Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/382
Title: EFFECT OF CARBON/NITROGEN RATIO (C:N) ON GEOSMIN IN NILE TILAPIA (Oreochromis niloticus) UNDER BIOFLOC SYSTEM
ผลของระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C:N) ต่อกลิ่นโคลนของปลานิล ในบ่อไบโอฟลอค
Authors: Saisunee Jitmanowan
สายสุนีย์ จิตมโนวรรณ์
Sudaporn Tongsiri
สุดาพร ตงศิริ
Maejo University. Fisheries Technology and Aquatic Resources
Keywords: คาร์บอนต่อไนโตรเจน
ไบโอฟลอค
ปลานิล (Oreochromis niloticus)
กลิ่นโคลน
Carbon/Nitrogen
Biofloc
Nile Tilapia (Oreochromis niloticus)
Off-flavor
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: Nowadays, intensive aquaculture receives much attention from many exporters, especially producing Nile tilapia in the biofloc system. These fish are raised in high-density water; consequently, more products can be produced. The researcher, thus, has the idea of culturing tilapia in a biofloc system to reduce muddy odor by water quality control and Carbon to nitrogen ratio adjustment. The period of culture was 90 days. The experiment was divided into 2 parts. The first part, the examination the Off-flavor and the water quality (experiment 1).  These experiment were carried out in 2 farms; Farm 1 at Baan Mae Kung Luang, Tung Tom Subdistrict, San Pa Tong District, Chiang Mai Province and Farm 2 at Ban Huay Som, San Klang Subdistrict, San Pa Tong District, Chiang Mai Province. Moreover, the study was conducted at the Faculty of Fisheries Technology and Aquatic Resources, Maejo University (experiment 2) by comparing the carbon to nitrogen 14:1 (T1) and the carbon to nitrogen 10:1 (T2). Referring to Experiment 1 results, Farm 1 at Baan Mae Kung Luang, Tung Tom Subdistrict, San Pa Tong District, Chiang Mai Province, it was found that the floc level was 4.58±4.13 ml/l and also found Off-flavor in the tilapia pond. Geosmin value was 0.10±0.18 µg/l and MIB value was 0.12±0.21 µg/l. The water quality within the fish pond was in the range of the standard of aquaculture. And Farm 2 at Ban Huay Som, San Klang Subdistrict, San Pa Tong District, Chiang Mai Province, it was found that the settled floc particles was 1.20±0.62 ml/l and also found Off-flavor in the tilapia pond. Geosmin value was 0.31±0.11 µg/l and MIB value was 0.18±0.19 µg/l. The water quality within the fish pond was in the range of the standard of aquaculture. In experiment 2, tilapia had been cultured in the biofloc system with the carbon to nitrogen 14:1 (T1) and the carbon to nitrogen 10:1 (T2) at the Faculty of Fisheries Technology and Aquatic Resources, Maejo University. the Faculty of Fisheries Technology and Aquatic Resources, Maejo University for 90 days. The settled floc particles were in good levels; their values were 52.64±1.84 and 34.73±1.39 ml/l, respectively. Furthermore, it was found the off-flavor in the tilapia pond. The water quality within the fish pond was in the range of the standard of aquaculture. There were statistically different (P<0.05) in growth rate including weight gain and increased standard length as well as feed conversion ratio (FCR). This process affected the survival rate of tilapia fish fed with protein levels of 25% and 35%. But when feed costs were compared, it was found that tilapia grew in the carbon to nitrogen 14:1 had the lower feed cost than the ones grew in the carbon to nitrogen 10:1.
ในปัจจุบันมีการเลี้ยงปลาแบบหนาแน่นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก คือการผลิตปลานิลด้วยระบบไบโอฟลอค ซึ่งเป็นการเลี้ยงที่ระดับความหนาแน่นสูง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดการเลี้ยงปลานิลที่เลี้ยงในระบบไบโอฟลอคที่มีกลิ่นโคลนต่ำ โดยมีการควบคุมคุณภาพน้ำ ระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 90 วัน  แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ตรวจสอบกลิ่นโคลน และตรวจสอบคุณภาพน้ำ ในฟาร์ม 1 ณ บ้านแม่กุ้งหลวง ต.ทุ่งต้อม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ และฟาร์ม 2 ณ บ้านห้วยส้ม ต.สันกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ และการทดลองที่ 2 ดำเนินการศึกษาที่คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีการเลี้ยงปลานิลที่ระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) 14:1 (T1) และการเลี้ยงปลานิลที่ระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) 10:1 (T2) จากการศึกษา พบว่าการทดลองที่ 1 ฟาร์ม 1 ณ บ้านแม่กุ้งหลวง ต.ทุ่งต้อม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ พบว่า มีปริมาณฟลอคที่ตกตะกอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58±4.13 ml/l และยังพบกลิ่นโคลนในบ่อเลี้ยงปลานิล โดยมีค่าจีออสมิน เฉลี่ยเท่ากับ 0.10±0.18 µg/l และค่าเอ็มไอบี เฉลี่ยเท่ากับ 0.12±0.21 µg/l ส่วนค่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่สัตว์น้ำสามารถอาศัยอยู่ได้ ในส่วนของฟาร์ม 2 ณ บ้านห้วยส้ม ต.สันกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ พบว่า มีปริมาณฟลอคน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.20±0.62 ml/l และยังพบกลิ่นโคลนในบ่อเลี้ยงปลานิล โดยมีค่าจีออสมิน เฉลี่ยเท่ากับ 0.31±0.11 µg/l และค่าเอ็มไอบี เฉลี่ยเท่ากับ 0.18±0.19 µg/l ส่วนค่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่สัตว์น้ำสามารถอาศัยอยู่ได้ ส่วนผลการศึกษาของการทดลองที่ 2 การเลี้ยงปลานิลในระบบไบโอฟลอคที่ระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) 14:1 (T1) และการเลี้ยงปลานิลในระบบไบโอฟลอคที่ระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) 10:1 (T2) ทดลองในบ่อขนาด 2 ตัน ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 90 วัน  พบว่า ค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ 14:1 และค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ 10:1 และปริมาณฟลอคที่ตกตะกอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 52.64±1.84 และ 34.73±13.9 ml/l ในบ่อที่มีคาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับ 14:1 และ 10:1 ตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมตามเกณฑ์ และพบกลิ่นโคลนในบ่อเลี้ยงปลานิล มีค่าสูงถึง 0.10 µg/l ส่วนค่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่สัตว์น้ำสามารถอาศัยอยู่ได้ ผลการเจริญเติบโต มีน้ำหนักเฉลี่ย ความยาวเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น และอัตราการแลกเนื้อเพิ่มขึ้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งมีผลต่ออัตรารอดของปลานิลของบ่อที่มีระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) 14:1 และ 10:1 แตกต่างกัน แต่เมื่อเทียบกับต้นทุนค่าอาหาร พบว่า ที่คาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับ 14:1 มีต้นทุนค่าอาหารต่ำกว่าคาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับ 10:1
Description: Master of Science (Master of Science (Fisheries Technology and Aquatic Resources))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/382
Appears in Collections:Fisheries Technology and Aquatic Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5910301010.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.