Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/40
Title: | THE VEGETABLE PRODUCTION PLANING FOR LUNCH PROJECT IN
BAN NAM BO SA PE PATROL POLICE TRAINING CENTER,
SOPPONG, PA MA PA, MAE HONG SON การวางแผนการผลิตพืชผักสำหรับโครงการอาหารกลางวัน ในศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติ บ้านน้ำบ่อสะเป่ ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
Authors: | Worawut Nammol วรวุฒิ นามมล Phanit Nakayan ผานิตย์ นาขยัน Maejo University. Agricultural Production |
Keywords: | โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แนวทางการผลิตพืช agricultural project for lunch guideline for crop production |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | The objectives of this study were to: 1) explore a guideline for producing vegetables to be lunch meals at the Patrol Police learning Center, Ban Nam bo Sa Pe, Soppong sub-district, Pa ma pa district, Mae Hong Son province and 2) construct a model of vegetable production for lunch meals of the Patrol Police Learning Center. The sample group consisted of 5 teachers, 9 students, 4 guardians, 2 local scholars, and 1 academic on local agriculture/the New Theory and they were obtained by purposive sampling. Data were collected through interview, and focus group discussion.
Results of the study revealed that problems found in vegetable production were water shortage in the dry season and infertile soil since watershed forest was encroached. Hence, the Royal Irrigation Department constructed a solar power water system together with a 2,000 liters water tank to be used in the dry season. Besides, the school assigned a task to students to grow vegetables for household consumption and supplementary income. Other problems included not enough teachers; teachers lack of agricultural knowledge; lack of motivation to practice; and late budget allocation. Thus, the school asked for some more teachers while some existing teachers had to attend a training on agricultural skills. Furthermore, school staff were given an opportunity to grow vegetables for household consumption and supplementary incomes. In addition, the school received agricultural materials from Pa ma pa Agriculture Office.
Regarding the vegetable production for lunch meals, this was under appropriate climate and traditional method of ethnic groups. However, there was the application of crop growing technology such as time span of production and area/soil analysis. Besides, consumption culture of local people was explore mainly based on local vegetables and vegetables supported by Jitlada Garden Project. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการผลิตพืชผักสำหรับโครงการอาหารกลางวันในศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติบ้านน้ำบ่อสะเป่ ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการผลิตพืชผักสำหรับโครงการอาหารกลางวันของศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติบ้านน้ำบ่อสะเป่ ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ คณะครู จำนวน 5 คน นักเรียน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 4 คน ปราชญ์ชุมชนท้องถิ่น จำนวน 2 คน และนักวิชาการด้านการเกษตรพื้นบ้าน และทฤษฎีใหม่ จำนวน 1 คน โดยการสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการแก้ไข เพื่อเป็นแนวทางการผลิตพืชผัก จากปัญหาดังกล่าวคือ ปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เกิดจากพื้นที่ป่าต้นน้ำถูกบุกรุกทำลาย ลักษณะดิน เป็นดินไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ โดยได้ดำเนินการให้กรมชลประทานทำการสร้างระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ และใช้ถังเก็บน้ำขนาด 2,000 ลิตรเพื่อใช้สูบน้ำและกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในฤดูแล้ง ด้านนักเรียน และผู้ปกครอง ทางโรงเรียนได้มอบหมายกิจกรรมให้นักเรียนฝึกรับผิดชอบเพื่อพัฒนาทักษะ และสอนการปลูกพืชผักปลอดภัยไว้รับประทานในครัวเรือน ส่งผลให้นักเรียน และผู้ปกครองมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานมากขึ้น รวมทั้งมีผักรับประทานเองในครัวเรือน และมีรายได้เสริมจากการจำหน่ายพืชผัก ปัญหาครูมีจำนวนไม่เพียงพอ ขาดความรู้ด้านการเกษตร และแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ ทางโรงเรียนได้ทำการขอบุคลากรเพิ่มเติมจากหน่วยงานต้นสังกัด และส่งคณะครูไปอบรมเสริมทักษะด้านการเกษตร อีกทั้งเปิดโอกาสให้บุคลากรมีรายได้ในกิจกรรมปลูกผัก ปัญหาด้านงบประมาณล่าช้า โรงเรียนได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำรองจากหน่วยงานต้นสังกัด และได้รับการสนับสนุนวัสดุการเกษตร จากสำนักงานเกษตรอำเภอปางมะผ้า ด้านรูปแบบการผลิตพืชสำหรับโครงการอาหารกลางวัน ได้ทำการผลิตพืชให้เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคม โดยใช้วิธีการตามวิถีชนเผ่าดั้งเดิม และการนำมาประยุกต์กับเทคโนโลยีในการปลูกพืชสมัยใหม่ การปลูกพืชผักที่เหมาะสมกับระยะเวลาการผลิต โดยวิเคราะห์สภาพพื้นที่ และวัฒนธรรมการบริโภคของคนในพื้นที่ แบ่งเป็นพืชผักพื้นบ้าน และพืชผักที่ได้รับการสนับสนุนการโครงการสวนจิตรลดา |
Description: | Master of Science (Geosocial Based Sustainable Development) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน)) |
URI: | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/40 |
Appears in Collections: | Agricultural Production |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5801417021.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.