Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/404
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Nattawut Khajiang | en |
dc.contributor | ณัฐวุฒิ ไขแจ้ง | th |
dc.contributor.advisor | Witchaphart Sungpalee | en |
dc.contributor.advisor | วิชญ์ภาส สังพาลี | th |
dc.contributor.other | Maejo University. Agricultural Production | en |
dc.date.accessioned | 2020-12-28T03:01:02Z | - |
dc.date.available | 2020-12-28T03:01:02Z | - |
dc.date.issued | 2021 | - |
dc.identifier.uri | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/404 | - |
dc.description | Master of Science (Geosocial Based Sustainable Development) | en |
dc.description | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน)) | th |
dc.description.abstract | Miang is a type of food made from Assum tea (Camellia sinensis (L.) Kuntze var. assamica (J.W.Mast) Kitam. by passing tea leaves through steaming followed by fermenting. It has long been part of consumption culture of Lanna people. This study aimed to explore status and diversity of plants in Miang tea garden. In this study, a temporary plot with a size of 20x50 meters was set up in each of the Miang tea garden types. The circumference size at the chest level (GBH) of plants of all kinds with GBH at least 3.1 cm. was measured and recorded. Also, root collar size and the height of Miang tea were measured and plant varieties, a number of sapling and seedling were recorded. In addition, data regarding social aspects and plant utilization were collected through observation and informal interview (criterion-based selection). Results of the study revealed that Miang tea gardens in this study could be classified into 4 forms (status) : 1) abandoned Miang tea area for more than 10 years (OMF>10); 2) abandoned Miang tea area for less than 10 years (OMF<10); 3) Miang tea area where harvesting activity was still active (MF); and 4) Miang tea area where it was converted to be ordinary tea area (TG). For all 4 areas combined, there were 35 families, 59 genera and 70 varieties of plants, while within each Miang tea area found most species in OMF>10 at 43 species followed by 40 species in OMF<10, 31 species in MF, and 26 species in TG. Species with the highest index of ecological importance (IVI) within the OMF>10 was Miang tea, as it was the previous crop of the area, followed by pioneer species. For OMF<10, MF and TG, the highest IVI species was Salao because it was selected by farmers to be used as firewood and to provide shading for Miang trees, while the next IVI value belonged to local tree species and fruit trees. Species diversity (Shannon-Wiener index, H’) of OMF>10, OMF<10, MF and TG were 2.43, 1.29, 0.85 and 0.57, respectively. The distribution of the trees based on size of the diameter at the chest level of OMF>10 was of negative exponential. This indicated that it had the capability in keeping the structure of naturally balanced growth replacement. This suggested that if being abandoned and undisturbed Miang tea gardens will have an increase in plant diversity as the area started to be occupied by pioneer species, while if it is converted to tea gardens, diversity will be reduced as there are constantly undisturbed by management. According to an interview with the sample group of 20 persons (community leaders, the committee of conservation network, local scholars, and Miang tea farmers), it was found that the community processes ethanobotanical knowledge of Miang tree including making Miang and using leaves for fresh or dried tea. For social aspect, the community was composed of mostly aging population resulting in labor shortage. Transitioning from Miang garden to the ordinary tea plantation was preferred due to complication of Miang making processes, as well as higher labor requirement for maintaining Miang garden. | en |
