Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/410
Title: | MORPHOLOGICAL CHARACTERIZATION AND GENETIC DIVERSITY
OF MANGO CULTIVARS USING RAPD TECHNIQUE ลักษณะสัณฐานวิทยาและความหลากหลายทางพันธุกรรม ของสายพันธุ์มะม่วงโดยใช้เทคนิค RAPD |
Authors: | Wannausa Phakam วรรณอุษา ผาคำ Orapin Saritnum อรพินธุ์ สฤษดิ์นำ Maejo University. Agricultural Production |
Keywords: | มะม่วง สัณฐานวิทยา ความหลากหลายทางพันธุกรรม เทคนิคอาร์เอพีดี Mango Morphological Genetic diversity RAPD technique |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | The study of morphological characteristic and genetic diversity of mango
cultivar at the Pomology Farm (Ban Pong), Faculty of Agricultural Production,
Maejo University, using the morphological and RAPD markers was observed.
In the results, the study of genetic diversity of 20 mango cultivars using
morphological marker which can be observed in the differences external
appearance was classified into 6 groups including: 1) Kaeo group, showed
lanceolate leaf shape, acuminate leaf apex, acute leaf base, undulate leaf
margin, obovate fruit shape 2) Khiaosawoey group, showed lanceolate and
oblong leaf shape, attenuate leaf apex, acute and attenuate leaf base, entire
and undulate leaf margin, oblong fruit shape 3) Namdokmai group, showed
elliptical leaf shape, acuminate leaf apex, acute leaf base, undulate leaf margin,
elliptical fruit shape 4) Nangklangwan group, showed lanceolate and linear-oblong
leaf shape, attenuate leaf apex, acute and obtuse leaf base, entire and undulate
leaf margin, cylindrical fruit shape 5) Okrong group, showed elliptical and
lanceolate leaf shape, acuminate and acute leaf apex, acute leaf base, entire and
undulate leaf margin, ovate, elliptical and oblong fruit shape 6) Round fruit group,
showed elliptical leaf shape, attenuate leaf apex, acute leaf base, entire leaf margin,
roundish fruit shape. For RAPD technique of 20 RAPD primers, 14 primers were
produced 87 polymorphic bands with 88.78%. The genetic similarity coefficients
were in the range of 0.42-0.93 and could be classified the 20 mango cultivars into
4 groups. Group 1 was Namdokmai-sithong. Group 2 was included with Talapnak,
Mahacharnok, Samruedu-man, Irwin, Daeng jakgrapat (zone 1) and Daeng jakgrapat
(zone 2). Group 3 was included with Kaemdaeng, Chok-anan, Raet, Sampi,
Okrong-khiao, Manhom, Khaen-on and Samruedu. And the last group was group 4
including with Thongdam, Kaeo, Khaisawoey, Tuppet and Carabao. In this study,
it could be classified clearly about of mango cultivars by RAPD technique. In the
results, data of RAPD technique combining with morphological characteristics showed
the relation in each group. Group 1 was related to group 3 in Namdokmai-sithong
cultivar. Group 2 was involed to group 4, 5 and 6. Group 3 was link to group 5 in
Okrang group. And the last group was Group 4 according to group 1, 2 and 5 in
morphological characteristics. The data would be useful for database of mango
