Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/381
Title: SUPPLEMENTATION OF OMEGA-3 TO VALUE ADDED OF ORGANIC NILE TILAPIA (Oreochromis niloticus) IN BIOFLOC SYSTEM
การเสริมโอเมก้า-3 เพื่อเพิ่มมูลค่าปลานิลอินทรีย์ในระบบไบโอฟลอค
Authors: Meranee Inkam
เมรานี อิ่นคำ
Udomluk Sompong
อุดมลักษณ์ สมพงษ์
Maejo University. Fisheries Technology and Aquatic Resources
Keywords: กรดไขมันโอเมก้า-3
ปลานิล
ระบบไบโอฟลอค
Omega 3
Nile tilapia
Biofloc system
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: The effect of omega-3 supplementation to be value added of organic tilapia (Oreochromis niloticus) in the biofloc system was investigated. The experiments were divided into 2 parts. The first part was to develop the feed formulas supplemented with various fatty acids and the growth of Nile tilapia culture in the biofloc system at the laboratory scale was determined. Nine feed diets containing 30% protein and 9% lipid were added with different types of oil; control diet added with soybean oil (Control), feed diet added with fish oil (FO), feed diet added with fish oil and soybean oil 1:1 (FO:SO), feed diet added with lard oil (LO), feed diet added with lard oil and soybean oil 1:1 (LO:SO), feed diet added with fish oil and lard oil 1:1 (FO:LO), feed diet added with Schizochytrium sp. (SC), feed diet added with Schizochytrium sp. and soybean oil 1:2 (SC: SO/1:2) and feed diet added with Schizochytrium sp. and soybean oil 2:1 (SC: SO/2:1). Nile tilapia (initial weight 30 g) fingerlings were cultured in glass tanks. Stocking density was 50 individuals/m2. A pump system was installed in each aquarium to maintain the solids in suspension using aeration blower and reared for 8 weeks and feeding rates were fixed at 5% of the initial weight. Tilapia fed with FO diet showed highest growth and weight gain (62.7±0.18 g). However, there were no differences in the survival rate (95-97%) and feed conversion ratio in every treatment (1.4-1.5) (p>0.05). The fatty acids profile of fish flesh fed with 9 oil supplemented diets was studied. Fatty acid composition of FO was highest in total omega-3 and omega-6. The second experiment was to develop a premium grade organic Nile tilapia with high Omega-3 tilapia in biofloc system at the pilot scale. Four feed diets containing 25% protein and 9% lipid were added with different types of oil; feed organic diet added with soybean oil (Control), feed organic diet added with soybean oil (SO), feed organic diet added with fish oil (FO) and feed organic diet added with Schizochytrium sp. (SC). Nile tilapia (initial weight 100 g) juveniles were cultured in tanks. Stocking density was 50 individuals/m2. All tanks were aerated and agitated continuously using air pump. They were raised for 120 days; the feeding rate was fixed at 3% of the initial weight. Tilapia fed with FO organic diet showed highest growth and weight gain 345.8±1.68 g and 322.0±2.95 g in SC organic diet (p<0.05). However, there were differences in the feed conversion ratio (1.4-1.8) and survival rate in every treatment (92-100%) (p<0.05). The water quality within the fish ponds was in range of the standard of aquaculture. The fatty acid profile of flesh fed with 4 oil supplemented diets was studied. Fatty acid composition of FO was highest in total omega-3 (EPA 21.63 mg/g and DHA 91.08 mg/g). Fatty acid composition of tilapia flesh fed feed added with Shizochytrium had less saturated fatty acid content than other treatments. However, the proportion of fish oil suitable for increasing the amount of omega-3 in the flesh was better than the other types of oil. Fish production costs raised in the biofloc system was 1699.80 baht /pond. The net profit value was 318.95 baht / pond. This study demonstrated the efficacy of omega-3 fatty acids supplementation of fish fed in biofloc system was observed and it could be commercially valuable in the future.
