Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/264
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Patcharee Somrak | en |
dc.contributor | พัชรี สมรักษ์ | th |
dc.contributor.advisor | Prapakorn Tarachai | en |
dc.contributor.advisor | ประภากร ธาราฉาย | th |
dc.contributor.other | Maejo University. Animal Science and Technology | en |
dc.date.accessioned | 2020-01-28T04:15:05Z | - |
dc.date.available | 2020-01-28T04:15:05Z | - |
dc.date.issued | 2018 | - |
dc.identifier.uri | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/264 | - |
dc.description | Master of Science (Master of Science (Animal Science)) | en |
dc.description | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สัตวศาสตร์)) | th |
dc.description.abstract | The effects of dietary lysine (Lys) and methionine (Met) levels on growth performance, nitrogen balance (N balance), carcass compositions, and meat quality in Black-boned chickens at 0-12 weeks of age were studied. A total 240 day-old Black-boned chickens were randomly distributed in completely randomized design (CRD). 4 dietary treatments were assigned with different concentrations of Lys and Met levels, 80% (T1), 90% (T2), 100% (T3), and 110% (T4) of broiler recommendation by NRC (1994) with an age 3 period of 0-4, 4-8, and 8-12 weeks in both experiments. Chickens received feed and water and was freely available at all times (ad libitum). The results as follows: Experiment 1: 0-4 week of age, body weight gain and feed conversion ratio were not difference among group (P > 0.05). However, chicks group 2 (Lys : Met 90% of broiler recommendation by NRC (1994) = 0.99 : 0.45) showed a tendency to increase feed intake and showed the greater value of N balance than other group (P < 0.05). Carcass characteristic were not affected by different levels of Lys and Met. But, meat of chicks group 2 (Lys : Met 90% of broiler recommendation by NRC (1994) = 0.99 : 0.45) had TBAR at day 7 and shear force lower than other group (P<0.05). Experiment 2: 4-8 week of age, feed intake and feed conversion ratio were not difference among group (P > 0.05). However, chicks group 3 (Lys: Met 100% of broiler recommendation by NRC (1994) = 1.00 : 0.38) showed a tendency to increase body weight gain, improve N balance, and weight of wings and thighs more than chicks fed in other group. TBAR, water holding capacity, and shear force values of meat in chicks group 3 (Lys: Met 100% of broiler recommendation by NRC (1994) = 1.00 : 0.38) were lower than other group. Experiment 3: 8-12 week of age, feed intake was not difference among group (P > 0.05). However, chicks group 4 (Lys: Met 110% of broiler recommendation by NRC (1994) = 1.10: 0.42) showed a tendency to improve body weight gain, feed conversion ratio, N balance, and weight of wings, thighs and breasts. TBAR values at day 7, water holding capacity and shear force value of breast meat in chicks group 4 (Lys: Met 110% of broiler recommendation by NRC (1994) = 1.10: 0.42) were lower than other group. In conclusion, this study indicated that the proper lysine and methionine levels in diets for improve growth performance, N balance, meat quality, and carcass composition in Black-boned chickens during 0-4, 4-8, and 8-12 week of age should be at 90%, 100% and 110% of broiler recommendation by NRC (1994), respectively. | en |