cultivars in breeding program further. การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและความหลากหลายทางพันธุกรรมของสายพันธุ์ มะม่วง จากแปลงรวบรวมพันธุ์มะม่วง สาขาไม้ผล (บ้านโปง) คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้เครื่องหมายทางสัณฐานวิทยาและเครื่องหมายทางชีวโมเลกุล ชนิดอาร์เอพีดี พบว่า ในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของสายพันธุ์มะม่วง จำนวน 20 สายพันธุ์ โดยใช้เครื่องหมายทางสัณฐานวิทยาที่ได้จากการมองเห็นด้วย ตาเปล่า การสังเกตจากลักษณะภายนอกที่ปรากฏทำให้สามารถจัดจำแนกกลุ่มสายพันธุ์ มะม่วงออกเป็น 6 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มแก้ว มีลักษณะรูปร่างใบแบบป้อมโคนใบ ปลายใบแบบเรียวแหลม ฐานใบแบบแหลม ขอบใบแบบคลื่น รูปร่างผลแบบรูปไข่กลับ 2) กลุ่มเขียวเสวย คือ มีลักษณะรูปร่าง ใบแบบป้อมโคนใบและขอบขนาน ปลายใบแบบสอบเรียว ฐานใบแบบแหลมและสอบเรียว ขอบใบแบบขอบใบเรียบและคลื่น ลักษณะรูปร่างผลแบบขอบขนาน 3) กลุ่มน้ำดอกไม้ มีลักษณะ รูปร่างใบแบบป้อมกลางใบ ปลายใบแบบเรียวแหลม ฐานใบแบบแหลม ขอบใบแบบคลื่น รูปร่างผล แบบทรงรี 4) กลุ่มหนังกลางวัน คือ ลักษณะรูปร่างใบแบบป้อมโคนใบและยาวเรียว ปลายใบแบบ สอบเรียว ฐานใบแบบแหลมและมน ขอบใบแบบเรียบและคลื่น ลักษณะรูปร่างผลแบบทรงกระบอก 5) กลุ่มอกร่อง มีลักษณะรูปร่างใบแบบป้อมกลางใบและป้อมโคนใบ ลักษณะปลายใบแบบเรียวแหลม และแหลม ลักษณะฐานใบแบบแหลม ลักษณะขอบใบแบบเรียบและคลื่น ลักษณะรูปร่างผลแบบ รูปไข่กลับ ทรงรี และขอบขนาน 6) กลุ่มผลกลม ประกอบด้วย ลักษณะรูปร่างใบแบบป้อมกลางใบ ลักษณะปลายใบแบบสอบเรียว ลักษณะฐานใบแบบแหลม ลักษณะขอบใบแบบเรียบ ลักษณะรูปร่างผลแบบทรงกลม และการใช้เครื่องหมายทางชีวโมเลกุลชนิดอาร์เอพีดี (RAPD) ทั้งหมด จำนวน 20 ไพรเมอร์ มี 14 ไพรเมอร์ ที่สามารถแยกความแตกต่างของแถบดีเอ็นเอได้จำนวน 87 แถบ คิดเป็น 88.78 เปอร์เซ็นต์ มีค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงกันทางพันธุกรรมอยู่ระหว่าง 0.42 ถึง 0.93 ซึ่งทำให้สามารถจัดจำแนกกลุ่มของสายพันธุ์มะม่วงทั้ง 20 สายพันธุ์ ได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 คือ พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง กลุ่มที่ 2 ได้แก่ พันธุ์ตลับนาค มหาชนก สามฤดูมัน เออร์วิน แดงจักรพรรดิ (โซน 1) แดงจักรพรรดิ (โซน 2) กลุ่มที่ 3 ได้แก่ พันธุ์แก้มแดง โชคอนันต์ แรด สามปี อกร่องเขียว มันหอม แขนอ่อน สามฤดู และกลุ่มที่ 4 ประกอบด้วย พันธุ์ทองดำ แก้ว เขียวเสวย ตับเป็ด และคาราบาว จากผลการศึกษาในครั้งนี้จึงทำให้สามารถจัดจำแนกกลุ่ม สายพันธุ์มะม่วง โดยการใช้เทคนิคอาร์เอพีดี (RAPD) ได้อย่างชัดเจน และสอดคล้องตาม การจัดจำแนกด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา โดยสายพันธุ์มะม่วงที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 มีความสอดคล้องกันกับสายพันธุ์มะม่วงที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 3 ซึ่งก็คือ พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง กลุ่มที่ 2 คล้ายคลึงกันกับกลุ่มที่ 4 5 และ 6 ส่วนกลุ่มที่ 3 สอดคล้องกันกับมะม่วงที่จัดอยู่ ในกลุ่มที่ 5 เป็นส่วนใหญ่ และกลุ่มที่ 4 มีความสอดคล้องกันกับกลุ่มที่ 1 2 และกลุ่มที่ 5 ในการจัดตามลักษณะสัณฐานวิทยา และจากข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นฐานข้อมูล ทางพันธุกรรมของสายพันธุ์มะม่วงในการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป |
Description: | Master of Science (Master of Science (Horticulture)) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชสวน)) |
URI: | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/410 |
Appears in Collections: | Agricultural Production |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6001302007.pdf | 2.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.