Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/414
Title: DEVELOPMENT OF PRODUCTION TECHNIQUE FOR Phalaenopsis hybrid
การพัฒนาเทคนิคการผลิตกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสลูกผสม
Authors: Thonglang Phetxomphou
Thonglang Phetxomphou
Jutamas Piladee
จุฑามาศ พิลาดี
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: กล้วยไม้
ต้นอ่อน
อาหาร
การเพาะเลี้ยง
ฟาแลนนอปซิส
โปรโตคอร์ม
Orchid
seedling
medium
cultivation
Phalaenopsis
protocorm
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: The objective of this study was to development the Production techniques for hybrid orchid in the genus Phalaenopsis. on suitable medium to increase the number of protocorms and good quality seedlings in aseptic condition as well as its growth and flower quality in the controlled greenhouse. The Phalaenopsis protocorms at 3-months old were cultured on 7 medium i.e. MS, VW, modified VW, Hyponex at the concentrations of 1, 2, 3 g/L and fertilizer medium 20-20-20 at 1 g/L for 4 months. It was found that the modified VW medium showed the largest size of protocorm with a diameter around 0.8 cm and highest number of shoot 4.0 shoots. VW medium showed the maximum leaves number of 4.7 leaves and highest number of seedlings 2.3 seedlings. However, the protocorms were dead in the MS medium and fertilizer medium after 3 months of culturing. The study on growth of Phalaenopsis on the 7 medium for 6 months indicated that seedlings on the MS medium were the highest 5.17 cm with the highest number of leaves 5.47 leaves. The seedlings on the modified VW medium had the widest leaves of 2.09 cm. The MS and modified VW media gave the widest stem of 0.55 and 0.58 cm respectively and the longest leaves of 4.30 and 3.79 cm respectively. Hence, seedling growth of Phalaenopsis on the MS and modified VW medium was greater than that on the VW and fertilizer medium. Investigation on giving fertilizer i.e. Giving fertilizer method 1 composing of 20-20-20, 0-0-50, 10-52-17, 0-52-34 and 10-20-30 and giving fertilizer method 2 composing 20-20-20, 0-0-50, 21-0-0, 10-52-10 and 10-30-20 cultivation were done in the controlled greenhouses at day time temperature of 25 oC and night time temperature of 18 oC for 1, 2, 3 and 4 months before transferring to the evaporative cooling system until 6 months was carried out for growth and the flower quality. It was found that giving fertilizer method 1 gave the faster first flower bud period of 43 days however giving fertilizer method 2 gave the widest stem 2.47 cm when cultured for 1 month there was no significant difference during 2-6 months of cultivation. Cultivation in different controlled greenhouses for 1 month before being transferred to the evaporative cooling system until the 3rd and 4th months provided the widest stem of 2.58 and 2.65 cm respectively and the highest leaf number of 8.17 and 8.26 leaves respectively after transferring to the evaporative cooling system until the 5th and 6th months. In addition, the blooming period the flower was faster at 27 days with the highest number of flowers of 9.50 flowers. Cultivation in the controlled greenhouse for 1 and 2 months before transferring to the evaporative cooling system gave the faster first flowering period of 37 and 40 days respectively. Cultivation in the controlled greenhouses for 2 and 3 months before transferring to the evaporative cooling system made the faster induction of flowering spike, at 46 and 48 days respectively. Cultivation in the controlled greenhouses for 4 months before transferring to the evaporative cooling system, gave the longest inflorescence of 36.65 cm.