dc.description.abstract | การศึกษาผลของระดับกรดอะมิโนไลซีนและเมทไธโอนีน ในอาหารต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต สมดุลไนโตรเจน องค์ประกอบซาก และคุณภาพเนื้อในไก่กระดูกดำที่อายุ 0-12 สัปดาห์ ใช้ไก่กระดูกดำแรกเกิด จำนวน 240 ตัว ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามระดับกรดอะมิโน (ไลซีนและเมทไธโอนีน) ในอาหาร คือ 80% (T1), 90% (T2), 100% (T3) และ 110% (T4) และแบ่งระยะการให้อาหารเป็น 3 ระยะ คือ 0-4, 4-8 และ 8-12 สัปดาห์ ให้ไก่กระดูกดำได้รับน้ำและอาหารอย่างเต็มที่ตลอดการทดลอง จากผลการศึกษาพบว่า การทดลองที่ 1 ไก่กระดูกดำในช่วงอายุ 0-4 สัปดาห์ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวในแต่ละกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่อย่างไรก็ตาม ไก่กระดูกดำกลุ่มที่ 2 (กรดอะมิโนไลซีน : เมทไธโอนีน 90% ของคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) เท่ากับ 0.99 : 0.45) มีแนวโน้มค่าปริมาณอาหารที่กินเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มอื่นๆ และยังมีค่าสมดุลไนโตรเจนที่ดีกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) อาหารที่มีระดับกรดอะมิโนที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อลักษณะซากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่ไก่กลุ่มที่ 2 (กรดอะมิโนไลซีน : เมทไธโอนีน 90% ของคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) เท่ากับ 0.99 : 0.45) มีค่าการออกซิเดชันที่ 7 วัน หลังฆ่า และค่าแรงตัดผ่านของเนื้อหน้าอกต่ำกว่ากลุ่มอื่น (P<0.05) การทดลองที่ 2 ไก่กระดูกดำในช่วงอายุ 4-8 สัปดาห์ ปริมาณอาหารที่กินและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวในแต่ละกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่อย่างไรก็ตาม ไก่กระดูกดำกลุ่มที่ 3 (กรดอะมิโนไลซีน : เมทไธโอนีน 100% ของคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) เท่ากับ 1.00 : 0.38) มีแนวโน้มน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น มีสมดุลไนโตรเจนมากขึ้น และมีน้ำหนักปีกและสะโพก มากกว่ากลุ่มอื่น (P<0.05) ค่าการออกซิเดชัน ค่าความสามารถในการอุ้มน้ำ และค่าแรงตัดผ่านของเนื้อไก่กระดูกดำกลุ่มที่ 3 (กรดอะมิโนไลซีน : เมทไธโอนีน 100% ของคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) เท่ากับ 1.00 : 0.38) ต่ำกว่ากลุ่มอื่น การทดลองที่ 3 ไก่กระดูกดำในช่วงอายุ 8-12 สัปดาห์ ปริมาณอาหารที่กินในแต่ละกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่อย่างไรก็ตาม ไก่กระดูกดำกลุ่มที่ 4 (กรดอะมิโน ไลซีน : เมทไธโอนีน 110% ของคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) เท่ากับ 1.10 : 0.42) มีแนวโน้มปรับปรุงน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว สมดุลไนโตรเจน และน้ำหนักปีกและน่องมากกว่ากลุ่มอี่น ค่าการออกซิเดชันที่ 7 วัน หลังฆ่า ค่าการสูญเสียน้ำ และค่าแรงตัดผ่านของเนื้อหน้าอกไก่กระดูกดำกลุ่มที่ 4 (กรดอะมิโน ไลซีน : เมทไธโอนีน 110% ของคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) เท่ากับ 1.10 : 0.42) ต่ำกว่ากลุ่มอื่น จากการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าระดับไลซีนและเมทไธโอนีนที่เหมาะสมในอาหารที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการเจริญเติบโต สมดุลไนโตรเจน องค์ประกอบซาก และคุณภาพเนื้อของไก่กระดูกดำในช่วงอายุ 0-4, 4-8 และ 8-12 สัปดาห์ มีค่าเป็น 90%, 100% และ 110% ของคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) ตามลำดับ | th |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | Maejo University | - |
dc.rights | Maejo University | - |
dc.subject | ไลซีน เมทไธโอนีน ประสิทธิภาพการเจริญเติบโต สมดุลไนโตรเจน องค์ประกอบซาก ไก่กระดูกดำ | th |
dc.subject | Lysine, Methionine, growth performance, N balance, carcass compositions, Black-Boned chickens | en |
dc.subject.classification | Agricultural and Biological Sciences | en |
dc.title | EFFECTS OF DIETARY LYSINE AND METHIONINE LEVELS ON GROWTH PERFORMANCE, CARCASS COMPOSITION, AND MEAT QUALITY IN BLACK-BONED CHICKENS | en |
dc.title | ผลของระดับกรดอะมิโนไลซีนและเมทไธโอนีนในอาหารต่อประสิทธิภาพ การเจริญเติบโต องค์ประกอบซาก และคุณภาพเนื้อในไก่กระดูกดำ | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Animal Science and Technology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5922301006.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.