Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/34
Title: GUIDELINES FOR REDUCTION OF FERTILIZATION COST IN ONION PLANTATION PRACTICED BY THE FARMERS OF LHAO PA FANG VILLAGE, MAE WANG DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
การศึกษาแนวทางการลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยในการผลิตหอมหัวใหญ่ ของเกษตรกรหมู่บ้านเหล่าป่าฝาง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Piyaphan Sathitkunarat
ปิยะพันธ์ สถิตคุณารัตน์
Witchaphart Sungpalee
วิชญ์ภาส สังพาลี
Maejo University. Agricultural Production
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aimed to explore context of onion plantation of farmers in Lhao Pa Fang village, Mae Wang district, Chiang Mai province.  Eighteen farmers there were interviewed based on area context and cultural practice management of the farmers.  Ten of the farmers were selected based on similar cultural practice and variety management but different area size and fertilizer management method (10 farmers).  This was classified into 3 groups based on cultivation size: big size (5 rai and above), medium size (3-4 rai), and small size (less than 3 rai).  All of the farmers were interviewed to find out fertilizer type, application rate, application method, onion yield, and purchase size.  Obtained data were analyzed for comparing an amount of fertilizer application per an amount of yield and an average income of the farmers. Findings showed that the informants were different in fertilizer application with the range of 360-1,350 kilograms per rai.  This resulted in the difference in an average yield per rai with the range of 2,587.4-4,106.3 kilogrms per rai.  It was also found that the onion plantation sizes had no statistical difference in yields.  This denoted that there was no difference in fertilizer application rate.  Therefore, too much fertilizer application did not have an effect on a big amount of yield with a statistical significance level.  In other words, the reduction of fertilizer application could reduce production costs.
การวิจัยครั้งนื้ เป็นการศึกษาแนวทางการลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยในการผลิตหอมหัวใหญ่ของเกษตรกรหมู่บ้านเหล่าป่าฝาง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทการปลูกหอมหัวใหญ่และหาแนวทางการลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยในการผลิตหอมหัวใหญ่ของเกษตรกรบ้านเหล่าป่าฝาง ตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ทำการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ในด้านบริบทของพื้นที่และการจัดการเขตกรรมของเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ 18 ราย จากนั้นพิจารณาคัดเลือกเกษตรกร จำนวน 10 ราย ที่มีการจัดการพื้นฐานด้านสายพันธุ์ และการเขตกรรมที่คล้ายคลึงกัน แต่มีขนาดพื้นที่และวิธีการการจัดการปุ๋ยที่แตกต่างกัน จำนวน 10 ราย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 5 ไร่ ขึ้นไป  เกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกขนาดปานกลาง ตั้งแต่ 3 - 4 ไร่ ขึ้นไป และเกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็ก ซึ่งมีพื้นที่น้อยกว่า 3 ไร่ ดำเนินการสัมภาษณ์เกษตรกรในแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ทราบถึงชนิดปุ๋ย อัตราที่ใส่ วิธีการใส่ปุ๋ย รวมถึงข้อมูลผลผลิตหอมหัวใหญ่ ราคาซื้อขาย และนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณหรืออัตรการใส่ปุ๋ยต่อปริมาณผลผลิต และรายได้เฉลี่ยของเกษตรกร สำหรับข้อมูลอัตราการใส่ปุ๋ยของเกษตรกรมีความแตกต่างกันมากตั้งแต่อัตรา 360 – 1,350 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ปริมาณผลผลิตในเชิงน้ำหนักเฉลี่ย 30 หัว มีค่าตั้งแต่ 6.8 – 10.8 กิโลกรัมต่อไร่ และส่งผลให้มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่แตกต่างกันตั้งแต่ 2,587.4 – 4,106.3 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ทั้งนี้เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และหาความสัมพันธ์ทั้งด้านอัตราการใส่ปุ๋ยและปริมาณผลผลิต ผลการวิเคราะห์พบว่าผลผลิตหอมหัวใหญ่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างกลุ่มตามปริมาณการใช้ปุ๋ย มาก ปานกลางและน้อย แสดงให้เห็นว่าการใช้ปุ๋ยในอัตราที่น้อยที่สุดก็ให้ผลิตไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยในอัตราสูง ดังนั้นการใส่ปุ๋ยที่มากเกินความจำเป็นจึงไม่ทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงควรลดการใช้ปุ๋ยลงเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร
Description: Master of Science (Geosocial Based Sustainable Development)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/34
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5801417009.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.