Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/361
Title: | SYNTHESIS AND ELECTROCHEMICAL CHARACTERIZATION OF
LITHIUM METAL (M= V, Fe) SILICATE FROM PURE SILICA
AND RICE HUSK ASH การสังเคราะห์และการหาลักษณะเฉพาะทางไฟฟ้าเคมีของลิเทียม (M= V, Fe) ซิลิเกตจากซิลิกาบริสุทธิ์และเถ้าแกลบ |
Authors: | Jaturon Kumchompoo จตุรณ คำชมภู Ratchadaporn Puntharod รัชดาภรณ์ ปันทะรส Maejo University. Science |
Keywords: | ลิเทียมเมทัลซิลิเกต วิธีสถานะของเเข็ง-ไมโครเวฟ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน เถ้าแกลบ เคมีไฟฟ้า Lithium metal silicate Solid-state reaction with microwave assisted method Transmission electron microscope Rice husk ash Electrochemistry |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | The synthesis of lithium metal silicate compounds can be performed by the solid-state reaction and heated by a microwave using lithium nitrate, vanadium (III, IV, V) oxide or iron (II) oxalate, pure silica and silica from rice husk ash (RHA) as precursors in the mole ratio of LiNO3: metal: sillica of 1:2:7. The conditions were studied by varying the grinding time for 1-6 hr and microwave heating at 400 and 600 watts for 5 and 10 min. Fourier transform infrared spectroscopy and resonance Raman spectroscopy were used to investigate of the vibration of Si−O, Fe−O, Li−O, V−O−V, V=O and Si−O−Si bonds. X-ray diffractometry technique confirmed the formation of a crystalline phase. When using lithium nitrate, vanadium oxide and pure silica as a precursor, The products were found to be Li2(VO)SiO4 and Li3.6Si0.6V0.4O4. Li3.6Si0.6V0.4O4 was only obtained when using RHA-based silica.The analysis of the product by X-ray absorption near-edge structure indicated that the oxidation of vanadium was V4+ and V5+. Also, the oxidation state of iron was Fe3+. The specific capacitance was calculated from the results of cyclic voltammetric measurements. The phase of Li3.6Si0.6V0.4O4 was found to have a specific capacitance greater than Li2(VO)SiO4 phase. Moreover, the product synthesized from pure silica precursor exhibited a specific capacitance of 375 F/g. While the product from RHA-based, the specific capacitance was 613 F/g. สังเคราะห์สารประกอบของลิเทียมเมทัลซิลิเกต โดยวิธีสถานะของแข็งและให้ความร้อนด้วยไมโครเวฟ จากลิเทียมไนเตรท วานาเดียม (III, IV, V) ออกไซด์ หรือ ไอรอน(II)ออกซาเลต ซิลิกาบริสุทธิ์ และ ซิลิกาจากเถ้าแกลบ ทำการบดผสมสารตั้งต้นคือ ลิเทียมไนเตรท โลหะ ซิลิกา ในอัตราส่วนโดยโมล 1:2:7 ตามลำดับ โดยแปรผันเวลาในการบดเป็น 1-6 ชั่วโมง และให้ความร้อนด้วยไมโครเวฟ ที่ 400 และ 600 วัตต์ เป็นเวลา 5 และ 10 นาที ทำการหาลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์โดยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี และเรโซแนนซ์รามานสเปกโทรสโกปี เพื่อติดตามการสั่นของพันธะของ ซิลิกอน-ออกซิเจน เหล็ก-ออกซิเจน ลิเทียม-ออกซิเจน วานาเดียม-ซิลิกอน-วานาเดียม วานาเดียม=ออกซิเจน และ ซิลิกอน-ออกซิเจน-ซิลิกอน เทคนิคเอ็กซเรย์ดิฟแฟรกโทเมทรีช่วยยืนยันการเกิดเฟสของผลึก โดยเมื่อใช้ลิเทียมไนเตรท วานาเดียมออกไซด์และซิลิกาบริสุทธิ์เป็นสารตั้งต้น ได้ผลิตภัณฑ์เป็น ลิเทียมวานาเดียมซิลิเกต และ ลิเทียมซิลิกอนวานาเดียมออกไซด์ ขณะที่ใช้ซิลิกาจากเถ้าแกลบได้ผลิตภัณฑ์เป็น ลิเทียมซิลิกอนวานาเดียมออกไซด์ การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กซเรย์ใกล้ขอบพลังงานพบว่าเลขออกซิเดชันของวานาเดียมคือ วานาเดียม (4+) และ วานาเดียม (5+) ส่วนเหล็กพบเลขออกซิเดชันคือ เหล็ก (3+) การหาค่าความจุจำเพาะคำนวณโดยใช้ผลการทดลองของเทคนิคไซคลิกโวลแทมเมทรี พบว่าเฟสของ ลิเทียมซิลิกอนวานาเดียมออกไซด์ มีค่าความจุจำเพาะที่มากกว่าเฟสของ ลิเทียมวานาเดียมซิลิเกต และผลิตภัณฑ์จากซิลิกาบริสุทธิ์มีค่าความจุจำเพาะเท่ากับ 375 ฟารัดต่อกรัมผลิตภัณฑ์จากซิลิกาจากเถ้าแกลบเป็นสารตั้งต้นมีค่าความจุจำเพาะเท่ากับ 613 ฟารัดต่อกรัม |
Description: | Master of Science (Master of Science (Applied Chemistry)) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เคมีประยุกต์)) |
URI: | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/361 |
Appears in Collections: | Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6004303001.pdf | 9.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.