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิคการผลิตกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสลูกผสม โดยศึกษาถึงสูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพิ่มปริมาณโปรโตคอร์มและต้นอ่อนที่มีคุณภาพดีในสภาพปลอดเชื้อ และการเจริญเติบโตและคุณภาพดอกในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ ศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสลูกผสมในระยะโปรโตคอร์มที่อายุ 3 เดือน ในอาหาร 7 สูตร ในสภาพปลอดเชื้อ ได้แก่ อาหารสูตร MS, อาหารสูตร VW, อาหารสูตร VW ดัดแปลง, อาหารสูตรปุ๋ย Hyponex ที่ระดับ 1, 2, และ 3 กรัม/ลิตร และอาหารสูตรปุ๋ย NPK 20-20-20 ที่ระดับ 1 กรัม/ลิตร เป็นเวลา 4 เดือน พบว่า อาหารสูตร VW ดัดแปลง ให้โปรโตคอร์มขนาดใหญ่ที่สุด เฉลี่ย 0.80 เซนติเมตร และจำนวนหน่อมากที่สุด เฉลี่ย 4.00 หน่อ อาหารสูตร VW ให้จำนวนใบมากที่สุด เฉลี่ย 4.70 ใบ และให้จำนวนต้นอ่อนมากที่สุดเฉลี่ย 2.30 ต้น ในส่วนของอาหารสูตร MS และอาหารสูตรปุ๋ย 20-20-20 ส่งผลให้โปรโตคอร์มตายเมื่อเลี้ยงเป็นเวลา 3 เดือน การศึกษาการเจริญเติบโตของต้นอ่อนกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสลูกผสมที่เลี้ยงในอาหารทั้ง 7 สูตร เป็นเวลา 6 เดือน พบว่า อาหารสูตร MS ส่งผลให้ต้นอ่อนกล้วยไม้มีความสูงมากที่สุด เฉลี่ย 5.17 เซนติเมตร และมีจำนวนใบมากที่สุด เฉลี่ย 5.47 ใบ อาหารสูตร VW ดัดแปลง ให้ต้นอ่อนที่มีความกว้างใบมากที่สุด เฉลี่ย 2.09 เซนติเมตร ส่วนอาหารสูตร MS และอาหารสูตร VW ดัดแปลงให้ต้นอ่อนที่มีความกว้างลำต้นมากที่สุด เฉลี่ย 0.55 และ 0.58 เซนติเมตร ตามลำดับ และมีความยาวใบมากที่สุด เฉลี่ย 4.30 และ 3.97 เซนติเมตร ดังนั้นการเจริญเติบโตของต้นอ่อนกล้วยไม้ที่เลี้ยงในอาหารสูตร MS และ VW ดัดแปลง ส่งผลให้ต้นอ่อนกล้วยไม้มีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าการเลี้ยงด้วยอาหารสูตร VW กับอาหารสูตรปุ๋ย Hyponex และอาหารสูตรปุ๋ย 20-20-20 การศึกษาวิธีการให้ปุ๋ย 2 แบบได้แก่ วิธีการให้ปุ๋ยแบบที่ 1 ประกอบด้วยปุ๋ย 20-20-20, 0-0-50, 10-52-17, 0-52-34, 21-0-0 และ 10-20-30 วิธีการให้ปุ๋ยแบบที่ 2 ประกอบด้วยปุ๋ย 20-20-20, 0-0-50, 21-0-0, 10-52-10, 15-15-30 และ 10-30-20 และระยะเวลาที่เลี้ยงในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ ที่ 25 องศาเซลเซียส เวลากลางวัน และ 18 องศาเซลเซียส เวลากลางคืน เป็นเวลา 1, 2, 3 และ 4 เดือน ก่อนย้ายมาเลี้ยงในโรงเรือนระบบปรับอุณหภูมิจนครบ 6 เดือนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพดอก พบว่า วิธีการให้ปุ๋ยแบบที่ 1 ทำให้เวลาในการออกดอกแรกเร็วที่สุด เฉลี่ย 43 วันแต่วิธีการให้ปุ๋ยแบบที่ 2 ให้ความกว้างของลำต้นมากที่สุด เฉลี่ย 2.47 เซนติเมตร เมื่อเลี้ยงเป็นเวลา 1 เดือน ส่วนในเดือนที่ 2-6 พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนระยะเวลาการเลี้ยงที่แตกต่างกันในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ พบว่า การเลี้ยงเป็นเวลา 1 เดือนก่อนย้ายมาเลี้ยงในโรงเรือนระบบปรับอุณหภูมิ ถึงเดือนที่ 3 และ 4 ทำให้กล้วยไม้มีความกว้างลำต้นมากที่สุด เฉลี่ย 2.58 และ 2.65 เซนติเมตร ตามลำดับ และให้จำนวนใบมากที่สุด เฉลี่ย 8.17 และ 8.26 ใบ ตามลำดับ หลังการย้ายมาเลี้ยงในโรงเรือนระบบปรับอุณหภูมิถึงเดือนที่ 5 และ 6 นอกจากนี้ ยังทำให้การบานของดอกใช้เวลาเร็วที่สุด เฉลี่ย 27 วัน และให้จำนวนดอกมากที่สุด เฉลี่ย 9.50 ดอก ส่วนการลี้ยงในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิเป็นเวลา 1 และ 2 เดือนก่อนย้ายมาเลี้ยงในโรงเรือนระบบปรับอุณหภูมิ ทำให้ใช้เวลาในการออกดอกแรกของกล้วยไม้เร็วที่สุด เฉลี่ย 37 และ 40 วัน ตามลำดับหลังวันแทงช่อดอก ส่วนการเลี้ยงในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิเป็นเวลา 2 และ 3 เดือนก่อนย้ายมาเลี้ยงในโรงเรือนระบบปรับอุณหภูมิ ทำให้ใช้เวลาในการแทงช่อดอกเร็วที่สุด เฉลี่ย 46 และ 48 วัน ตามลำดับ และการเลี้ยงในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ เป็นเวลา 4 เดือนก่อนย้ายมาเลี้ยงในโรงเรือนระบบปรับอุณหภูมิ ทำให้ช่อดอกยาวที่สุด เฉลี่ย 36.65 เซนติเมตร  
Description: Master of Science (Master of Science (Horticulture))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชสวน))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/414
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6101302008.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.