่มอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ เดือน เพื่อติดตามผลการทำงานและวางแผนอย่างต่อเนื่องทีละขั้นตอน และชี้แจงความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ 2) เพิ่มตลาดจำหน่ายสินค้านอกพื้นที่ ตลาดออนไลน์ หรือร่วมโครงการจำหน่ายสินค้ากับไปรษณีย์ และ 3) ควรตกลงรายละเอียดของการจัดสรรผลประโยชน์ให้ชัดเจนth
dc.language.isoth-
dc.publisherMaejo University-
dc.rightsMaejo University-
dc.subjectการมีส่วนร่วมth
dc.subjectวิสาหกิจชุมชนth
dc.subjectสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจth
dc.subjectการดำเนินงานของกลุ่มth
dc.subjectparticipationen
dc.subjectcommunity enterpriseen
dc.subjectcommunity enterprise memberen
dc.subjectoperation of the groupen
dc.subject.classificationAgricultural and Biological Sciencesen
dc.titlePARTICIPATION OF MEMBER IN OPERATION OFTHE COMMUNITY  ENTERPRISE, PASANG DISTRICT,LAMPHUN PROVINCEen
dc.titleการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6101432004.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.