Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/399
Title: THE USING OF FERMENTED ORGANIC SOYBEAN IN THAI NATIVE CHICKEN (PRADU HANGDAM) DIET
ผลการใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักในอาหารไก่ลูกผสมพื้นเมืองประดู่หางดำ
Authors: Samlarn Kasyxongdeth
Samlarn Kasyxongdeth
Buaream Maneewan
บัวเรียม มณีวรรณ์
Maejo University. Animal Science and Technology
Keywords: ไก่ประดู่หางดำ
ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมัก
สมรรถภาพการเจริญเติบโต
ลักษณะซาก
คุณภาพเนื้อ
Native chicken
Fermented boiled organic soybean
Growth performance
Carcass characteristic
Meat quality
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: The using of fermented organic soybean in Thai native chicken (hybrid Pradu Hangdam) diet was conducted in 2 experiments. The experiment 1 study on nutritive value of fermented boiled organic soybean and experiment 2 study on effects of dietary fermented boiled organic soybean (FOSB) in Thai native chicken diet on growth performance, carcass characteristic, meat quality and coliform bacteria and lactic acid bacteria population in ceca. Experiment 1: This study aimed to investigate the nutritive value of fermented boiled organic soybean (FOSB). Boiled organic soybeans were mixed with brown sugar and salt at the ratio 100: 4: 1. The FOSBs were allocated into 5 groups with 3 replications. Group 1, 2, 3, 4 and 5 were fermented for 5, 7, 9, 14 and 21 days respectively. The pH and nutritive value were observed. The results showed that the pH and crude fiber of FOSB at 7, 9, 14 and 21 days were lower than compare with 5 days FOSB. Dry matter, crude protein and crude ether extract of FOSB at 7, 9, 14 and 21 days were higher when compare with 5 days FOSB. Crude ash of FOSB at 7, 9 and 14 days were lower when compare with 5 and 21 days FOSB (P<0.05). Experiment 2: This study aimed to investigate the effects of dietary fermented boiled organic soybean (FOSB) on growth performance, carcass characteristic, and meat quality in Thai native chicken (hybrid Pradu Hangdam). The experiment was conducted in 180 of hybrid Pradu Hangdam chickens. The chickens were allocated into 5 groups with 3 replications, 12 chicks each (mixed sex). Group 1 was control, the boiled organic soybean only was used as protein source without FOSB (0%). Group 2, 3, 4 and 5 the diets contained 25, 50, 75, and 100% FOSB instaed of boiled organic soybean respectively. The results showed that the levels of FOSB were not effected growth performance on 3-8 weeks of age (P>0.05). Feed conversion Ratio (FCR) of the 25, 50, and 75% FOSB group were lower than control group on 9-13 weeks of age (P<0.05) . Subsequently, the level of FOSB in diets were not effected on carcass characteristic (P>0.05). However, the pH and L* value of the breast at 45 minutes. and 24 hours postmortem. in 25% FOSB and L* of the breast at 45 minutes and 24 hours postmortem. in 100% FOSB were higher than control group (P<0.05). The a* of the breast at 24 hours postmortem. and shear force value in 100% FOSB were lower than control group (P<0.05). The E. coli number was no significant different (P>0.05), but Lactic acid bacteria number was significant different (P=0.05), the 75 and 100% FOSB group were higher than 25% FOSB group In conclusion, the suitable period for FOSB is 9 days, due to the short time, high crude protein and low crude fiber. The FOSB can improved FCR and meat colors and tenderness. Therefore, growth performance could be improvement by used both boiled organic soybean and fermented organic soybeans, But the used of dietary fermented boiled organic soybean level is 25% was lowest cost and for meat quality improvement especially meat colors and tenderness should be use FOSB in chicken diet and the suitable level is 75%.
ผลของการใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมักในอาหารไก่ลูกผสมพื้นเมืองประดู่หางดำ แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ การศึกษาคุณค่าทางโภชนะของถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมัก และศึกษาผลของการใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมักในอาหารไก่พื้นเมืองต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต ลักษณะซาก คุณภาพเนื้อ และแบคทีเรียกรดแลคติกและปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียในไส้ติ่ง การทดลองที่ 1 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนะของถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมัก โดยนำถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกมาผสมให้เข้ากันในอัตราส่วนถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกต่อน้ำตาลทรายแดงต่อเกลือ 100 : 4 : 1 จัดแยกถั่วเหลืองหมักออกเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 3 ซ้ำ กลุ่มที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 หมักเป็นเวลา 5, 7, 9, 14 และ 21 วัน ตามลำดับ ทำการวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะ ผลการวิจัยพบว่า ค่า pH และค่าเยื่อใยรวมของถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมักที่ 7, 9, 14 และ 21 วัน มีค่าต่ำกว่าการหมัก 5 วัน ค่าวัตถุแห้ง โปรตีนรวม และไขมันรวมของถั่วเหลืองที่หมัก 7, 9, 14 และ 21 วัน มีค่าสูงกว่าการหมักที่ 5 วัน ค่าเถ้ารวมของถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมักที่ 7, 9 และ 14 วัน มีค่าต่ำกว่าการหมักที่ 5 และ 21 วัน (P<0.05) การทดลองที่ 2 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมักในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต องค์ประกอบซาก คุณภาพเนื้อ แบคทีเรียกรดแลคติกและปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียในไก่ลูกผสมพื้นเมือง โดยใช้ไก่ลูกผสมพื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ คละเพศ อายุ 2 สัปดาห์ จำนวน 180 ตัว แบ่งเป็น 5 กลุ่มตามสูตรอาหาร แต่ละกลุ่มมี 3 ซ้ำ ซ้ำละ 12 ตัว กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุมใช้ถั่วเหลืองต้มสุกเป็นแหล่งโปรตีนอย่างเดียวไม่ใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมัก (0%) กลุ่มที่ 2, 3, 4 และ 5 กลุ่มที่ใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมักที่ระดับ 25, 50, 75 และ 100%  ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ระดับของถั่วเหลืองอินทรีย์หมักไม่ส่งผลต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตในช่วงอายุ 3 - 8 สัปดาห์ (P>0.05) ในช่วงอายุ 9-13 สัปดาห์ การใช้ถั่วเหลืองหมักทดแทนไม่หมัก 25, 50 และ 75% ทำให้อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) การใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมักไม่ส่งผลต่อลักษณะซาก (P>0.05) แต่พบว่า ค่า pH ของเนื้อหน้าอกที่ 45 นาที และ 24 ชั่วโมงหลังการฆ่า ของกลุ่มที่ใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมัก 25% และค่าความสว่างของเนื้ออกที่ 45 นาที และ 24 ชั่วโมงหลังการฆ่า ของกลุ่มใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมัก 100% มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) ส่วนค่าความแดงของเนื้ออกที่ 24 ชั่วโมงหลังการฆ่า และค่าแรงตัดผ่านของเนื้อสะโพก ของกลุ่มที่ใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมัก 100% ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) และจำนวน E. coli ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่จำนวน Lactic acid bacteria ของกลุ่มที่ใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมัก 75 และ 100% มีจำนวนค่าสูงกว่ากลุ่มที่ใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมัก 25% (P=0.05) ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ถั่วเหลืองอินทรีย์ตหมักมีระยะเวลาการหมักที่เหมาะสมคือ 9 วัน เนื่องจากใช้ระยะเวลาไม่นาน ทำให้มีปริมาณโปรตีนสูงและเยื่อใยต่ำ และการใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมักไม่ส่งผลต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต แต่ทำให้สีของเนื้อ และความนุ่มของเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมืองประดู่หางดำดีขึ้น ดังนั้นหากต้องการเน้นด้านสมรรถภาพการเจริญเติบโตนั้น สามารถใช้ได้ทั้งถั่วเหลืองอินทรีย์หมักและไม่หมัก แต่การใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมักที่ระดับ 25% ต้นทุนต่ำที่สุด และหากต้องการปรับปรุงคุณภาพเนื้อที่ดีขึ้นโดยเฉพาะสีและความนุ่มเนื้อควรใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมักในอาหาร และระดับการใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมักในอาหารที่เหมาะสมคือ 75%
Description: Master of Science (Master of Science (Animal Science))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สัตวศาสตร์))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/399
Appears in Collections:Animal Science and Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6122301008.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.