Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/415
Title: EFFECT OF PLANT GROWTH REGULATORS ON GROWTH AND DEVELOPMENT AND FRUIT QUALITY OF FIG
ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพของผลมะเดื่อฝรั่ง
Authors: Werapat Panchai
วีรภัทร ปั้นฉาย
Nopporn Boonplod
นพพร บุญปลอด
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: มะเดื่อฝรั่ง
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
คุณภาพมะเดื่อฝรั่ง
Fig
Plant growth regulators
Quality of Fig
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: A study on growth and development of Ficus carica L. cv. Black genoa were carried out at Pomology, Maejo University, Chiang Mai province from December 2018 to March 2019. An elevation is 322 meters above mean sea level. The objective of this study was to study the pattern of fruit growth and development of fig and effects of PGRs growth and development and fruit quality. It was found that the fruit growth and development of fig is double sigmoid curve. In the first phase, during 1-4 weeks, fruit size increased slowly and fruit weight was 0.01-7.60 grams. The second phase, during 5-8 weeks, the fruit size increased slightly and the fruit weight was 10.56-25.48 grams. Finally, in the third phase, the fruit size increased rapidly to 12.97-69.39 grams of fruit weight. The total soluble solids, total titratable acid and Fruit firmness at 12 weeks was 17.8 ºBrix, 0.23% and 0.10 kg/cm2, respectively. Peel colour changed from green to yellow in 10 weeks and turned from reddish-purple to black-purple in 10 to 12 weeks. The study on effects of PGRs on growth and development was found that GA4+7 at a concentration 250 mg/L mixed with BA at a concentration 250 mg/L in combination with shoot pruning gave new shoot length as 15.13 cm, number of fruits was 2.77 fruits per branch and number of leaves was 2.02 which higher than control treatment.          Furthermore, effects of PGRs on fruit quality using Brs at a concentration 1 mg/L had the highest fruit weight 68.13 gram, the widest fruit 52.38 millimeters, the longest fruit 56.10 millimeters. Furthermore, TSS, anthocyanin content and phenolic compound content increased up to 17.12 ºBrix 19.46 mg/100gFW and 936.26 µgGAE/gFW respectively. In addition, using 3,5,6-TPA concentration 30 mg/L increased fruit firmness to 85.77 kg/cm2, while decreasing in TSS/TA to 123.83. Spraying CPPU, BRs and 3,5,6-TPA had no effect on TA, pH and vitamin C.
การศึกษาการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลมะเดื่อฝรั่ง (Ficus carica L.) พันธุ์ แบล็คเจนัว ดำเนินการ ณ แปลงทดลองไม้ผล สาขาไม้ผล คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างระยะเวลา ตั้งแต่เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2562 ความสูงจากระดับน้ำทะเล 322 เมตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเจริญเติบโตและสารควบคุมการเจริญเติบของพืชต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลมะเดื่อฝรั่ง พบว่า การเจริญเติบโตของผลมะเดื่อฝรั่งมีลักษณะการเจริญเติบโตแบบ double sigmoid curve สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ในสัปดาห์ที่ 1-4 ผลจะมีการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักผลอย่างช้าๆ โดยมีน้ำหนักผลเท่ากับ 0.01-7.60 กรัม ระยะที่ 2 ในสัปดาห์ที่ 5-8 ผลมีการขยายขนาดเพิ่มขึ้น มีน้ำหนักผลเท่ากับ 10.56-25.48 กรัม และ ระยะที่ 3 ในสัปดาห์ที่ 9-12 ผลมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างอย่างรวดเร็ว โดยมีน้ำหนักผลเท่ากับ 12.97-69.39 กรัม ส่วนปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ และความแน่นเนื้อ ในสัปดาห์ที่ 12 มีค่าเท่ากับ 17.80 องศาบริกซ์ 0.23 เปอร์เซ็นต์ และ 0.10 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำดับ ขณะที่สีผิวผลเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองในสัปดาห์ที่ 10 และจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วงจนถึงสีม่วงดำในสัปดาห์ที่ 12 การศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลมะเดื่อฝรั่ง พบว่า การใช้ GA4+7 250 มิลลิกรัมต่อลิตร + BA 250 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับการตัดยอด มีผลทำให้มีความยาวยอดใหม่เท่ากับ 15.13 เซนติเมตร จำนวนผลเท่ากับ 2.77 ผลต่อกิ่ง และจำนวนใบ เท่ากับ 2.02 ใบ จำนวนผลเฉลี่ย 2.77 ผลต่อกิ่ง และจำนวนใบเฉลี่ย 2.02 ใบ ซึ่งมากกว่ากรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของคุณภาพของผลมะเดื่อฝรั่ง พบว่า การใช้ บราสสิโนสเตอร์รอยด์ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้น้ำหนักผลมากที่สุดเท่ากับ 68.13 กรัม มีความกว้างผลเท่ากับ 52.38 มิลลิเมตร และความยาวผลเท่ากับ 56.10 มิลลิเมตร นอกจากนี้ยังมีผลให้ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ ปริมาณแอนโทไซยานิน และ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงสุด เท่ากับ 17.12 องศาบริกซ์ 19.46 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด และ 936.26 ไมโครกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ ส่วนการใช้ 3,5,6-TPA 30 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้มีความแน่นเนื้อผลเพิ่มขึ้น 85.77 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ในขณะที่ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ต่อปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ลดลงเท่ากับ 123.83 อย่างไรก็ตามการพ่น CPPU, BRs และ 3,5,6-TPA ไม่มีผลต่อปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ ค่าความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณวิตามินซี
Description: Master of Science (Master of Science (Horticulture))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชสวน))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/415
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6101302009.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.