dc.description.abstract | เมี่ยง คือ อาหารที่ทำมาจากชาอัสสัม (Camellia sinensis (L.) Kuntze var. assamica (J.W.Mast) Kitam. นำมาแปรรูปโดยการนึ่งแล้วหมัก เมี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตวัฒนธรรมการบริโภคของชาวล้านนามายาวนาน งานวิจัยสถานภาพและความหลากหลายของพรรณไม้ในสวนเมี่ยงภายใต้ภูมิสังคมบ้านแม่แมะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพความหลากหลายของพรรณไม้ในพื้นที่สวนเมี่ยง โดยดำเนินการสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพในปัจจุบันของสวนเมี่ยง ทำการวางแปลงชั่วคราว ขนาด 20 เมตร x 50 เมตร วัดบันทึกขนาดเส้นรอบวงเพียงอก (GBH) ของพรรณไม้ทุกชนิดตั้งแต่ 3.1 เซนติเมตร จำแนกชนิดพรรณไม้ ทำการวัดขนาดคอราก และความสูงของต้นเมี่ยง รวมถึงบันทึกชนิดและจำนวนลูกไม้ และกล้าไม้ ทำการศึกษาบริบททางสังคม ภูมิปัญญา และลักษณะการใช้ประโยชน์จากพืชกลุ่มเมี่ยง โดยสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกสวนเมี่ยงแบบไม่เป็นทางการ (informal interview) และการสังเกต (observation) โดยการเลือกแบบเจาะจง (criterion-base selection) และหาสาเหตุการเปลี่ยนแปลงสถานภาพสวนเมี่ยงเป็นชา ผลการศึกษาพบว่าสวนเมี่ยงบ้านแม่แมะสามารถจำแนกได้สวนเมี่ยงได้ 4 สถานภาพ คือ พื้นที่สวนเมี่ยงที่ทิ้งร้างมากกว่า 10 ปี (OMF>10) พื้นที่สวนเมี่ยงทิ้งร้างไม่เกิน 10 ปี (OMF<10) พื้นที่สวนเมี่ยงที่ยังเก็บผลผลิต (MF) และพื้นที่สวนเมี่ยงที่ปรับเปลี่ยนเป็นชา (TG) พบชนิดพรรณไม้ทั้งหมด 35 วงศ์ 59 สกุล 70 ชนิด โดยพื้นที่ OMF>10 พบชนิดพรรณไม้ มากที่สุด 43 ชนิด พื้นที่ OMF<10 พบชนิดพรรณไม้ 40 ชนิด พื้นที่ MF พบชนิดพรรณไม้ 31 ชนิด และพื้นที่ TG พบชนิดพรรณไม้ 26 ชนิด ค่าดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยา (IVI) ของพื้นที่ OMF>10 พบว่าเมี่ยงมีค่า IVIสูงสุด เพราะเป็นพืชที่เกษตรกรปลูกในพื้นที่ และพบกลุ่มไม้เบิกนำมีค่า IVI รองลงมา พื้นที่ OMF<10 พื้นที่ MF และพื้นที่ TG พบว่า เสลา มีค่า IVI สูงสุดเพราะเป็นพรรณไม้เดิมในพื้นที่ที่เกษตรกรเลือกที่เหลือไว้ใช้ประโยชน์ในด้านเชื้อเพลิง และเป็นร่มเงาของสวนเมี่ยง และพบพรรณไม้ท้องถิ่นและไม้ผล มีค่า IVI รองลงมา ดัชนีความหลากหลายชนิด (Shannon-Wiener index, H’) ของพื้นที่ OMF>10, OMF<10, MF และ TG เฉลี่ยเท่ากับ 2.43,1.29,0.85 และ 0.57 ตามลำดับ การกระจายตัวของต้นไม้ตามขนาดชั้นเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอก ของ OMF>10 มีรูปแบบ negative exponential บ่งบอกว่ามีความสามารถในการรักษาโครงสร้างในการเจริญทดแทนให้เป็นไปได้อย่างสมดุลตามธรรมชาติ เห็นได้ว่า พื้นที่สวนเมี่ยงหากมีการทิ้งร้างไม่รบกวนมีความหลากหลายของพรรณไม้เพิ่มขึ้นโดยพบไม้เบิกนำมาแทนที่ไม้เดิมที่เกษตรกรเหลือไว้ ในทางกลับกันหากปรับเปลี่ยนเป็นชาทำให้ความหลากชนิดของพรรณไม้ลดลงเพราะพื้นที่มีการจัดการอยู่ตลอดเวลา ส่วนการสัมภาษณ์ประชากรตัวอย่างบ้านแม่แมะ จำนวน 20 ราย ประกอบด้วยผู้นำชุมชน คณะกรรมการเครือข่ายอนุรักษ์ ปราชญ์ชาวบ้านบ้านแม่แมะและเกษตรกรผู้ปลูกเมี่ยง พบว่าบ้านแม่แมะ มีภูมิปัญญาและการใช้ประโยชน์จากพืชกลุ่มเมี่ยง คือ การทำเมี่ยง และการเก็บเป็นยอดชาสดและชาแห้ง และบริบททางสังคมของบ้านแม่แมะพบว่ากลุ่มประชากรตัวอย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุและขาดแคลนแรงงานทำให้มีการปรับเปลี่ยนจากสวนเมี่ยงเป็นสวนชา เพราะการทำเมี่ยงมีการแปรรูปที่ยุ่งยากหลายขั้นตอน ต้องใช้แรงงานในการดูแลและจัดการสวน | th |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | Maejo University | - |
dc.rights | Maejo University | - |
dc.subject | ความหลากหลายของพรรณไม้ | th |
dc.subject | สวนเมี่ยง | th |
dc.subject | ชาอัสสัม | th |
dc.subject | วนเกษตร | th |
dc.subject | ภูมิสังคม | th |
dc.subject | plant diversity | en |
dc.subject | Miang plantation area | en |
dc.subject | Assam tea | en |
dc.subject | agroforestry | en |
dc.subject | geosocial-based | en |
dc.subject.classification | Multidisciplinary | en |
dc.title | STATUS AND DIVERSITY OF PLANTS IN MIANG TEA GARDENS UNDER THE GEOSOCIAL OF MAE MAE VILLAGE, MAE NA SUB DISTRICT, CHIANG DAO DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE | en |
dc.title | สถานภาพและความหลากหลายของพรรณไม้ในสวนเมี่ยง ภายใต้ภูมิสังคมบ้านแม่แมะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Agricultural Production |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5901417011.pdf | 4.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.