Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/380
Title: EFFECTS OF THE DIFFERENCE NUTRITIONAL VALUES OF BANANAS (Musaceae) ON DIGESTIBILITY, GROWTH PERFORMANCE AND NON-SPECIFIC IMMUNE IN Anabas testudineus
ผลของโภชนาการที่ต่างกันในกล้วยแต่ละชนิดต่อประสิทธิภาพการย่อยอาหาร การเจริญเติบโต และระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะในปลาหมอไทย
Authors: chomanan potiwong
โฉมอนันต์ โพธิวงค์
Chanagun Chitmanat
ชนกันต์ จิตมนัส
Maejo University. Fisheries Technology and Aquatic Resources
Keywords: ปลาหมอไทย
กล้วย
อาหารปลา
in vitro digestibility
Climbing perch (Anabas testudineus)
Bananas
Feed
in vitro digestibility
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: Climbing perch (Anabas testudineus) is one of the most popular local freshwater fish cultured in Thailand. Because of easy-to-raise, fast growing and high demand of the market, the low-cost feed has been developed for the benefit of farmers. The purpose of this research was to study the effects of different nutrition in each banana on the growth performances of climbing perch. Feed ingredients included fish meal, soybean meal, broken rice and rice bran. These common feed ingredients were mixed with bananas and divided into 3 formulas as follows golden banana, cavendish banana, and cultivated banana. There were four treatments (3 replications/ treatment). Fish were reared for 120 days.  All experimental feeds were significant differences (P <0.05) in moisture, ash, protein, fat, fiber, and nitrogen free extract. The suitable feed ingredients for the climbing perch based on its digestibility were ripe golden banana, ripe cultivated banana, and raw cavendish banana. The ratio between the activity of the enzyme trypsin. and chymotrypsin (T / C ratio) of the feed containing cultivated banana was the highest. The climbing perch fish in all experimental groups showed no statistical differences (P> 0.05) in weight gain, weight per day and specific growth. The control group were highest survival rates and production (P <0.05). The lowest production was found in fish fed with golden banana additional diet. The cost of production and the rate of return were not statistically different (P < 0.05). Fish fed with cultivated banana had a significantly higher (P <0.05) in percent phagocytosis, one of the non-specific immunity. Since banana has relatively low cost and easily available, it could be used to formulate and improve climbing perch feed in terms of both nutrition and price.
ปลาหมอไทย (Anabas testudineus) เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย เนื่องจากเลี้ยงง่าย โตไวและเป็นที่ต้องการของตลาด จึงต้องการพัฒนาอาหารต้นทุนต่ำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อจะศึกษาผลของโภชนาการที่ต่างกันในกล้วยแต่ละชนิดที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ โดยใช้วัตถุดิบในการทำอาหารคือ ปลาป่น กากถั่วเหลือง รำละเอียด ปลายข้าว ผสมกับกล้วย แบ่งเป็น 3 สูตรดังนี้ อาหารผสมกล้วยไข่ อาหารผสมกล้วยน้ำว้า และอาหารผสมกล้วยหอม เพื่อใช้เป็นอาหารให้ปลาหมอไทย แบ่งการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 3 ซ้ำ เลี้ยงปลานาน 120 วัน พบว่า เอนไซม์ของปลาหมอไทยมีประสิทธิภาพการย่อยวัตถุดิบได้ดีและเหมาะสมในการนำวัตถุดิบ คือ กล้วยไข่สุก กล้วยน้ำว้าสุก และกล้วยหอมดิบ มาผลิตเป็นส่วนผสมของอาหารปลาหมอไทย อาหารที่ผสมกล้วยน้ำว้ามีค่ากิจกรรมของอัตราส่วนระหว่างเอนไซม์ทริปซิน และไคโมทริปซิน (T/C ratio) สูงที่สุด จากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ พบว่า อาหารทุกกลุ่มทดลองมีเปอร์เซ็นต์ความชื้น เถ้า โปรตีน ไขมัน เยื่อใยและไนโตรเจนฟรีเอกซ์แทรกแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้ปลาหมอไทยทุกกลุ่มทดลองมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักเพิ่มต่อวัน การเจริญเติบโตจำเพาะ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) โดยปลาหมอในกลุ่มควบคุมมีค่าอัตรารอดสูงที่สุดและมีผลผลิตสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่น (P<0.05) อย่างไรก็ตามผลผลิตปลาในกลุ่มที่ได้รับอาหารผสมกล้วยไข่มีค่าต่ำที่สุด (P<0.05) ต้นทุนผลผลิตและอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนในแต่ละกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) พบว่า กลุ่มปลาหมอไทยที่ได้รับอาหารผสมจากกล้วยน้ำว้ามีการตอบสนองด้านภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ โดยวัดจากเปอร์เซ็นต์ฟาโกไซต์สูงที่สุด จากการศึกษาพบว่า อาหารที่ผสมกล้วยต่างชนิดสามารถนำมาใช้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ นอกจากนี้กล้วยยังเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูกและหาได้ง่าย จึงน่าจะนำไปสร้างและปรับสูตรอาหารให้เหมาะสมกับปลาหมอไทย ทั้งด้านโภชนาการและราคา
Description: Master of Science (Master of Science (Fisheries Technology and Aquatic Resources))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/380
Appears in Collections:Fisheries Technology and Aquatic Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5910301002.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.