การศึกษาผลการเสริมโอเมก้า-3 ในการเพิ่มมูลค่าปลานิลอินทรีย์ในระบบการเลี้ยงแบบไบโอฟลอค แบ่งชุดการทดลองออกเป็น 2 การทดลองหลัก ได้แก่ การทดลองที่ 1 เป็นการทดสอบเพื่อพัฒนาสูตรอาหารที่เสริมด้วยกรดไขมันประเภทต่างๆ และศึกษาการเจริญเติบโตของปลานิลที่เลี้ยงในระบบไบโอฟลอคในระดับห้องปฏิบัติการ โดยใช้สูตรอาหารที่แตกต่างกัน 9 สูตร ที่มีโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์และไขมัน 9 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ อาหารชุดควบคุม (Control) , อาหารสูตรน้ำมันปลา (FO), อาหารสูตรน้ำมันปลาและน้ำมันถั่วเหลือง อัตราส่วน 1:1 (FO:SO), อาหารสูตรน้ำมันหมู (LO), อาหารสูตรน้ำมันหมูและน้ำมันถั่วเหลือง อัตราส่วน 1:1  (LO:SO), อาหารสูตรน้ำมันปลาและน้ำมันหมู อัตราส่วน 1:1 (FO:LO), อาหารสูตรผสมสาหร่าย Schizochytrium sp. (SC), อาหารสูตรผสมสาหร่าย Schizochytrium sp.และน้ำมันถั่วเหลือง อัตราส่วน 1:2 (SC: SO/1:2) และอาหารสูตรผสมสาหร่าย Schizochytrium sp.และน้ำมันถั่วเหลือง อัตราส่วน 2:1 (SC: SO/2:1) ทดลองเลี้ยงในปลานิลน้ำหนักเริ่มต้น 30 กรัม ในตู้กระจก อัตราการปล่อย 50 ตัวต่อตารางเมตร ให้ออกซิเจนตลอดเวลา เลี้ยงเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าปลานิลที่เลี้ยงด้วยสูตรอาหารน้ำมันปลา มีการเจริญเติบโตที่ดีที่สุด น้ำหนักเพิ่มขึ้นสูงสุด (62.7±0.18 กรัม) อัตรารอด 95-97% อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ 1.4-1.5 ในแต่ละชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) จากองค์ประกอบของกรดไขมันในอาหารและเนื้อปลาที่มีการเสริมน้ำมันทั้ง 9 สูตร เปอร์เซ็นต์กรดไขมันโดยเฉพาะกรดไขมันโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 พบว่าปลานิลที่เลี้ยงในอาหารสูตรน้ำมันปลา มีการสะสมกรดไขมันโอเมก้า-3และ-6 ในเนื้อปลามากที่สุด ในการทดลองชุดที่ 2 เป็นการพัฒนาคุณภาพปลานิลอินทรีย์ที่มีโอเมก้า-3 สูง โดยเลี้ยงในระบบไบโอฟลอค ในระดับ pilot scale เพาะเลี้ยงปลานิลอินทรีย์โดยใช้สูตรอาหารที่แตกต่างกัน 4 สูตร ที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ และไขมันไม่ต่ำกว่า 9 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ อาหารชุดควบคุม เลี้ยงปลานิลในระบบน้ำใส (Control), อาหารอินทรีย์ (SO), อาหารอินทรีย์ผสมกับน้ำมันปลา (FO) และอาหารอินทรีย์ผสมกับสาหร่าย Schizochytrium sp. (SC) ทดลองเลี้ยงในปลานิลขนาดเริ่มต้น 100 กรัม ในบ่อปูนซีเมนต์ บรรจุน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร อัตราการปล่อย 50 ตัวต่อตารางเมตร ให้ออกซิเจนตลอดเวลา เลี้ยงเป็นระยะเวลา 120 วัน ให้อาหาร 3% ของน้ำหนักตัว/วัน พบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรอินทรีย์ผสมน้ำมันปลามีการเจริญเติบโตที่ดีที่สุด (345.8±1.68 กรัม) แต่ละชุดการทดลองมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อมีค่าใกล้เคียงกัน 1.4-1.8 อัตรารอดอยู่ในช่วง 92-100% ด้านคุณภาพน้ำพบว่ามีค่าตามเกณฑ์มาตรฐานที่สัตว์น้ำสามารถอาศัยอยู่ได้ องค์ประกอบของกรดไขมันที่เสริมน้ำมัน 4 สูตร พบว่าในเนื้อปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารอินทรีย์สูตรผสมน้ำมันปลา (FO) มีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 สูงที่สุด (EPA 21.63 มิลลิกรัม/กรัมและ DHA 91.08 มิลลิกรัม/กรัม) ในขณะที่เนื้อปลาในชุดการทดลองที่เลี้ยงอาหารอินทรีย์ผสมสาหร่าย Shizochytrium sp. (SC) มีปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวสะสมในปริมาณน้อยกว่าในชุดการทดลองอื่นหลายเท่า การเสริมน้ำมันปลาจะเพิ่มปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 ได้ดีกว่าให้ร่วมกับน้ำมันชนิดอื่น ต้นทุนการผลิตที่เลี้ยงในระบบไบโอฟลอค มีต้นทุนทั้งหมด 1699.80 บาท/บ่อ ผลตอบแทนจากการเลี้ยงได้กำไรสุทธิ 318.95 บาท/บ่อ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการเสริมกรดไขมันโอเมก้า-3 ของปลานิลที่เลี้ยงเชิงอินทรีย์ในระบบไบโอฟลอคที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ในอนาคตได้
Description: Master of Science (Master of Science (Fisheries Technology and Aquatic Resources))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/381
Appears in Collections:Fisheries Technology and Aquatic Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5910301007.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.